พาลูกเที่ยวตอนกี่เดือน ทารกเดินทางได้ตอนกี่เดือน เคล็ดลับเดินทางครั้งแรกกับทารก

ลูกน้อยแรกเกิดของคุณพร้อมที่จะขึ้นเครื่องครั้งแรกหรือยัง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กอายุ 2 สัปดาห์สามารถเดินทางได้หรือยัง? พาลูกอายุ 2 เดือนนั่งรถทางไกลไปต่างจังหวัดได้ไหม? เด็กอายุ 3 เดือนสามารถขึ้นเครื่องบินได้ไหม? ไขข้อสงสัย พาลูกเที่ยวตอนกี่เดือน ทารกเดินทางได้ตอนกี่เดือน นี่คือคำตอบที่พ่อแม่อยากรู้

หลังจากสถานการณ์โควิดผ่อนคลายลง เชื่อว่าทุกคนต่างโหยหาทริปท่องเที่ยว ไปต่างจังหวัด หรือไปต่างประเทศกับครอบครัว แต่อย่างไรก็ตาม การเดินทางครั้งแรกกับทารกอาจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและชวนกังวล ลูกจะงอแงขณะเดินทางไหม พ่อแม่จะเตรียมตัวรับมืออย่างไร

ในบทความนี้ เรามีคำแนะนำและเคล็ดลับเพื่อช่วยคลายกังวล และช่วยให้คุณเดินทางกับลูกน้อยอย่างราบรื่น เป็นทริปที่มีความสุขและน่าจดจำ

 

พาลูกเที่ยวตอนกี่เดือน ทารกเดินทางได้ตอนกี่เดือน

 

โดยทั่วไป แพทย์แนะนำให้ชะลอการบินจนกว่าระบบภูมิคุ้มกันของทารกจะพัฒนาเต็มที่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื่องจากความกดอากาศที่ลดลงในห้องโดยสารของสารการบิน อาจทำให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีความผิดปกติของหัวใจหรือปอดอาจหายใจลำบาก หากลูกน้อยของคุณอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว โปรดปรึกษาคุณหมอก่อนเตรียมการเดินทาง

 

ความเสี่ยงในการเดินทางพร้อมลูกน้อยก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะพร้อม

 

การเดินทางพร้อมลูกน้องอาจเป็นการผจญภัยที่น่าตื่นเต้น แต่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยจะพัฒนาเต็มที่ มีความเสี่ยงอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. การสัมผัสกับเชื้อโรคมากขึ้น : เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงง่ายต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ
  2. ยังไม่ได้รับวัคซีนจำเป็นบางตัว : การเดินทางโดยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนบางชนิดที่ต้องได้รับตามวัย อาจทำให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ เช่น โรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
  3. การเดินทางทางอากาศและความดันในห้องโดยสาร : ทารกอาจรู้สึกไม่สบาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความดันในห้องโดยสาร ระหว่างการเดินทางทางอากาศ ทำให้เกิดอาการปวดหู เนื่องจากความดันในหูไม่เท่ากัน
  4. การเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง : การเดินทางไปในต่างถิ่น อาจมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากโรคเฉพาะถิ่น เช่น โรคที่มียุงเป็นพาหะหรือโรคที่เกิดจากอาหาร ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาภูมิคุ้มกันของทารก
  5. การดูแลสุขอนามัยอย่างเหมาะสม : ระหว่างเดินทาง อาจขาดการรักษาสุขอนามัยอย่างเหมาะสม เช่น ขาดการล้างมือบ่อยๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อโรคที่เป็นอันตรายมากขึ้น
  6. การเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำกัด : เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล หรืออาจเกิดการล่าช้าในการขอความช่วยเหลือ เมื่อเกิดความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย

 

เมื่อไหร่ที่ทารกสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้

 

เมื่อพูดถึงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ไม่มีอายุใดที่ตอบโจทย์ทุกคนได้ โดยทั่วไปแนะนำให้รอจนกว่าลูกน้อยจะขอแข็งพอที่จะสามารถควบคุมคอได้และสามารถนั่งได้โดยมีอุปกรณ์พยุง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีอายุประมาณ 3-6 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความสะดวกสบายของลูกน้อยขณะเดินทาง อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อให้แน่ใจก่อนว่าลูกน้อยพร้อมสำหรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึงคำแนะนำบางอย่างเพื่อช่วยให้การเดินทางราบรื่นยิ่งขึ้น :

 

