5 สิ่งไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากทำร้ายจิตใจลูก
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหนึ่งในงานที่ยากที่สุดในโลก คือ การเป็นพ่อแม่ที่มีคุณภาพและเลี้ยงลูกให้ได้ดีที่สุด ซึ่งพ่อแม่อย่างเราทำได้คือ รักลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่อย่างที่เรารู้กันดีอยู่ว่า ไม่มีพ่อแม่คนไหนจะสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง บางครั้งพ่อแม่อย่างเรา อาจทำอะไรผิดพลาดไปบ้างที่ ทำร้ายจิตใจลูก วันนี้เราเลยอยากมาแชร์แนวคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เผื่อให้คุณแม่คุณแม่ ได้ลองพิจารณา 5 สิ่งที่ไม่ควรทำ เพื่อให้พวกเขาเติบโตมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงทั้งกายและใจ
ในทุก ๆ วันคุณพ่อคุณแม่มักเจอปัญหาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเครียดสะสมจาที่ทำงาน ปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว แล้วยังต้องมาจัดการเด็ก ๆ ที่บ้านอีก ซึ่งความเครียดเหล่านี้ ย่อมทำให้ คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเหนื่อย และ หงุดหงิดใจบ้างเป็นธรรมดา ทำให้บางครั้งก็ อาจมีบ้างที่เราเผลอแสดงออก หรือ พูดอะไรที่เป็นการ ทำร้ายจิตใจลูก ไปโดยที่เราไม่รู้ตัว
ยกตัวอย่างเช่น
1. คำพูดที่หลุดออกไปทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
จริงอยู่ที่พวกเขายังเล็ก ในสายตาของเรา ทุก ๆ คำพูดและการกระทำของลูกอย่างไรก็ยังเป็นเด็กอยู่ดี ไม่แปลกที่การกระทำเหล่านั้นอาจจะยังไม่เข้าตาเรา แต่ทราบหรือไม่คะว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ลูกไม่ได้เสแสร้งที่จะแสดงออกมา แต่เพราะพวกเขารู้สึกแบบนั้นจริง ๆ จนบ่อยครั้งก็ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิดเผลอมีคำพูดร้าย ๆ หลุดปากไป ยกตัวอย่างเช่น “สักวันถ้าหนูมีลูก แล้วหนูจะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร” “เลิกทำตัวเป็นเด็กเสียทีได้มั้ย ลูกไม่ใช่เด็กเล็ก ๆ อีกต่อไปแล้วนะ” “เมื่อไหร่จะรู้จักโตเสียที” หรือแม้แต่ “เลิกทำตัวเป็นภาระของคนอื่นได้แล้ว” เป็นต้น
2. คำพูดอาจไม่สำคัญเท่ากับการแสดงออก
ลูก ๆ ซึมซับความรู้สึก กระทำและคำพูดจากคนเป็นพ่อเป็นแม่ได้ไวมาก นอกจากคำพูดที่จะสามารถทำร้ายจิตใจลูกได้แล้ว ยังรวมถึงการกระทำที่เราแสดงออกมาให้ลูกเห็น จนบางครั้งก็เป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับคำพูดที่เราบอกลูกก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่บอกให้ลูกปิดทีวีนั่นเดี๋ยวนี้ แต่คุณพ่อคุณแม่กลับดูเสียเอง ลูกจะจำฝังใจละค่ะว่า พ่อแม่โกหก ห้ามไม่ให้เขาดู แต่ทำไมพ่อแม่ดูได้ เป็นต้น
3. อย่าเล่นกับความรู้สึกของลูก
มีบ้างที่เราอาจจะคิดว่าเรื่องบางเรื่องที่ลูกของเรามัวนั่งเสียใจอยู่นั้นเป็นเรื่องตลกและไร้สาระ จนเผลอมีคำพูดหรือหัวเราะเยาะลูกไป ยกตัวอย่างเช่น “โอ้ย เรื่องเล็กนิดเดียวเอง จะเสียใจอะไรกันนักหนา” “อะไรกัน แค่นี้ก็ต้องเสียใจ ทำเป็นเด็กขี้แยไปได้” เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่คะ เรื่องเล็กนิดเดียวของเรา อาจจะกำลังเป็นเรื่องที่ใหญ่สำหรับลูกก็เป็นได้ ลูกอาจจะเฝ้ารอเวลานั้นมาตลอดโดยที่ไม่บอกใคร แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นอย่างที่เขาคิด เขาก็ย่อมเสียใจเป็นธรรมดาจริงไหมคะ
