ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน ? การมองเห็นของทารก จะยังไม่ชัด และต้องใช้เวลาหลายเดือนในการปรับตัว จากที่พอมองเห็นลาง ๆ ไปสู่การแยกแยะระยะทางใกล้ ไกล มองเห็นสีสัน และปรับระดับความชัดเจน หรือโฟกัสได้ในที่สุด มาดูกันว่า พัฒนาการของเด็กแรกเกิด ด้านการมองเห็นเป็นอย่างไร การกระตุ้นการมองเห็นของทารก มีอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรรู้
พัฒนาการด้าน การมองเห็นของทารก เมื่อไหร่ที่ลูกจะมองได้ชัด
- หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ระยะการมองเห็นทารก จะสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20 เซนติเมตร และจ้องมองวัตถุค้างไว้ได้ประมาณ 4 – 10 วินาที และจะมีพัฒนาการทางการมองเห็นมากขึ้นตามลำดับ
- หลังคลอดประมาณ 4 วัน ทารกจะยังมองเห็นหน้าคุณพ่อ คุณแม่ไม่ชัดเจน แต่ก็จะเริ่มจดจำใบหน้าลาง ๆ ได้
- เมื่ออายุได้ 1 เดือน ทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ในระยะ 15 นิ้ว
- เมื่ออายุ 3 เดือน จึงจะเริ่มแยกแยะระยะใกล้ ไกลได้ และเมื่อหนูน้อยมีอายุเข้าเดือนที่ 4 จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
- ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติของลูกตาดำของทารก จะทำงานตั้งแต่แรกเกิด และมีความไวต่อแสง เมื่ออายุ 2 – 3 เดือน ลูกตาดำของทารกก็จะทำงานเต็มที่
- ทารกจะเริ่มมองเห็นวัตถุสีขาว กับสีดำชัดเจนที่สุด เมื่ออายุเข้าเดือนที่ 3 จึงจะเริ่มมองเห็นวัตถุเป็นสีมากขึ้น โดยจะเริ่มมองเห็นสีพื้นฐาน เช่น สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการมองเห็นของทารก
- เด็กแรกเกิดจะยังไม่ผลิตน้ำตา จนอายุได้ประมาณ 1 เดือน
- เด็กแรกเกิดสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ชัดที่สุด ในระยะ 20 เซนติเมตร หากใกล้ หรือไกลกว่านั้น จะเป็นเพียงภาพเบลอ ๆ
- ทารกกะพริบตาเพียง 2 ครั้ง ต่อนาที ซึ่งน้อยกว่าผู้ใหญ่ ที่กะพริบตาได้มากถึง 15 ครั้ง ต่อนาที
- เมื่อทารกมีอายุเข้าเดือนที่ 2 ทารกจะสามารถโฟกัสสิ่งที่เคลื่อนไหวได้แล้ว
บทความที่น่าสนใจ : 5 ข้อดีของการ ปล่อยทารกเล่นคนเดียว ลูกเล่นคนเดียว พัฒนาการทางสมอง
การกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกได้อย่างไร
การกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองของลูกนั้น จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ทารกได้เรียนรู้ และมีพัฒนาการที่ดีในด้านอื่น ๆ ตามมา ซึ่งการมองอย่างมีเป้าหมาย จะทำให้ทารกกระตือรือร้นในการใช้สายตาสำรวจ เสริมพัฒนาการด้านการมองที่ดีของลูกได้
การกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก สามารถทำได้ ดังนี้
- พยายามจ้องมองใบหน้าของทารกบ่อย ๆ เพราะในดวงตานั้น มีความชัดเจนของสีขาว กับสีดำ และการกลอกตาไปมา จะทำให้เป็นจุดสนใจที่ทำให้ทารกมองได้ง่าย
- ติดภาพพ่อแม่เอาไว้ใกล้ ๆ ที่นอนของลูก จะช่วยทำให้ทารกจดจำใบหน้าพ่อแม่ได้เร็ว หรืออาจจะติดภาพสีสดใส สีตัดกัน เช่น ภาพที่มีสีพื้นฐาน แดง เหลือง น้ำเงิน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยฝึกการมองของลูก และเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้
- ให้ลูกมองของเล่นชิ้นเล็ก ๆ โดยอยู่ห่างจากใบหน้าลูกประมาณ 1 เมตร จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนของเล่น หมุนเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ เพื่อให้ลูกได้มองตาม
- แขวนของเล่นประเภท 3 มิติ เช่น โมบาย หรือนกกระดาษ ในจุดที่ลูกน้อยสามารถมองเห็น และอยู่ในระยะที่ลูกใช้มือเอื้อมหยิบได้
- เล่นส่องกระจก เพราะการให้ลูกได้มองตัวเองในกระจก จะช่วยฝึกการมอง และการสังเกต นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวของหน้าตา และท่าทาง คุณพ่อคุณแม่อาจจะให้ลูกเล่นกับกระจกถือ ซึ่งเป็นของเล่นที่มีปฏิสัมพันธ์กับตัวเด็ก เพราะลูกจะมองตามเวลาที่มีการเคลื่อนไหวไปด้วย
- เปลี่ยนตำแหน่งที่นอนของลูกบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้มีโอกาสมองเห็นสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
ทารกชอบมองอะไรบ้าง