  • ใช้รถเข็นเด็กหรือเป้อุ้มเด็กเพื่อความสะดวกในการเดินทาง
  • วางแผนการเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงรถติด
  • เตรียมของใช้จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ทิชชูเปียก และเสื้อผ้าสำรองของลูกน้อย
  • เช็กสภาพอากาศ และแต่งตัวลูกน้อยให้เหมาะสม
  • พกเจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ล้างมือ เพื่อล้างมือให้ลูกน้อยบ่อยๆ

 

อย่าลืมว่า เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จงเชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง และตัดสินใจโดยพิจารณาจากสิ่งที่รู้สึกว่าใช่สำหรับคุณและลูกน้อย

หากคุณพ่อคุณแม่กำลังคิดจะพาลูกน้อยไปเที่ยว เรามีคำแนะนำที่จะช่วยให้ลูกน้อยเดินทางอย่างปลอดภัยและราบรื่นตลอดการเดินทาง

 

เมื่อไหร่ที่ทารกสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ได้

 

จริงๆ แล้วตั้งแต่แรกเกิดทารกก็กลับบ้านด้วยรถยนต์ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาล ดังนั้น จึงไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับอายุที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์ มีคำแนะนำดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ให้ลูกนั่งคาร์ซีททุกครั้งเมื่อเดินทาง

ติดตั้งเบาะนิรภัย หรือคาร์ซีทในรถยนต์โดยให้ทารกหันหน้าไปทางด้านหลังของรถเพื่อลดความรุนแรงในกรณีเกิดอุบัติเหตุไม่ให้เด็กพุ่งไปด้านหน้า

  • นั่งอยู่ที่เบาะหลังพร้อมกับลูกน้อย

โดยปกติแล้วควรมีผู้ใหญ่หรือเด็กโตนั่งอยู่ที่เบาะหลังด้วย เพื่อดูแลลูกน้อยระหว่างเดินทาง

  • หยุดพักบ่อยๆ

ระหว่างการเดินทางไกล ควรหยุดพักรถและพาทารกออกจากรถทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อยืดเส้นยืดสาย สำหรับการเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ พยายามหยุดพักทุกๆ 2-3 ชั่วโมง และทุกๆ 4-6 ชั่วโมงในเวลากลางคืนเพื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือให้นมลูกน้อย ไม่ควรพยายามให้นมลูกขณะที่รถกำลังแล่น

  • เตรียมสิ่งของจำเป็นไว้ใกล้มือ

เตรียมกระเป๋าแม่ลูกอ่อน หรือกระเป๋าเก็บความเย็นไว้ที่เบาะหลังเพื่อเก็บของจำเป็นไว้ใกล้มือ ซึ่งอาจรวมถึง

  • ผ้าอ้อมสำรอง ผ้าเช็ดทำความสะอาด ครีมทาผื่นผ้าอ้อม แผ่นรองเปลี่ยนผ้าอ้อม ถุงขยะใส่ผ้าอ้อม และเจลล้างมือ
  • นมผงหรือนมแม่ที่เก็บไว้ในน้ำแข็งหรือในถุงเก็บความเย็น รวมถึงผ้ากันเปื้อน
  • จุกหลอก ของเล่น หนังสือนิทาน เพลงเด็ก เพื่อความเพลิดเพลินระหว่างเดินทาง
  • ปรอทวัดไข้

อย่าลืมเตรียมของว่างและเครื่องดื่มสำหรับตัวเองไว้ด้วยนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการแวะดื่มกาแฟระหว่างทาง อย่างทิ้งลูกไว้ในรถ แม้จะเพียงไม่กี่นาทีก็ตาม ในรถยนต์ที่ร้อนจัด ลูกน้อยอาจเสี่ยงต่อโรคลมแดดได้อย่างรวดเร็ว

  • เดินทางขณะลูกหลับ

จัดเวลาให้สอดคล้องกับกิจวัตรประจำวันของลูกน้อย เช่น หากต้องการเดินทาง 2-3 ชั่วโมง ให้ลองไปตั้งแต่เช้า ในขณะที่ลูกน้อยยังหลับอยู่ หรือหากเดินทางยาวนาน อาจเลือกเดินทางตอนกลางคืน ในช่วงที่ลูกน้อยหลับ ก็จะช่วยให้เดินทางกับทารกง่ายขึ้น

 

ทารกขึ้นเครื่องบินได้ตอนกี่เดือน

 