4. อย่าละเลยพฤติกรรมที่ดีของลูก
หนึ่งในวิธีที่คุณพ่อ คุณแม่ ทุกคน ควรปรับตัว และ ลองนำมาใช้คือ การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) แทนที่จะเป็นการกล่าวโทษ ทำโทษ ทำให้ลูกเกิดความกลัว เราเปลี่ยนวิธีรับมือลูกๆ ไปในทางบวก ไม่ว่าลูกจะทำพฤติกรรมแบบไหน คุณพ่อคุณแม่ สามารถเลือกที่จะตอบสนองพฤติกรรมนั้นๆ ให้ลูกรับรู้ถึงความรู้สึกที่ดีได้ หรือผลดีของการทำสิ่งนั้นๆ และยัง จะช่วยให้ลูก ๆ ฟัง เราอย่างมีเหตุผลมากขึ้นด้วย
วิธีนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีของลูก และ ช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ไปได้อย่างออมชอม เช่น ประโยคง่ายๆ เวลาที่ลูกช่วยล้างจาน เราอาจพูดได้ว่า “ขอบคุณลูกมากนะที่ช่วยล้างจาน แม่หายเหนื่อยไปเยอะเลย” เมื่อลูกรู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมีประโยชน์ เป็นสิ่งที่ดี ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเขาได้ หรือ หากเขาโมโหใส่คุณ แทนที่จะทำโทษ ตะคอกใส่ เราลองเปลี่ยนมาพูดจาดี ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล เช่น “ตอนนี้ลูกอาจยังไม่พร้อมคุย แต่เมื่อไรที่ลูกพร้อมแล้ว พ่อกับแม่อยู่ตรงนี้นะ”
5. อย่าบอกเค้าว่า จะออกไปจากชีวิตพวกเขา
เป็นเรื่องปกติของพัฒนาการที่ช่วงวัยหนึ่งของลูก ทำให้เขาอาจมีพฤติกรรมแยกตัว อยากอยู่คนเดียว และกีดกันการมีอยู่ของคุณ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ลูกเห็นว่า คุณให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนตัวของเขา (Personal Space) การแสดงความรักแบบไม่มีเงื่อนไข และพร้อมจะซัพพอร์ตเขาจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด พยายามอย่าตัดพ้อ หรือ ยัดเยียดความรู้สึกผิดให้กับเขา อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่เขาต้องการคุณที่สุด ก็ขอให้คุณพร้อมที่จะยืนอยู่ข้างๆ เขาอีกครั้งนึง
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยเผลอกระทำสิ่งดังกล่าวไปแล้ว “การกล่าวขอโทษลูก” ไม่ใช่สิ่งน่าอายเลยละค่ะ กลับเป็นเรื่องดีเสียอีก ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำให้ลูกรู้ว่า คนเราทำผิดพลาดได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือการที่รู้ว่าเราผิดเรื่องใด และ พร้อมยืดอกรับผิดชอบในสิ่งนั้น สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ลูกจะรู้สึกดีที่อย่างน้อยเขาก็ยังสัมผัสได้ว่าเรารัก และ แคร์เขามากขนาดไหน
ขอบคุณแหล่งที่มาของบทความดีๆ
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ
7 คำพูดดี ๆ ที่ลูกทุกคนอยากได้ยินจากพ่อแม่
10 สิ่งที่พ่อแม่ทำลายความภาคภูมิใจในตนเองของลูกโดยไม่รู้ตัว
สิ่งที่ไม่ควรพูดกับลูก คำอะไรบ้างที่ไม่ควรพูดกับลูก พูดแล้วลูกต่อต้าน
วิธีสร้างวินัยให้กับลูก ง่าย ๆ ด้วยงานบ้าน สร้างวินัยแถมเสริมความมั่นใจอีกด้วย