วันครบกำหนดคลอด คำนวณอย่างไร วิธีคำนวณวันคลอดด้วยตัวเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันครบกำหนดคลอด คือ การคำนวณจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด รวมไปถึงการอัลตราซาวนด์ ซึ่งจะเท่ากับอายุครรภ์ 40 สัปดาห์พอดี คุณแม่มักจะเจ็บท้องคลอด และคลอดใกล้ ๆ กับวันที่กำหนดคลอด ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ อาจจะเป็นช่วงก่อนหรือหลังที่คุณหมอกำหนดไว้ก็ได้ และ 80 เปอร์เซ็นต์ของแม่ท้อง มักจะคลอดลูกในช่วงที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 37 – 40 สัปดาห์

 

ทำความรู้จักการนับอายุครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่รู้อายุครรภ์ที่แน่นอน เพราะการรู้อายุครรภ์สามารถบ่งบอกความสมบูรณ์ของลูกในครรภ์ได้ และช่วยให้แพทย์วินิจฉัย วางแผนตรวจครรภ์ และแจ้งกำหนดวันคลอดคร่าว ๆ อีกทั้งยังช่วยตรวจหาภาวะแทรกซ้อนของสุขภาพคุณแม่ที่อาจกระทบต่อทารกในครรภ์ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์

ซึ่งการนับอายุครรภ์ คุณแม่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ เพียงต้องจำวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุดให้ได้ จึงจะสามารถนับได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากการนับอายุครรภ์ ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด และมีหน่วยนับเป็นวันและสัปดาห์ แต่ที่คุณแม่มักเห็นการบอกอายุครรภ์เป็นเดือน นั่นก็มาจากการนับสัปดาห์แล้วคำนวณเป็นเดือนแล้วนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีนับอายุครรภ์ นับอย่างไร มีวิธีการนับที่แม่นยำแบบไหนบ้าง

 

 

วันครบกำหนดคลอด คำนวณอย่างไร

วิธีการคำนวณวันคลอดด้วยตัวเอง โดยการนับจากวันแรก ที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันที่ = วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย + 7

เดือน = เดือนที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย – 3

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณมาวันที่ 1 มกราคม

วันที่  = 1 + 7 = 8

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เดือน = 1 – 3 = 10 (เดือนมกราคมแล้วนับถอยหลังไป 3 เดือน)

วันกำหนดคลอดของคุณจะประมาณวันที่ 8 ตุลาคม

หรือคุณแม่สามารถคำนวณวันคลอดง่าย ๆ จากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้ที่ เครื่องคำนวณวันคลอด

 

เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้ เกี่ยวกับวันครบกำหนดคลอด

1. กำหนดคลอดนั้น ไม่ได้แม่นยำเสมอไป ในความเป็นจริงแล้วจะมีคุณแม่เพียง 5 – 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่จะคลอดลูกได้ตรงกับกำหนดวันคลอดพอดี และอีก 40 เปอร์เซ็นต์ มักจะคลอดลูกเกินกำหนด ซึ่งร้อยละ 25 ของคุณแม่ในกลุ่มนี้จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 42 สัปดาห์ ร้อยละ 12 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 43 สัปดาห์ และที่เหลือเพียงร้อยละ 3 จะคลอดลูกเมื่ออายุ 44 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. หากเลยวันครบกำหนดคลอดลูกไปแล้ว ห้ามคุณแม่เสี่ยงที่จะรอให้เจ็บท้องคลอดลูกเองเด็ดขาด เพราะนั่นหมายถึง คุณแม่เสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพของรกและการลดลงของระดับน้ำคร่ำ ซึ่งส่งผลกระทบดังต่อไปนี้

 

 

  • ทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์
  • ทารกอยู่ในภาวะความเสี่ยงต่อการสำลักขี้เทา ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และอาจทำให้เกิดอาการปอดอักเสบรุนแรงได้
  • ทารกที่อยู่ในครรภ์เกินกว่ากำหนด จะมีตัวใหญ่กว่าปกติ ทำให้คลอดยาก
  • ทำให้รกเสื่อม ทารกเกิดภาวะการขาดออกซิเจนเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลร้ายต่ออวัยวะและสมองของเด็กทารกในครรภ์ น้ำคร่ำจะน้อยลง ทำให้ทารกอยู่ในภาวะเครียด หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้

3. ทารกอาจคลอดก่อนถึงวันครบกำหนดคลอด จากสถิติพบว่า แม่ท้องประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ช่วงมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 37 สัปดาห์ และถ้าหากท้องแรกเคยคลอดก่อนกำหนดมาแล้ว อนาคตก็มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้เช่นเดียวกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : นับวันคลอด คำนวณวันคลอด ยังไง? แจกตารางนับวันคลอด กำหนดคลอด แม่น ๆ

 

การตรวจอัลตราซาวนด์หากำหนดคลอด

การตรวจอัลตราซาวนด์บริเวณช่องท้อง (Pelvic Ultrasound Scan) ช่วยคำนวณกำหนดคลอดได้แม่นยำกว่าการนับรอบประจำเดือน แพทย์จะทาเจอบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง และใช้เครื่องมือกดที่หน้าท้องและวนเบา ๆ เพื่อวัดความยาวลำตัวทารกและขนาดของถุงน้ำที่หุ้มทารกอยู่ บางกรณีอาจใช้เครื่องมือแบบสอดเข้าไปในอวัยวะเพศเพื่อตรวจดูลูกน้อยขึ้นอยู่กับแพทย์ หากผลตรวจที่ได้ไม่สัมพันธ์กับวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่คุณแม่คำนวณ แพทย์อาจปรับกำหนดคลอดให้ใกล้เคียงและแม่นยำมากที่สุด

 

วันครบกำหนดคลอดแม่นยำไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนจะมีกำหนดคลอดที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ของแม่ท้องจะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์ ส่วนแม่ท้องร้อยละ 11 ที่เหลือจะคลอดลูกก่อนกำหนด โดยอาจยังไม่รู้สาเหตุที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างมดลูกที่ผิดปกติ การตั้งครรภ์แฝด หรือการติดเชื้อบางอย่าง รวมถึงรูปร่างของแม่ท้องด้วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่า 50 กิโลกรัม ก็มีแนวโน้มที่จะคลอดลูกก่อนกำหนดสูง

บทความที่เกี่ยวข้อง : กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คุณหมอนับวันกำหนดคลอดอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หากคลอดช้ากว่ากำหนดคลอดจะเกิดอะไร

โดยปกติแล้ว การตั้งครรภ์มักจะอยู่ระหว่าง 38-42 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดคลอด คุณแม่ก็จะคลอดลูกออกมา แต่สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์นานกว่า 42 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด ซึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดมา 1 สัปดาห์ จะได้รับการตรวจวินิจฉัยดังนี้

  • อัลตราซาวนด์ แพทย์จะอัลตราซาวนด์เพื่อดูระดับท่าทาง การเคลื่อนไหว และระดับน้ำคร่ำรอบตัวทารก หากคุณแม่รู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที
  • ตรวจประเมินสุขภาพทารก แพทย์จะตรวจประเมินสุขภาพทารก เพื่อดูการเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจปากมดลูก คุณแม่ที่อุ้มท้องนานเกินกำหนดจะได้รับการตรวจปากมดลูก เพื่อดูว่าปากมดลูกอ่อนลงและเปิดออกเพื่อคลอดลูกหรือไม่

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกินกำหนด ยังเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น ระดับน้ำคร่ำลดลง รกเสื่อม หรือทารกถ่ายอุจจาระที่เรียกว่า “ขี้เทา” นอกจากนี้ ทารกในครรภ์ก็อาจโตขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้แม่ท้องเสี่ยงผ่าคลอด แพทย์จึงต้องชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดเมื่อตั้งครรภ์ครบ 42 สัปดาห์

 

ถ้าไม่แน่ใจวันครบกำหนดคลอดจริง ๆ ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะถ้าคุณรู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือไปฝากครรภ์ ซึ่งถ้าหากคุณแจ้งข้อมูลวันแรกที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมา คุณหมอก็จะช่วยคำนวณให้อยู่แล้วค่ะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

นับถอยหลังสู่วันคลอด คุณหมอแนะ ใกล้คลอดแล้ว ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ห้องคลอด น่ากลัวมั้ย มีอะไรในห้องคลอดบ้าง ต้องเตรียมตัวยังไงก่อนเข้าห้องคลอด

ควรจะคลอดสัปดาห์ที่เท่าไรเด็กจึงจะแข็งแรงเต็มที่ แล้วมีวิธีคำนวณวันคลอดอย่างไร

ที่มา : 1, 2, 3

บทความโดย

Muninth