- ทารกชอบมองใบหน้าของคุณพ่อ คุณแม่ เพราะดวงตา รวมถึงรอยยิ้มของพ่อแม่นั้น จะแสดงออกถึงความรัก ความอ่อนโยน สร้างความอบอุ่นใจให้กับทารก
- ทารกชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหว มากกว่าวัตถุที่อยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหว
- ทารกชอบมองวัตถุที่มีสีตัดกันชัดเจน เช่น สีดำ ตัดกับสีขาว
- ทารกชอบมองวัตถุที่มีรูปทรง 3 มิติ มากกว่า 2 มิติ
เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการมองเห็นของเด็กในแต่ละช่วงอายุ
-
เด็กแรกเกิด
แพทย์จะตรวจเพื่อหาความผิดปกติของดวงตาทารกแรกเกิด ในช่วงเวลานี้ จะมีการให้ยาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ในช่องคลอด
-
ลูกอายุ 1 – 4 เดือน
ในช่วงนี้ ทารกจะสามารถมองตามวัตถุที่เคลื่อนที่ช้า ๆ อย่างเป็นจังหวะได้ หากคุณพ่อคุณแม่ถ่ายรูปลูกน้อย จะเห็นลูกมีการกะพริบตา เมื่อสัมผัสกับแสงแฟลช
-
ลูกอายุ 5 – 8 เดือน
ตอนนี้สายตาของลูกจะพอแยกแยะสีบางสีได้ดีขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ พัฒนาการด้านการมองเห็นสีสันต่าง ๆ จะยังมีการพัฒนาต่อเนื่องไปอีก
-
ลูกอายุ 9 – 12 เดือน
ลูกมีการตอบสนองต่อปฏิกิริยา เสียง และสภาพแวดล้อมรอบ ๆ เช่น มองไปทางเสียงที่ได้ยิน จ้องมองเมื่อมีคนยิ้มให้ มองไปรอบ ๆ ห้อง เพื่อดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือมองไปที่ของเล่น หรือวัตถุที่ชอบ
-
ลูกอายุ 1 – 2 ขวบ
ความสัมพันธ์ระหว่างตา กับมือ ประสานกันได้ดี และการรับรู้ระยะใกล้ ไกล ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสมบูรณ์เมื่ออายุ 2 ขวบ
-
ลูกอายุ 2 – 3 ขวบ
เมื่ออายุ 2 ขวบ ค่าสายตาของลูกได้พัฒนาสู่ระยะการมองเห็นปกติคือ 20/20 คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่า ลูกให้ความสนใจกับสิ่งรอบ ๆ ตัว และมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
-
ลูกอายุ 3 – 4 ขวบ
เมื่ออายุ 3 ขวบ ดวงตาของลูกเติบโตจนมีขนาดเท่ากับดวงตาของผู้ใหญ่ การมองเห็นของลูกวัย 3 ขวบ เริ่มสามารถจับภาพที่มีการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งพินิจพิจารณาลักษณะของวัตถุนั้น ๆ ได้ นั่นหมายถึง เด็กจะสามารถระบายสีรูปภาพที่ไม่มีความซับซ้อนนัก ลอกเลียนแบบเครื่องหมาย หรือรูปทรงต่าง ๆ และสามารถลากเส้นตามได้ด้วย
-
ลูกอายุ 4 – 5 ขวบ
การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวยังคงพัฒนาต่อเนื่อง และมีความชัดเจนมากขึ้น สังเกตได้จากเด็กวัย 4 – 5 ขวบ สามารถระบายสีภายในพื้นที่ว่าง ตัดเส้น หรือตัดขอบรูปภาพที่ไม่มีความซับซ้อนมากได้ นอกจากนี้พัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกยังรวมไปถึงความสามารถในการจำแนก การเติมเต็มภาพให้สมบูรณ์ การเรียงลำดับ การจดจำ การจินตนาการ และการแยกวัตถุออกจากพื้นหลังอีกด้วย
สัญญาณความผิดปกติด้านการมองเห็นของเด็ก
- การเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ
- ลูกตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ไปทางด้านข้าง ข้างบน หรือข้างล่าง ไม่สามารถบังคับให้อยู่นิ่งได้
- ลูกตาข้างใด ข้างหนึ่ง เอียงไปทางด้านข้างตลอดเวลา
- รูม่านตามีสีขาว
- น้ำตาไหลตลอดเวลา
- มีความอ่อนไหวต่อแสงมาก
- ลูกตา หรือเปลือกตาแดงผิดปกติ
- ลูกขยี้ตาบ่อย
- ลูกชอบหลับตาบ่อย ๆ
- มีอาการคอเอียง
- ตาโปน
- เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักมีความเสี่ยงต่อภาวะสายตาเอียง สายตาสั้น หรือตาเหล่ ตาเข
หากพ่อแม่สังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจประเมิน และทำการรักษาต่อไป
บทความที่น่าสนใจ :
เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร วิธีให้ลูกเลิกอมนิ้วมือ
ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง เกิดจากอะไร? อาการนี้ที่แม่ต้องรู้
ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี พฤติกรรมและพัฒนาการทารก ตั้งแต่แรกเกิด! ทำอะไรได้มากขึ้นแล้วนะแม่
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นของทารก ได้ที่นี่!
การมองเห็นของทารก ทารกจะเริ่มมองเห็นตอนไหนคะ
ที่มา : day2dayparenting