ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกกัดนม ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง ใช้ยาทาหรือยากินดี วิธีไหนที่ช่วยให้แม่สามารถให้นมลูกแบบไม่เจ็บบ้างหรือเปล่า และวิธีไม่ให้ลูกกัดที่หัวนม วันนี้แอด มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ

 

ลูกชอบกัดหัวนม หัวนม เป็นแผล ทำยังไง

สาเหตุที่ลูกชอบกัดหัวนมเป็นเพราะอะไร หลายคนสงสัย ลูกปกติหรือเปล่าน่ะ สาเหตุหลัก ๆ ที่ลูกชอบกัดหัวนมอาจเกิดจากลูกน้อยไม่พอใจ ฟันลูกกำลังจะขึ้น หรือเพราะน้ำนมไม่ไหล

 

คุณหมอได้วินิจฉัยว่า อาจเกิดจากที่ฟันของลูกน้อยกำลังจะขึ้น ซึ่งพวกเขาจะกัดหัวนมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บบริเวณที่ฟันกำลังขึ้น หากเมื่อไหร่ที่คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดจากการถูกลูกน้อยกัดหัวนมเวลาให้นม คุณหมอได้เตือนว่า อย่าพยายามดึงลูกน้อยออกจากเต้าทันที เพราะทำให้เกิดคุณแม่เกิดอาการบาดเจ็บที่เต้านมมากยิ่งขึ้น แต่ให้เอานิ้วสอดเข้าไปไม่ให้ลูกกัด จากนั้นก็ค่อยดึงลูกออกจากเต้า เดี๋ยวลูกน้อยก็จะค่อยเปิดปากออกค่ะ

 

สำหรับแม่คนไหนที่ยังฝืนให้ลูกกินนมต่อไปทั้ง ๆ ที่เจ็บนมนั้น อย่าฝืนค่ะ เพราะว่าเวลาที่เด็กกินนมจนอิ่มแล้วก็มักจะกัดนมแม่เล่น แม่ ๆ ต้องอย่าลืมแสดงอาการ และคำพูดให้ลูกรับรู้ด้วยว่าทำแบบนี้ไม่ดีน่ะ เพื่อให้ลูกรู้ว่าแม่ไม่ชอบให้ทำแบบนี้ จากนั้นวางลูกไว้แล้วปล่อยไว้แบบนั้น ถ้าลูกร้องก็อย่าเพิ่งสนใจ ต้องใจแข็งเข้าไว้ รอสักแปปแล้วค่อยกลับมาหาลูกใหม่ ให้คุณแม่ทำแบบนี้ทุกครั้งที่ลูกกัดนม เดี่ยวลูกก็จะเรียนรู้และปรับตัวได้เองค่ะ ส่วนระยะเวลาถ้าจะให้ผลต้อง 10-15 ครั้ง เพราะฉะนั้นคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ หน่อยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : Gynecomastia อาการเต้านมโตผิดปกติ ผู้ชายก็เป็นได้ โรคที่แม่อาจไม่รู้จัก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกกัดเต้านม

เวลาที่ลูกฟันกำลังขึ้น มีอาการคันเหงือกอยู่บ่อย ๆ ชอบหาอะไรมางับไม่เว้นแม้กระทั่งหัวนม วิธีที่ป้องกันไม่ให้ลูกงับมากที่สุด คือ

  1. หาของเย็น ๆ หรือของแข็ง ๆ อย่างเช่นยางกัดมาให้ลูกงับบ่อย ๆ เพื่อเป็นการบรรเทาอาการคันตรงบริเวณเหงือกที่ลูกกำลังขึ้น หรือลองเอาผักผลไม้มาให้ลูกงับกินเล่นก็ได้นะคะ
  2. ใช้นิ้วมือนวดบริเวณที่เหงือกบวม เพราะแสดงว่าฟันลูกจะขึ้นบริเวณนั้น
  3. เวลาลูกกัด อย่าทน หรือแสดงสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ควรหยุดให้นมลูกซะ ทำหน้านิ่ง ๆ เตือนลูก และไม่ควรให้ลูกกินนมต่ออีก แล้วค่อยให้ลูกในมื้อต่อไปจะดีกว่า
  4. อย่าแสดงอาการต่อไปนี้กับลูก เช่น ตบปากลูก บีบจมูกให้ลูกอ้าปากออก ตะโกนใส่หน้าลูก ร้องกรี๊ด หรือทำหน้าบึ้งตึงใส่ เพราะจะทำให้ลูกกลัวที่จะกินนมแม่
  5. เมื่อลูกดูดโดยไม่กัดนมแม่ ก็ให้รางวัลโดยการพูดชม กอดหรือจูบลูก ซึ่งลูกจะเรียนรู้ได้
  6. เด็กบางคนจะกัดเมื่อน้ำนมไม่ไหลในขณะยังไม่อิ่ม ดังนั้นคุณแม่ควรพยายามกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมมากขึ้น โดยให้ลูกดูดบ่อย ๆ และคุณแม่ดื่มน้ำและกินอาหารให้พอ
  7. ระหว่างที่ลูกกำลังดูดนม ให้ดึงความสนใจของลูกมาที่ตัวแม่ โดยการจ้องตา ลูบไล้ลูก หรือคุยกับลูก
  8. ปรับตำแหน่ง หรือวิธีการให้นมลูกใหม่ เพื่อให้ลูกกินนมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

