ความสุขจากการ รับทารกเป็นลูกบุญธรรม ต้องแลกกับอะไร??
ขั้นตอนยืดยาว
การขอรับเลี้ยงลูกบุญธรรมมักเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้ทั้งพลังงานและเวลา ดังนั้นเป็นธรรมดาที่คุณจะรู้สึกอยากให้ทุกอย่าง “ราบรื่น” นับตั้งแต่วันที่คุณได้เจ้าตัวเล็กมาอยู่ในอ้อมกอด ทุกอย่างยกเว้นคืนที่ต้องอดนอน อาการโคลิค ผื่นผ้าอ้อม และอื่น ๆ
การรับเด็กมาเลี้ยงมักทำให้คนนอกรู้สึกอยากรู้อยากเห็น และอาจทำให้คุณรู้สึกไม่ค่อยแน่ใจ คุณควรรับมือกับคำถามประหลาด ๆ ของคนภายนอกอย่างไร? คุณควรส่งข่าวบอกคนอื่น ๆ มั้ย? ต้องจัดงานรับขวัญหรือเปล่า? แล้วต้องทำยังไงถ้ามีคนจ้อง หรือมีท่าทีประหลาด ๆ กับคุณ?
ดีที่สุดเท่านั้น
อันดับแรก จำไว้ว่าเด็กไม่ได้เรียกร้องอยากจะเกิดขึ้นมาบนโลกเอง ดังนั้นเมื่อเขาเกิดมาแล้ว เขาก็ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีที่สุด และถ้าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดของเด็กไม่สามารถให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเขาได้ แล้วทำไมคุณจะไม่มีสิทธิเป็นคนหยิบยื่นสิ่งดี ๆ ที่เขาสมควรได้รับให้กับเขาล่ะ? อย่าให้คนอื่นมาบอกว่าคุณไม่มีสิทธินั้น เด็กมีสิทธิได้รับ การดูแลเอาใจใส่ จากคุณนับตั้งแต่วันแรกที่เขาเข้ามาอยู่ในครอบครัวเสมือนกับเขาเป็นลูกแท้ ๆ ของคุณเอง
สิ่งที่ควรทำ
คุณควรส่งข่าวเกี่ยวกับเจ้าตัวเล็กให้ญาติ ๆ และเพื่อนรู้ เพราะคุณคงต้องผ่านอะไรมามากมายกว่าจะได้เรียกตัวเองว่าพ่อแม่ได้เต็มปากเต็มคำ คุณจึงควรแบ่งปันความตื่นเต้นและความสุขนี้ให้คนใกล้ชิดรู้ คุณอาจจะส่งรูปถ่ายเจ้าตัวเล็กกับคุณ พร้อมระบุวันเวลาที่เขาเกิดไปด้วย คุณอาจจะใช้วันเกิดจริง ๆ ของเด็ก หรือใช้วันที่เขามาอยู่กับคุณวันแรกเป็นวันเกิดก็ได้
แน่นอนว่าคุณควรจัดงานรับขวัญเด็กด้วย ก็คุณเป็นแม่เต็มตัวแล้วไม่ใช่เหรอ? ญาติ ๆ และเพื่อนฝูงของคุณอาจไม่ค่อยแน่ใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในกรณีลูกบุญธรรม แต่คุณก็เป็นคนริเริ่ม นัดวันที่ทุกคนจะสามารถมารวมตัวกันเพื่อรับขวัญลูก อาจจะเลี้ยงอาหารกลางวันที่บ้าน หรือปาร์ตี้น้ำชาเบา ๆ ยามบ่าย
อาจมีคนถามคำถามแปลก ๆ ไม่รู้จักกาละเทศะ หรือถึงขั้นหยาบคายกับคุณ ต่อหน้าเด็ก นี่เป็นคำถามที่คุณอาจเจอ พร้อมคำตอบดี ๆ ที่อาจจะช่วยให้คุณตอบคำถามเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
ถาม: เด็กหน้าเหมือนใคร?
