คนท้องหน้ามืด วูบบ่อย ปกติไหม? ทำอย่างไรดี ถึงจะหาย

นอกจากอาการแพ้ท้องแล้ว อาการหลักที่คุณแม่ท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นกันก็คือ หน้ามืด วูบบ่อย เหมือนจะเป็นลม

หากถามว่า คนท้องหน้ามืด วูบบ่อย ปกติไหม? ทำอย่างไรดี ถึงจะหาย ในช่วงตั้งท้อง สามเดือนแรก เป็นช่วงเวลาที่แม่ท้องอาจต้องเจอกับอาการหน้ามืด เวียนหัวได้ค่อนข้างมาก และแม่ท้องบางคนอาจมีอาการแบบนี้ไปจนถึงช่วงคลอดเลยก็มี การที่ คนท้องหน้ามืด อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ วูบ คล้าย ๆ จะเป็นลมอยู่บ่อย ๆ นั้น อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

แต่สาเหตุที่สำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลทำให้ความดันต่ำลง อีกทั้งการที่ระบบการเผาผลาญอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง หากถามว่า คนท้องหน้ามืด วูบบ่อย ปกติไหม? นั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่ในความปกตินี้ เราก็ยังคงต้องระมัดระวัง และใส่ใจมากเป็นพิเศษเช่นกัน

นอกจากนี้ คุณแม่ท้องที่มีอาการ เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศไม่ถ่ายเท หรือการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป ทำให้หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ท้องต้องเดินทาง หากต้องเจอกับสภาพอากาศที่ร้อน และความแออัด ก็อาจทำให้เกิดอันตรายจากอาการหน้ามืด และวูบตามมาได้ รวมทั้งการที่แม่ท้องอาจมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว ก็เป็นสาเหตุของ อาการหน้ามืด และวูบได้เช่นกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ท้องแล้ว เป็นประจำเดือน คนท้อง เป็นเมนส์ได้ไหม มาดูคำตอบ ไปพร้อมกัน!

คนท้องหน้ามืด วูบบ่อย ปกติไหม? ทำอย่างไรดี ถึงจะหาย

คุณแม่ท้องที่มีอาการ เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็หน้ามืดได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  • อาการหน้ามืด อันเกิดจากความดันโลหิตต่ำ

อีกหนึ่งสาเหตุหลัก ที่มักจะพบเจอบ่อยในคนที่ตั้งครรภ์นั้น มาจากภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น บางรายมักจะเกิดอาการเช่นนี้เมื่อจะต้องลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว อาการวิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลมนี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว อาจจะมีอาการหายใจถี่ เหนื่อย ชีพจรเต้นเบา และแรงสลับกันอย่างรวดเร็ว

  • เกิดจากภาวะโลหิตจาง

โดยมาก มักจะพบอาการโลหิตจางเมื่อมีอายุครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก และช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ช่วงระยะนี้มักจะพบเจอความเสี่ยงของอาการหน้ามืดเนื่องจากภาวะโลหิตจางได้เป็นอย่างมาก สามารถป้องกันได้ด้วยการฝากครรภ์ให้ไวที่สุดเมื่อรู้ว่าตนเองมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เพื่อให้แพทย์ที่ปรึกษาคอยเช็คผลความเข้มข้นของเลือดได้อย่างต่อเนื่อง พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ วิตามินบำรุง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง แคลเซียม มีโฟเลต ไอโอดีน ตามที่แพทย์สั่ง และที่สำคัญคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากร่างกายของตัวคุณเองนั้น จะต้องรับบทบาทที่หนักกว่าปกติเป็นเท่าตัว

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นี้ เกิดอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ในช่วงแรก ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้น ส่งผลให้มีการขยายของหลอดเลือดต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะโลหิตต่ำ หรือไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดีเหมือนปกติ

  • การที่มดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้น

เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูกที่ใหญ่ขึ้น ทำให้ร่างกายมีการปรับเปลี่ยนการสูบฉีดเลือดจากปกติ ให้ไปหล่อเลี้ยงที่มดลูกมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนของเลือดภายในร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : แม่ท้อง นอนไม่หลับ ทําไงดี คิดมาก กลัวกระทบลูก ทำยังไง ให้หลับเร็ว ๆ

คนท้อง หน้ามืด วูบบ่อย ทำอย่างไรดี

  • หากแม่ท้องมีอาการหน้ามืด เหมือนจะเป็นลม สิ่งแรกที่คุณควรทำคือค่อยๆนั่งลง วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการ เวียนหัว และป้องกันไม่ให้คุณล้ม จากนั้นเมื่อรู้สึกดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลุกขึ้นยืนช้า ๆ
  • เวลาตื่นนอนในตอนเช้า ควรลุกขึ้นจากที่นอนอย่างช้า ๆ และนั่งที่ขอบเตียงก่อนสักครู่ จึงค่อยลุกขึ้นยืน
  • หากต้องเดินเป็นระยะทางไกล ๆ ขณะเดินควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ
  • หากต้องยืนเป็นเวลานาน ให้เดินไปมาสลับกันไปด้วย
  • ขึ้นและลง บันได ช้า ๆ และพยายามเกาะราวจับไว้
  • พยายามอย่าโค้งหรืองอตัว เพราะจะทำให้หายใจไม่สะดวก
  • รับประทานอาหารว่างที่มีประโยชน์บ่อยๆ ในระหว่างวัน เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
  • ดื่มน้ำให้มาก แม่ท้องอาจดื่มน้ำผลไม้หรือกาแฟปลอดสารคาเฟอีนก็ได้ เพื่อช่วยรักษาระดับน้ำในร่างกายให้เป็นปกติ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิจัยเผย คนท้องอ้วนอันตราย มีผลร้าย กับแม่และลูก มาดูเหตุผล ไปพร้อมกัน!

คนท้องหน้ามืด วูบบ่อย ปกติไหม? ทำอย่างไรดี ถึงจะหาย

หากคุณหน้ามืดบ่อยครั้ง ควรระมัดระวังในการขึ้น-ลงบันได ควรจับราวให้มั่นเพื่อความปลอดภัย

วิธีแก้ไข และป้องกัน

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายของเราจะต้องปรับตัวตามภาวะที่เกิดขึ้น จึงส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงสำหรับบางคน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของสุขภาพของแต่ละบุคคลเป็นหลัก โดยอาการหน้ามืด หรืออาการวูบ คล้ายเป็นลมนี้ มักจะมีให้พบเจอได้บ่อย ดังนั้น การบ่อยกันเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ไม่ว่ากับตัวคุณแม่เอง หรือกับตัวลูกน้อยในครรภ์

  1. ดื่มน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากร่างกายทำงานหนักกว่าเดิมถึงสองเท่า ดังนั้น พยายามอย่าทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำ เพื่อความสดชื่นของร่างกาย และเพื่อการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น
  2. รับประทานสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะดูเป็นเรื่องยาก หากต้องทานอาหารให้ได้สารอาหารครบตามที่แพทย์ได้กำหนดเอาไว้ ดังนั้น การทานวิตามินเสริม หรือ ยำบำรุงเลือด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ การทานวิตามินเสริมเหล่านี้ ควรจะอยู่ในการควบคุมของแพทย์ผู้ดูแลเป็นหลัก
  3. หมั่นสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากเมื่อใด ที่เริ่มมีอาการวูบ อาการหน้ามืด หรือมีความปกติใด ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่คุณมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ เช่น ลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นนั่งจากการนอน แล้วเกิดอาการวิงเวียน หากมีอาการลักษณะนี้ ควรรีบที่จะปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น
  4. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่นหากคุณมีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ก็ควรที่จะเลี่ยงการขับรถ ยืนใกล้กับขอบอาคาร หรือเดินขึ้นลงบันได ที่มีความชัน การใช้ของมีคม หรืออุ้ม แบกของที่มีน้ำหนักมาก เพราะการกระทำเหล่านี้ จะทำให้เกิดความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากเกิดอาการหน้ามืดกระทันหัน

หากคุณมีอาการต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ไม่ว่าจะน้อยหรือมากเพียงใด สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือบอกคนรอบข้าง เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังมากยิ่งขึ้น และหากอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรที่จะรีบเข้าพบ และปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

คนท้องหน้ามืด วูบบ่อย ปกติไหม? ทำอย่างไรดี ถึงจะหาย

หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง ควรรีบพบ และปรึกษาแพทย์โดยทันที

แม่ท้องหน้ามืด วูบบ่อย อาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับแม่ท้องแทบจะทุกคนเป็นเรื่องปกติ แต่แม่ท้องควรรีบไปพบแพทย์ หากคุณรู้สึกเวียนหัวบ่อยครั้ง หรือมีอาการเวียนหัวร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

การตั้งครรภ์ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากคุณแม่ท้องดูแลตัวเองดี ที่สำคัญอย่าลืมไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ละเลยอาการผิดปกติต่าง ๆ หากไม่แน่ใจหรือมีความกังวล  คุณก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่ และลูกในท้องค่ะ

ที่มา :What to Expect

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!