อ่านหนังสือให้เด็ก 8 เดือนฟังได้ไหม อายุเท่าไหร่เหมาะ ให้พัฒนาการพุ่งปี๊ด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง เป็นวิธีที่สร้างความสนุกสนาน และสร้างการเรียนรู้ ความคุ้นชินเบื้องต้นให้กับเด็กเล็กได้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจมีความสงสัยว่า อ่านหนังสือให้เด็ก 8 เดือนฟังได้ไหม หรืออายุเท่าไหร่ที่ลูกจะเข้าใจหนังสือที่เราอ่านให้ฟัง วันนี้มาดูคำตอบกันดีกว่า

 

อ่านหนังสือให้เด็ก 8 เดือนฟังได้ไหม  อ่านหนังสือให้ลูกฟังได้ตอนไหน ?

อิงตามพัฒนาการของเด็กทารกในช่วงอายุ 4 – 6 เดือน การมองเห็นของทารกจะเริ่มชัดเจนแล้ว จึงสามารถให้ทารกดูหนังสือภาพเพื่อสร้างความคุ้นเคย และเสริมการเรียนรู้ได้ ควรเป็นภาพที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน หรือภาพสัตว์ต่าง ๆ ภาพต้องสังเกตได้ง่าย ไม่ได้มีรายละเอียดซับซ้อน จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

ส่วนอายุที่เหมาะกับการเริ่มเรียนรู้การอ่าน หรือการเล่านิทานให้ลูกฟังอยู่ในช่วง 6 - 8 เดือนขึ้นไป ซึ่งควรอ่านให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละ 10 -15 นาที จะอ่านเวลาไหนก็ได้ และไม่ควรบังคับเด็ก เพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่ชอบ มีผลทำให้เรียนรู้ได้ช้า และเพื่อให้ได้พัฒนาการที่ดีขึ้นจึงจะต้องรู้วิธีการเลือกหนังสือให้เหมาะสม และวิธีการอ่านที่ถูกต้องด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : หนังสือภาพ สำหรับเด็กดียังไง? จำเป็นสำหรับลูกน้อยมากแค่ไหน ?

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

หลักการเลือกหนังสือให้เหมาะสมกับลูกน้อย 0 – 3 ปี

การเลือกหนังสือสำหรับเด็กเล็ก ไม่ใช่การเลือกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เหมือนเด็กที่เข้าโรงเรียนแล้ว ควรเลือกให้เน้นการสร้างความเคยชินกับเรื่องใกล้ตัวเท่านั้น และมีความสนุกสนาน รวมถึงความปลอดภัยที่ต้องมาเป็นที่หนึ่งเสมอ โดยมีหลักการ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เลือกหนังสือที่ส่วนใหญ่เป็นภาพ อาจมีเนื้อหาประกอบเล็กน้อย สำหรับให้คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟัง หรือเอาไว้ใช้ฝึกลูกอ่านคำง่าย ๆ จึงควรเป็นเนื้อหาที่เน้นในเรื่องความสนุก ไม่เครียด ไม่จำเป็นต้องเน้นความรู้หนัก ๆ
  • ภาพในหนังสือควรสบายตา ไม่มีองค์ประกอบ หรือลายเส้นที่มีความซับซ้อน เราอาจมองว่าภาพที่ซับซ้อนรายละเอียดเยอะสวยกว่า แต่สิ่งเหล่านั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ได้
  • ไม่ควรเลือกหนังสือที่ใช้การเขียน อ่านเป็นหลัก เนื่องจากยังไม่ใช่วัยที่สามารถเรียนรู้ได้ดี อาจเรียกเป็นนิทานที่มี เรื่องราวที่เกี่ยวกับสัตว์ สิ่งของ, ขนาด, สีที่หลากหลาย หรือเรื่องจำนวน เป็นต้น
  • เลือกวัสดุที่เหมาะกับเด็ก มีความทนทาน เนื่องจากเด็กเล็กอาจมองว่าเป็นของเล่นอย่างหนึ่ง จึงควรเลือกหนังสือที่ทำจากผ้า หรือพลาสติกเนื้อนุ่มที่ลอยน้ำได้ รวมไปถึงมุมหนังสือที่ไม่ควรมีจุดแหลมคม เป็นต้น
  • สังเกตมาตรฐานการผลิต ระวังเรื่องสารเคมี เนื่องจากเด็กเล็กอาจนำหนังสือเข้าปากในตอนที่คุณพ่อคุณแม่เผลอ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายได้
  • การเรียนรู้จะดีมากขึ้น หากหนังสือมีลูกเล่นพิเศษมากกว่าปกติ เช่น บีบแล้วมีเสียง เขย่าแล้วมีเสียง เป็นต้น แต่ต้องยึดหลักความปลอดภัย ไม่ควรมีวัสดุที่แกะได้เป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย เพราะเด็กอาจกลืนลงคอได้

 

