ลูกไม่ยอมพูด ทำไงดี ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือไม่
อีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ บ้านกำลังกลุ้มใจที่ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ต้องทำอย่างไรดี ลูกของเรากำลังผิดปกติอยู่หรือไม่ เป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่นั้นสงสัยและต้องการหาคำตอบ วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำวิธีการแก้ปัญหา และสังเกตลูก ๆ ดูว่าพฤติกรรมแบบไหนที่ลูกกำลังมีความผิดปกติของการพูด ไปดูกันเลย
พูดเร็วหรือช้า เช็คจากอะไรได้บ้าง
ลูกเป็นคนพูดช้าไปหรือไม่ จะรู้ได้ยังไง? มีนักวิจัยท่านหนึ่งชื่อว่า Elizabeth Peña ได้พบว่า เด็กจะพูดช้าหรือไม่ให้ดูที่จำนวนคำในช่วงอายุของเด็ก คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 18-20 เดือน พวกเขาต้องพูดได้ประมาณ 10 – 20 คำ โดยในแต่ละคำ เด็ก ๆ อาจจะรู้มากกว่า 1 ภาษาก็ได้ค่ะ และเมื่อลูกน้อยอายุได้ราว ๆ 24 เดือน (2 ขวบ) เด็กควรรู้จักคำได้ประมาณ 50 คำ และควรพูดแบบรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปได้ ถ้าในช่วงวัยนี้เด็กยังพูดเป็นคำ ๆ ได้น้อยแสดงว่าเป็นเด็กพูดช้า
เด็กส่วนใหญ่มักจะเริ่มพูดคำแรกเมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 8-15 เดือน ในช่วง 18 เดือน น้องๆ จะมีคลังคำศัพท์ประมาณ 10 คำ ซึ่งพ่อแม่ต้องกระตุ้นให้เขาใช้คำเหล่านั้นออกมาไม่ว่าจะเป็นการพูดซ้ำ ๆ หรือ การถามตอบลูกทั่วไป พอลูกอายุได้ประมาณ 17-20 เดือน ช่วงเวลานี้ เด็ก ๆ จะเรียนรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะมีคำศัพท์ใหม่เรื่อย ๆ เกือบ 50 คำเลยทีเดียว
สาเหตุที่ลูกพูดช้า ลูกไม่ยอมพูด
1. การได้ยิน
วิธีสังเกต ต้องดูลูกว่าเวลาที่พ่อแม่เรียก เด็กมีการตอบสนองต่อเสียงหรือไม่ ยิ่งเมื่อขณะที่พูดอยู่ เด็กมีอาการจ้องมองที่หน้าคอยดูริมฝีปากอยู่ตลอดเวลา พร้อม ๆ กับการใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารหรือเปล่า เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กมีภาวะความผิดปกติต่อการได้ยิน ทำให้ไม่อาจสามารถพูดโต้ตอบกับพ่อแม่ได้
2. ออทิสติก
ลักษณะอาการ เด็กจะพูดช้าร่วมกับความบกพร่องทางด้านสังคม ชอบเล่นหรือทำอะไรซ้ำ ๆ สนใจแต่เรื่องเดิม ๆ ไม่ชอบมองหน้า สบตา เรียกแล้วไม่ชอบหัน ไม่มีการโต้ตอบแม้กระทั่งภาษาท่าทาง เวลาสนใจสิ่งของบางอย่าง จะไม่ชี้นิ้วสั่ง แต่จะจับมือบุคคลอื่นไปเอาของสิ่งนั้น ทางด้านอามณ์จะไม่ชอบสุงสิงกับใคร ชอบเล่นคนเดียว สนใจแต่ของตรงหน้า
3. ความผิดปกติด้านการสื่อสาร
เด็กกลุ่มนี้จะพูดช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด แต่ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ เพราะมีความบกพร่องทางด้านการสื่อสาร
4. ไม่เข้ามีความเข้าใจในการใช้ภาษา
เด็กกลุ่มนี้น่าเป็นห่วง เพราะมีความบกพร่องรุนแรง ไม่สามารถเข้าใจ และไม่สามารถใช้ภาษาได้ เมื่อเด็กกลุ่มนี้พูดไม่ได้จะส่งผลให้ไม่สามารถเข้าสังคมได้ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับโรคออทิสติก แต่จริง ๆ แล้วเป็นคนละโรคกัน
5. บกพร่องการใช้ภาษาในสังคม