วิธีปรับการให้นมลูกที่ถูกต้อง

  1. จับเต้านมด้วยมือเปล่า
  2. วางนิ้วหัวแม่มือไว้อยู่ด้านบน เหนือขอบนอกของลานหัวนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง ไม่ควรใช้ท่าแบบนิ้วคีบบุหรี่ เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วจะแคบ ทำให้ลูกอมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลไม่ดี
  3.  อุ้มลูกโดยใช้มืออีกข้างประคองที่ต้นคอและท้ายทอย อย่ากดที่ใบหูลูก พยายามให้ลูกเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย เคลื่อนลูกเข้ามาโดยให้คางของลูกเข้ามาชิดกับเต้านมส่วนล่าง (สังเกตว่าจังหวะนี้จมูกของลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมแม่) ลูกก็จะเริ่มอ้าปาก ถ้าลูกไม่อ้าปาก ให้ใช้หัวนมเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปาก
  4. รอจนลูกอ้าปากกว้าง (เหมือนหาว) จึงเคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมอย่างรวดเร็วแต่นุ่มนวลก่อนที่ลูกจะเริ่มหุบปากลง จะไม่ใช้วิธีโน้มตัวแม่เพื่อนำเต้านมเข้าหาลูก
  5. ให้ลูกอมงับถึงลานนม โดยให้อมลานนมส่วนล่างมากกว่าลานนมส่วนบน ให้คางลูกแนบชิดกับเต้านมส่วนล่าง วิธีนี้จะช่วยให้ลิ้นของลูกยื่นออกมารีดน้ำนมจากเต้าแม่ได้ดีขึ้น และจมูกของลูกจะอยู่ห่างออกจากเต้าแม่เล็กน้อย คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะหายใจไม่สะดวก
    การอุ้มลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้แม่ไม่เจ็บหัวนมแล้ว ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เต้านมเป็นแผลต้องให้นมลูกแบบนี้

  1. พยายามให้อมให้ลึก เพื่อจะได้ไม่กดที่หัวนมหรือเสียดสีที่แผลเก่า และหลังจากกินนมก็ให้ใช้น้ำนมแม่ทาบาง ๆ ที่หัวนม และบริเวณแผลที่เป็น จากนั้นรอให้แห้งก่อนแล้วจึงสวมเสื้อผ้าทับ
  2. ถ้าต้องใช้แผ่นซับน้ำนมเวลาออกข้างนอก ควรเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อย ๆ อย่าให้หัวนมชื้นแฉะ เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ทำให้การเจ็บหัวนมมากขึ้นหรือเป็นนานขึ้น และมีการกลับมาเป็นบ่อย ๆ
  3. พักข้างที่เจ็บชั่วคราวได้ โดยต้องไม่ลืมบีบน้ำนมข้างที่พักเก็บไว้เพื่อรักษาการผลิตน้ำนมให้มีอยู่ต่อไป พอแผลหายหรือสามารถกลับมาให้กินได้อีกก็ให้กินจากเต้า หยุดการบีบ การให้ลูกกินนมข้างที่ไม่เจ็บข้างเดียวก็ทำให้ระหว่างอีกข้างต้องพักการทำงาน
  4. แผลและหัวนมแสบ ปวดแสบปวดร้อน หัวนมเป็นสีแดงหรืออาจเป็นสีส้ม ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อราที่หัวนม ซึ่งเชื้อราที่หัวนมนี้เองที่สามารถติดต่อไปยังลูกได้ ควรพบแพทย์เพื่อกินยารักษาต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการรักษา หัวนมเป็นแผล ต้องทำอย่างไร

ถ้าคุณแม่คนไหน ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่น วิธีรักษาเบื้องต้นนั้นไม่ยากเลย หลังจากที่โดนกัดแล้ว ให้คุณแม่นำนมมาทาบริเวณหัวนม เพื่อช่วยในการรักษาหลังจากนั้น ให้ล้างน้ำ และ ล้างแผลด้วยวิธีธรรมชาติ จากเกลือและน้ำอุ่น ก็จะช่วยได้ค่ะ

หากคุณแม่ไม่ได้มีแผลที่รุนแรง จนเกิดการติดเชื้อราก็ไม่ต้องกังวลค่ะ สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เนื่องจากแผลที่หัวนมไม่มีเชื้อโรคอันตราย และหายได้เร็วจากกระบวนการซ่อมแซมตามปกติของร่างกาย ถ้าไม่ติดเชื้อรุนแรงก็จะไม่มีการส่งต่อไปยังลูกน้อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาหารหลังคลอด ผลไม้หลังคลอด แม่ให้นมต้องกินอะไรให้น้ำนมพุ่ง

ทำศัลยกรรมหน้าอก อัพไซส์เสริมนม จะให้นมลูกได้ไหม?

อุ้มลูกท่านี้ สบ๊าย สบาย แม่ไม่เมื่อยเลย รู้ไหม ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก

ที่มาข้อมูล : brestfeedingthai, thaibf

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri