พ่อแม่ต้องรู้!! พา ลูกขึ้นเครื่องบิน ครั้งแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

ไม่ว่าจะบินใกล้หรือไกล เครื่องบินก็เป็นฝันร้ายของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ไปด้วย แล้วทำอย่างไรล่ะให้การพาลูกขึ้นเครื่องบินเป็นไปอย่างสงบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคนเป็นพ่อเป็นแม่เลือกได้ เด็กคงไม่ได้ขึ้นเครื่องบินจนกว่าจะอายุ 18 ปีเต็ม แต่ในความเป็นจริง บางครอบครัวก็ทำไม่ได้ มีเหตุให้ต้องบินไปต่างประเทศ ทั้งไปเที่ยวหรือไปหาญาติที่อีกฟากของซีกโลก และจะอย่างไรเด็ก ๆ ก็ต้องขึ้นเครื่องบิน ก่อนขึ้นเครื่อง คุณต้องเรียนรู้เคล็ดลับเพื่อที่จะให้ลูกของคุณเดินทางบนเครื่องบินได้อย่างตลอดรอดฝั่ง ทำตามกันได้เลยนะคะ

 

 

ลูกขึ้นเครื่องบิน ครั้งแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

  1. วางแผนให้ดี – จองที่นั่งให้อยู่ในส่วนด้านหลังของเครื่องบิน เพื่อที่คุณจะได้ไม่รบกวนผู้โดยสารท่านอื่นมากนัก นอกจากนี้ที่นั่งของคุณจะอยู่ใกล้ห้องน้ำ หากเครื่องบินลำนั้นมีส่วนที่นั่งที่มีเปลสำหรับเด็ก ให้รีบจองที่นั่งตรงนั้นเลย ที่สำคัญต้องลองถามเจ้าหน้าที่ว่าคุณกับลูกเดินทางในเที่ยวบินนั้นได้หรือไม่ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการมีปัญหากับผู้โดยสารท่านอื่น ๆ
  2. จัดกระเป๋าให้เบาที่สุด – เตรียมของไปให้ครบสำหรับทุกคนในบ้านแต่ต้องให้น้ำหนักเบาที่สุด แนะนำให้ใช้กระเป๋าสะพายหลังหรือกระเป๋าสะพายข้างเป็นกระเป๋าที่นำขึ้นเครื่องไปด้วย มือคุณจะได้ว่างทั้งสองมือเพื่อคอยจับมือลูกคุณไว้ได้ตลอด หยิบของจากกระเป๋า และหยิบพาสปอร์ตและตั๋วเครื่องบินให้เจ้าหน้าที่ได้สะดวก
  3. ปล่อยให้ลูกเล่นจนหมดแรง – เมื่อคุณถึงที่สนามบินปุ๊บ รีบหาสนามเด็กเล่นหรือศูนย์เด็กเล่นให้ลูกคุณไปวิ่งเล่นได้ตามใจชอบก่อนจะถึงเวลาขึ้นเครื่อง ถ้าไม่มีที่ให้เด็กเล่น ให้ลองพาลูกวิ่งขึ้นลงบันไดที่ไม่มีคนผ่าน หรือปีนป่ายตามเก้าอี้นั่งที่ไม่มีคนนั่ง ให้เขาเล่นจนหมดแรง เขาจะเหนื่อยและผล็อยหลับเมื่อได้นั่งนิ่ง ๆ บนเครื่องบิน นี่เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดเพื่อให้เด็ก ๆ เดินทางโดยเครื่องบินได้อย่างไม่มีปัญหา
  4. เตรียมตัว   – หยิบสิ่งของที่จำเป็นต่อลูกน้อยทุกอย่างรวมกันไว้ในกระเป๋าใบเดียว ควรมีถุงพลาสติกเล็ก ๆ ยาที่แยกไว้แล้วเรียบร้อย ผ้าอ้อมหลายผืน (หากจำเป็น) เสื้อผ้าเพิ่มเติม ทิชชู่เปียก และผ้าขนหนูเช็ดหน้ายามฉุกเฉิน เอาของเล่นไปหลาย ๆ ชิ้นด้วย (แนะนำให้เลือกชิ้นใหม่ ๆ ไป) และขนมทานเล่นมากมายที่เด็กกินไม่ยาก กับน้ำดื่มต่าง ๆ ให้ลูกของคุณเพ่งความสนใจไปที่อื่นนอกจากเครื่องบิน
  5. ให้ลูกจิบน้ำเปล่า หรือในเด็กเล็กให้ลูกดื่มนม – เพราะระหว่างเครื่องบินขึ้นหรือลง หูจะอื้อเกิดจากแรงดันอากาศ เป็นอาการหูอื้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงอย่างกะทันหัน
  6. ความปลอดภัย และความสะอาด – อย่างที่ทราบกันดีว่าในช่วงที่มีการสถานการณ์ของ โควิด-19 เมื่อพา ลูกขึ้นเครื่องบิน คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะตรวจดูให้บุตรหลานสวม หน้ากากอนามัย อยู่ตลอดเวลาและหมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์