ตอบ: หน้าเหมือนเด็กที่เรารอมาตั้งนาน
ถาม: ไม่กลัวว่าเด็กจะมีโรคติดต่อที่ “เขา” ไม่ได้บอกคุณเหรอ?
ตอบ: เรารับลูกมาเลี้ยงค่ะ ไม่ได้ไปซื้อรถ ไม่มีใครรับประกันได้หรอกว่าเด็กจะแข็งแรงสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่เรารักเขา เพราะเขาคือลูกของเรา ก็แค่นั้น
ถาม: จะบอกเด็กมั้ยว่าเขาไม่ใช่ลูกแท้ ๆ ของคุณ?
ตอบ: ฉันว่าเดี๋ยวเขาก็คงรู้เองแหละค่ะว่าทำไมเขาถึงหน้าไม่เหมือนพ่อแม่ (ในกรณีที่รับเด็กต่างชาติมาเลี้ยง)
ถาม: พ่อแม่คุณว่ายังไงกับเรื่องนี้?
ตอบ: ก็ว่าเหมือนกับที่คุณตาคุณยายทุกว่านั่นแหละค่ะ “เอามาให้อุ้มมั่ง”
ถาม: คุณจะตอบยังไง ถ้ามีคนถามนู่นนี่?
ตอบ: เหมือนกับที่คุณกำลังถามเนี่ยเหรอ?
ถาม: คุณกลัวมั้ยว่าเขาจะเกลียดคุณเมื่อเขาโตขึ้น เพราะคุณไปเอาเขามาจากประเทศของเขา?
ตอบ: นี่เป็นประเทศของเขา เขาก็แค่จะได้เรียนรู้ทั้งสองวัฒนธรรมเท่านั้นเอง
ถาม: คุณกลัวว่าคุณจะต้องส่งเด็กคืนให้พ่อแม่แท้ ๆ ของเขามั้ย?
ตอบ: การรับเลี้ยงลูกบุญธรรมเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน เรารู้ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นได้ แต่เราควรจะมีความสุขกับช่วงเวลาที่เราอยู่ด้วยกันมากกว่า
ถาม: คุณจะทำยังไงถ้าวันหนึ่งเด็กเกิดอยากออกตามหาพ่อแม่ที่แท้จริงของเขา?
ตอบ: ฉันเป็นแม่แท้ ๆ ของเขา ฉันเป็นคนที่รัก ดูแล และเลี้ยงเขามา แต่ถ้าวันหนึ่งเขาเกิดอยากตามหาแม่ที่ให้กำเนิดเขา ฉันก็จะทำทุกอย่างเพื่อช่วยเขาหา
ประเด็นคือคุณต้องอดทน หนักแน่น และรักษาความเป็นส่วนตัว การอยู่แถว ๆ บ้านด้วยกัน (พ่อ แม่ ลูก) ในช่วงสองสามอาทิตย์แรกจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ดีกว่าการตะลอนออกไปเจอคนนู้นคนนี้ อย่าไปสนใจคนที่บอกว่าถ้าอุ้มเด็กมากเกินไป จะทำให้เด็กเสียนิสัย บางครั้งมันก็จำเป็น พยายามมีความสุขกับทุกช่วงเวลาที่อยู่กับเขา เพราะความรู้สึกที่ได้เป็นคุณแม่มือใหม่ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตร (1548) – การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
บทความอื่น ๆ ที่น่านสนใจ :
บทความแนะนำ: ให้ลูกบุญธรรมดื่มนมเราได้มั้ย
บทความแนะนำ: ผู้หญิงที่รับจ้างอุ้มบุญ
บุ๋ม ปนัดดา เจอลูกบุญธรรมคนแรก จากเด็กกระเหรี่ยงสู่คุณครู บุ๋มเผยภูมิใจมาก