5 หลักการอ่านหนังสือให้ลูกน้อยเกิดพัฒนาการสูงสุด

เพื่อให้ลูกน้อยเกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด อาจต้องพึ่งวิธีการอ่านที่เหมาะสม แต่ไม่ได้หมายถึงการสร้างความกดดัน หรือการที่จะ “ต้อง” เรียนรู้อย่างเข้มข้น แต่เป็นเพียงการสร้างองค์ประกอบ และเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้ลูกสนุก และคุ้นเคย เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น ได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1.บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี

การสร้างบรรยากาศโดยรอบ และสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถส่งเสริมให้ลูกน้อย เกิดความอยากเรียนรู้ได้มากขึ้น ช่วยให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ เช่น ให้ลูกนั่งตักระหว่างอ่าน หรือทำพื้นที่มุมเฉพาะสำหรับนั่ง หรือนอนอ่านหนังสือกับลูก ไปจนถึงการหาตุ๊กตามาให้ลูกนั่งกอดระหว่างฟังนิทาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องห้องมีอุณหภูมิที่ดี ไม่หนาวเกินไป หรือไม่ร้อนมากเกินไปด้วย

 

2.ออกเสียงให้ชัดเจน

การออกเสียงอ่านเนื้อหาในหนังสือนิทาน เพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นเคยในคำศัพท์ และมีการเรียนรู้ในเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรอ่านออกเสียงให้ดัง ฟังชัด มีการออกเสียงอย่างถูกต้อง แม่นยำ โดยเฉพาะคำที่มีควบกล้ำ หรือคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หากไม่มั่นใจการออกเสียง ควรหาข้อมูลก่อน เพื่อไม่ให้ลูกเกิดความเข้าใจผิด เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3.อ่านต่อเนื่องอย่างพอดี

เวลาในการอ่านนิทานให้เด็กเล็กฟัง ควรอยู่ในช่วง 10 – 15 นาที หรือมากที่สุดไม่เกิน 30 นาที หนังสือเป็นหนึ่งในสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่ได้ผลดี หากเป็นไปได้จึงควรอ่านให้ลูกฟังทุกวัน แต่ไม่ควรบังคับลูก หากลูกต่อต้าน หรืองอแง นอกจากนี้หากลูกชอบหนังสือเล่มไหน ต้องการอ่านซ้ำ ฟังซ้ำ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรปฏิเสธลูก ให้ถือโอกาสนี้สำหรับการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในหนังสืออย่างสมบูรณ์

 

4.สอนให้ลูกรู้จักคุณค่า

ถึงแม้วัยเด็กจะเล่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจนอาจทำให้เกิดความชำรุดของหนังสือนิทานได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องปล่อยให้เกิดขึ้น เราควรสอนให้ลูกเข้าใจว่าหนังสือเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับตัวของลูกเอง ไม่ควรทำให้ชำรุด เพราะหนังสือเป็นสิ่งที่ให้ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน และให้ความรู้ เปรียบเสมือนเพื่อนของลูกเอง

 

5.ชี้นำให้เกิดการเรียนรู้

หนังสือที่เลือกมา บางเล่มอาจมีคำศัพท์ง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เมื่ออ่านคำศัพท์บางคำให้ลูกฟัง อาจถามลูกว่าเข้าใจไหม หรือสิ่งนี้คืออะไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เช่น เมื่ออ่านถึงคำศัพท์ที่มีคำว่า “ปาก” อาจถามลูกว่า “ไหนลูกรู้ไหมว่าปากอยู่ไหน” หรือชี้ปากลูกเบา ๆ ว่า “อันนี้ใช่ปากหรือเปล่านะ” เป็นต้น

 

ทำไมจึงต้องอ่านนิทานให้เด็กฟังก่อนนอน ?

แม้ว่าการอ่านนิทานให้ลูกฟังจะทำเวลาไหนก็ได้ใน 1 วัน แต่การอ่านให้ฟังในตอนกลางคืนก่อนนอนมีองค์ประกอบหลายอย่างที่เหมาะสม เช่น ลูกน้อยอาบน้ำทำให้มีความสบายตัว พร้อมสำหรับการเรียนรู้, เป็นการสร้างความเพลิดเพลิน ความผ่อนคลายก่อนนอนมีส่วนทำให้หลับสบายได้เช่นกัน นอกจากนี้นิทานบางเรื่อง หรือนิทานที่ลูกชอบสามารถสร้างบรรยากาศที่ดี ทำให้ลูกน้อยหลับได้ง่ายขึ้น แก้ปัญหาการเข้านอนของเด็กได้ดีเช่นกัน

 

การอ่านหนังสือให้ลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป เป็นช่องทางที่จะให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี เป็นหนึ่งในไม่กี่สื่อที่มีความเหมาะสมตามวัย หลากหลาย และปลอดภัยหากเลือกได้อย่างถูกวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หนังสือน่าอ่าน 30 เล่ม ที่ควรอ่านให้ลูกฟังก่อนลูกโต

อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ดีต่อลูกอย่างไร ช่วยให้ลูกสมองดีจริงหรือไม่ ?

ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ เด็กอ่านหนังสือ น้อย ทำยังไงให้เด็กรักการอ่าน มีวิธีไหนบ้าง

ที่มาข้อมูล : leapfrogbangkokbiznews

บทความโดย

Sutthilak Keawon