เด็กทารกสามารถขึ้นเครื่องได้ไหม? เมื่อไหร่ทารกถึงจะเดินทางด้วยเครื่องบินได้อย่างปลอดภัย? จากข้อมูลของ Elizabeth Berber MD กุมารแพทย์ส่วนใหญ่เชื่อว่า เด็กอายุ 4-6 สัปดาห์สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้ โดยต้องเป็นทารกที่สุขภาพแข็งแรง และได้รับการรับรองจากแพทย์เท่านั้น

สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือสุขภาพอื่นๆ รวมถึงคุณแม่ที่ประสบปัญหาระหว่างคลอดบุตร หรือผ่าคลอดอาจต้องขยายเวลาออกไปอีก โดยต้องให้กุมารแพทย์รับรองก่อนเดินทางเสมอ

ทารกสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้เร็วแค่ไหนหลังคลอด

ทารกต้องมีอายุอย่างน้อย 16 วันจึงจะเดินทางโดยเครื่องบินได้ ทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ปีจะต้องมีผู้ใหญ่อุ้มในระหว่างที่เครื่องขึ้น ลงจอด ตกหลุมอาการ และเมื่อสัญญาณ “รัดเข็มขัดนิรภัย” แสดงขึ้น

 

ข้อควรระวังในการพาทารกขึ้นเครื่องบิน

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว การเดินทางโดยเครื่องบินจะปลอดภัยสำหรับเด็กทารก แต่ผู้ปกครองควรคำนึงถึงข้อกังวลต่อไปนี้

  • เชื้อโรคและความเจ็บป่วย สายการบินหลายแห่งใช้อากาศหมุนเวียน ซึ่งหมายความว่า หากใครคนหนึ่งเป็นหวัด ระบบระบายอากาศจะแพร่กระจายเชื้อโรคไปทั่วเครื่องบิน ผู้ใหญ่มีระบบภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ จึงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ ในขณะที่ภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่สามารถต้านไวรัสและเชื้อโรคบางชนิดที่แพร่กระจายบนเครื่องบินและในสนามบินได้ จึงควรล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการนั่งใกล้ผู้โดยสารที่ป่วย
  • ความกดอากาศและแรงดันในห้องโดยสาร อาจทำให้ลูกน้อยเกิดการอาการปวดหูอย่างรุนแรง สามารถบรรเทาได้ด้วยการให้ลูกน้อยดูดนมหรือน้ำในระหว่างที่เครื่องขึ้น หรือลงจอด
  • ปัญหาการหายใจ เนื่องจากเครื่องบินมีความดันอากาศลดลง ทารกจึงหายใจลำบาก โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีความผิดปกติของหัวใจ ปอด หรือระบบทางเดินหายใจ หากลูกน้อยของคุณเข้าข่ายดังกล่าว ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเดินทาง
  • ลูกน้อยงอแง เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย อาจทำให้ลูกน้อยงอแง ร้องไห้ และอาจรบกวนผู้โดยสารคนอื่นๆ ควรเตรียมนมแม่ใส่ขวด หรือชงนมเตรียมไว้ เมื่อลูกน้อยได้กินนมมักจะสงบลงได้ รวมถึงควรเตรียมของเล่นที่ลูกชื่นชอบไว้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกน้อยเพลิดเพลิน และลืมความกังวลใจต่างๆไปได้

นอกจากนี้ อย่าลืมขอเปลเด็กเมื่อจองเที่ยวบิน รวมถึงเช็กกับสายการบินว่า คุณสามารถนำน้ำหรือนมของทารกขึ้นเครื่องได้หรือไม่

 

การเดินทางพร้อมกับลูกน้อยเป็นการเปิดประสบการณ์สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ใช่อุปสรรคที่ทำให้คุณต้องละทิ้งความฝันของคุณเมื่อมีลูก เพียงแต่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าให้พร้อมที่สุด เพื่อการเดินทางอย่างราบรื่น ทั้งในเรื่องของความสะดวก และความปลอดภัยของลูกน้อย โดยไม่ลืมที่จะปรึกษาคุณหมอก่อนพาลูกขึ้นเครื่องเดินทางไกล

 

ที่มา : sg.theasianparent.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีการยื่นเรื่องขอหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก

พาชม 15 ที่เที่ยวฮ่องกงสุดฮิต เที่ยวฮ่องกงด้วยตัวเองไม่ควรพลาด

15 ที่พัก โรงแรมที่มีสวนน้ำ พัทยา พักผ่อนคลายร้อน ถูกใจลูกน้อย ครบจบที่เดียว!