บทความที่น่าสนใจ : พาลูกขึ้นรถไฟ เตรียมตัวอย่างไร ไม่ให้ลูกงอแงรบกวนผู้อื่น?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เรียบร้อยแล้ว ก็ไปกันเลย!

ทริคในการที่จะทำให้ลูกคุณเดินทางโดยเครื่องบินได้อย่างไม่มีปัญหาคือ ให้เด็กทานอาหารบนเครื่องบิน นำขนมทานเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่หวานมาก และกินได้ง่าย ๆ ขึ้นเครื่องไปด้วย หากท้องของเขาอิ่ม เขาจะไม่แพลงฤทธิ์อะไรมาก หากเขาเลือกที่จะเล่นกับของกิน ก็ปล่อยให้เขาเล่นไป อาจปล่อยให้เขานั่งนับ และคัดแยกสีเยลลี่หมี กัมมี่แบร์ไปได้เรื่อย ๆ จนพอใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทริคอีกอย่างหนึ่งคือให้เอาของเล่นไปด้วย (ห่อด้วยกระดาษ 3 ชั้น) ก่อนถึงเวลาขึ้นเครื่องให้หาของเล่นใหม่ ๆ แต่ราคาไม่แพงเอาไว้บ้าง เพียงแค่เขาเห็นว่าเรากำลังแกะห่อของเล่นใหม่ให้เขา เขาก็ตื่นเต้นดีใจจะแย่แล้วล่ะ ของเล่นใหม่เพียงชิ้นเดียว ทำให้ลูกของคุณอารมณ์ดีไปได้หลายชั่วโมง หากเขาเริ่มเบื่อของเล่นชิ้นนั้น ก็ยื่นชิ้นใหม่ให้อีก อย่าเผลอหยิบของเล่นใหม่ ๆ ให้เขาจนหมดในครั้งเดียวล่ะ พยายามเหลือชิ้นสุดท้ายให้เขาแปลกใจเล่นจนถึงช่วงสุดท้ายของการบิน ทริคสุดท้าย(อันนี้ขอให้เป็นมาตรการสุดท้าย เมื่อคุณไม่มีทางเลือกแล้ว) คือ ให้เขาดูหนังจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของคุณ เล่นเกมจากเครื่องเล่นเกมพกพา หรือเล่นเกมจากโทรศัพท์มือถือของคุณ แล้วอย่าลืมให้เขาใส่หูฟังด้วย เพื่อไม่ให้มีเสียงดังรบกวนคนอื่น

 

บทความที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรให้ลูกกินยาก่อนขึ้นเครื่องบินรึเปล่า

วิธีแก้อาการเมาสำหรับเด็ก

พาลูกขึ้นรถเมล์ครั้งแรก ทำอย่างไร? อะไรคือสิ่งที่เราต้องคำนึงถึง

ที่มาข้อมูล : Pobpad 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team