เด็กที่ไม่สามารถใช้ภาษา หรือคำพูดที่เหมาะสมกับแต่ล่ะสถานการณ์ เมื่อเข้าสังคมกับเพื่อน จะทำให้เขามีปัญหาในการพูดคุย ทำให้ไม่สามารถเข้ากับคนอื่นได้ โรคนี้ก็มีความใกล้เคียงกับออทิสติกเช่นเดียวกัน ดังนั้น พ่อแม่ต้องสังเกตดี ๆ
ช่วยพัฒนาการพูดของลูก
เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กเล็กที่จะออกเสียง คำศัพท์ต่าง ๆ ต่างจากผู้ใหญ่ ไม่จำเป็นต้องแก้ไขพวกเขาทุกครั้งที่ทำผิดพลาด เพราะมันอาจทำให้เหล่าครอบครัวผิดหวัง หากคุณต้องการกระตุ้นให้ลูกของคุณ ให้เตือนความจำพวกเขาที่อ่อนโยน โดยสามารถช่วยให้ลูกของคุณออกเสียงคำศัพท์คำนั้นได้อย่างถูกต้องแทน ตัวอย่างเช่น หากลูกของคุณพูดว่า “หนูเห็นแตว” คุณสามารถตอบกลับได้ ‘แมวอยู่ที่ไหน แมวกำลังทำอะไรอยู่ นี่เกี่ยวข้องกับการทำซ้ำเสียงที่หายไปหรือแตกต่าง และแก้ไขการออกเสียงที่ผิดให้กับลูก ๆ ได้
หากคำพูดของเด็กยากที่จะเข้าใจจริง ๆ นี่คือแนวคิดบางประการที่ช่วยให้ลูกของคุณสื่อสารได้
- ขอให้ลูกของคุณแสดงสิ่งที่เขากำลังพูดถึง ขอให้เขาชี้ไปที่สิ่งที่เขาต้องการ
- ถามคำถามง่าย ๆ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกของคุณกำลังพยายามจะพูด เช่น ลูกบอกแม่เกี่ยวกับบางสิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้หรือไม่? มันเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน? จากนั้นให้ลูกเล่าเรื่องที่เหลือให้คุณฟังโดยที่คุยไม่พูดเสริม แต่ให้คอยแก้ไขสิ่งที่ผิดยามที่คุณไม่เข้าใจคำศัพท์เหล่านั้น
- กระตุ้นให้ลูกพูดช้า ๆ ปล่อยให้ลูกของคุณรู้ว่าคุณกำลังฟังอยู่และเธอก็มีเวลาทั้งหมดในโลกที่จะบอกคุณ
หากลูกน้อยของคุณยังไม่ยอมพูด และไม่รู้จะทำอย่างไร มาลองดูวิธีทำให้ลูกพูดกัน
- อย่ากดดันลูก เด็กเมื่อโดนกดดันมาก ๆ ก็จะยิ่งทำให้เขาเครียด ปล่อยให้ลูกได้พูดเองตามธรรมชาติ
- ตรวจสอบการได้ยินของลูก เด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านการได้ยินทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารได้
- สังเกตลูก คุณพ่อคุณแม่อาจใช้เวลาวันละประมาณ 30 นาที เพื่อดูว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมอะไร สนใจอะไร เล่นกับอะไรบ้าง ซึ่งพ่อแม่อาจเริ่มพูดคุยกับสิ่งที่ลูกน้อยสนใจ เพราะพัฒนาการที่ดีของเด็กอาจเริ่มจากสิ่งเหล่านี้
- จดบันทึกพัฒนาการของลูก ในระหว่างวันคุณแม่อาจคอยดูว่าวันนี้ลูกมีการสื่อสารอย่างไร มีการพูดอ้อแอ้ไหม มีการออกเสียงอย่างไร เพื่อที่เวลาไปพบคุณหมอจะได้นำไปปรึกษาคุณหมอได้ค่ะ
- อ่านหนังสือด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกหนังสือที่มีตัวหนังสือน้อยๆ รูปภาพสีสันสดใสที่สามารถอธิบายคำ ๆ นั้นได้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
Source : raisingchildren , bilingualkidspot
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พัฒนาการของเด็กวัย 4-5 ปี เด็กจะมีการพัฒนาช่วงวัยก่อนวัยเรียนในด้านใดบ้าง
พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 11 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงแบบไหน ทักษะจำเป็นต่อลูก
พัฒนาการเด็ก 33 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี