ทารกหัวโต เกิดจาก สาเหตุอะไร ลูกหัวโต เสี่ยงเป็นโรคนะรู้ไหมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกหัวโต เกิดจาก สาเหตุอะไร

เด็กหัวโต ทารกหัวโต เกิดจาก สาเหตุอะไร ลูกหัวโตแบบไหน เสี่ยงเป็นโรค พ่อแม่ต้องรู้!

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน อธิบายว่า ศีรษะเด็กจะขยายขนาดเร็วมากที่สุดในช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะที่อายุ 3-6 เดือน หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นช้าลง และไม่เพิ่มขึ้นอีกเมื่อเป็นผู้ใหญ่

  • เด็กผู้ชายจะมีเส้นรอบศีรษะมากกว่าเด็กผู้หญิงเล็กน้อยในช่วงวัยต่าง ๆ
  • ในครอบครัวที่พ่อแม่มีศีรษะโต โดยไม่ได้มีภาวะที่ผิดปกติใด ๆ ก็จะทำให้ลูกมีศีรษะโตกว่าค่าเฉลี่ยเด็กทั่วไป

 

วิธีวัดเส้นรอบศีรษะตั้งแต่แรกเกิด

  • คุณหมอจะวัดจากส่วนที่นูนที่สุดเหนือคิ้ว ไปยังส่วนที่นูนที่สุดของท้ายทอย วัดตั้งแต่แรกเกิด และเมื่อทารกอายุ 1, 2, 4, 6, 9, และ 12 เดือน
  • หรือตอนมารับวัคซีนตามอายุ โดยเฉลี่ยจะทำการวัดทุก ๆ 2-3 เดือน ในขวบปีแรก และทุกๆครึ่งปี ไปจนอายุ 6 ปี

 

ทารกหัวโต เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้ศีรษะโตผิดปกติจากโรค หรือความปกติอื่น ๆ ของสมอง เช่น

  • เนื้องอกในสมอง
  • น้ำในสมอง
  • เลือดออกในสมอง
  • เด็กหัวบาตร
  • กลุ่มอาการความผิดปกติต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณหมอวัดเส้นรอบศีรษะแล้วพบว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยอย่างชัดเจน จะทำการตรวจร่างกายเด็กโดยละเอียด

  • เน้นที่การตรวจระบบประสาท เพื่อหาความผิดปกติของสมอง ประเมินพัฒนาการ
  • หากสงสัยความผิดปกติ คุณหมอจะขอตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ultrasound, CT scan, MRI เพื่อหาความผิดปกติของสมอง

 

ทั้งนี้ แม่ ๆ ต้องสังเกตอาการผิดปกติของระบบประสาท หากมีอาการเหล่านี้ ต้องรีบพาลูกมาโรงพยาบาล

  1. ซึมผิดปกติ
  2. อาเจียนพุ่ง
  3. ความผิดปกติของลูกตาและการมองเห็น เช่น ตามัว เห็นภาพซ้อน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความฉลาดไม่ได้ขึ้้นอยู่กับขนาดของหัวลูก

คุณหมอยังยืนยันด้วยว่า ขนาดศีรษะที่ใหญ่ของทารก หรือลูกหัวโต ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า เด็กจะมีสมองเยอะและฉลาดกว่าคนอื่น เพราะความฉลาดขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เป็นเรื่องของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

 

พ่อแม่ต้องส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างฉลาดนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกควรนอนท่าไหน ปลอดภัย ไม่ไหลตาย

ไม่อยากให้ลูกพิการ ตั้งแต่ยังไม่คลอด แม่ท้องต้องเลี่ยง 5 เรื่องนี้

วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

 

บทความโดย

Tulya