โรคท้องร่วง อาการเป็นยังไง? วิธีดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคท้องร่วง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการท้องเสียบ่อย ๆ ถ่ายวันนึงหลาย ๆ รอบ อย่าชะล่าใจ เพราะนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคท้องร่วง ที่ไม่ควรปล่อยไว้ มาดูสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา โรคท้องร่วง ในเบื้องต้นกัน พร้อมวิธีป้องกัน ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคนี้

 

โรคท้องร่วง คืออะไร?

โรคท้องร่วง (Diarrhea) โรคท้องเสีย หรือ โรคอุจจาระร่วง หมายถึง อาการที่ถ่ายเหลวเกิน 3 ครั้งขึ้นไป หรือ ถ่ายเหลวเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด และในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปวดบิดในท้อง อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ร่วมด้วยเช่นกัน

 

ลักษณะของโรคท้องร่วง จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว หรือ ถ่ายเป็นน้ำ จำนวนหลายครั้ง ซึ่งอาการของโรคท้องเสีย สามารถหายได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน และสามารถหายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาแต่อย่างใด โดยโรคท้องร่วง สามารถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ ได้แก่ ชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง ดังนี้

ท้องร่วงแบบเฉียบพลัน

อาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้น และจะหายไปได้เองในระยะเวลาประมาณ 2 วัน ซึ่งท้องร่วงแบบเฉียบพลัน อาจเกิดจากการได้รับเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากอาหารเป็นพิษ และจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย หรือ ปรสิตที่เข้าสู่ร่างกาย โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ท้องร่วงเรื้อรัง

อาการท้องร่วงเรื้อรัง คือ อาการถ่ายเหลววันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลานาน มากกว่า 2-4 สัปดาห์ จะมีอาการท้องร่วงติดต่อกัน ซึ่งอาจมาจากผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้ โรคเซลิแอค คือ โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อกลูเตน ซึ่งคือโปรตีนที่มีอยู่ในพืชจำพวกข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี และข้าวไรย์ เป็นต้น เมื่อได้รับโปรตีนชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย จะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำลายผนังลำไส้ จนทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้

 

อาการของโรคท้องร่วง

โรคท้องร่วงสามารถมีอาการได้หลายอาการ โดยผู้ป่วยสามารถเป็นเพียงอาการเดียว หรือ หลายอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับการรับเชื้อ และร่างกายของผู้ป่วย โดยอาการที่สังเกตได้ มีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ท้องเสียเป็นน้ำ
  • ท้องเสียบ่อย
  • อุจจาระเป็นจำนวนมาก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้องบิด
  • ท้องอืด
  • ร่างกายสูญเสียน้ำ
  • เป็นไข้
  • เป็นตะคริว

ภาวะร่างกายขาดน้ำจากโรคท้องร่วง

อาการท้องเสีย ท้องร่วง เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดน้ำ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว
  • คอแห้ง กระหายน้ำ
  • วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ปากแห้ง

 

การวินิจฉัยโรคท้องร่วง

การวินิจฉัยโรคท้องร่วง แพทย์จะทำการทดสอบเพื่อหาสาเหตุ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การงดอาหารเพื่อทดสอบว่าแพ้อาหารหรือไม่
  • การทดสอบการอักเสบ และ ความผิดปกติของลำไส้
  • การตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อ
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อดูอาการเกี่ยวกับโรคลำไส้
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เพื่อดูอาการโรคลำไส้

 

วิธีดูแลรักษาโรคท้องร่วง

เบื้องต้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปจากการท้องเสีย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ หรือ ดื่มเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่ เพื่อช่วยชดเชยน้ำที่เสียไป แต่หากบางรายหากมีอาการรุนแรง อาจต้องได้รับน้ำเกลือ หรือ ต้องรักษาด้วยการประทานยาประเภทปฏิชีวนะ จำพวกยาแก้ท้องเสีย

ท้องเสียควรรับประทานอะไร?

  • อาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก
  • โยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติก เพื่อให้แบคทีเรียตัวดี ไปช่วยในเรื่องการทำงานของลำไส้
  • อาหารประเภทเบรทไดเอท เช่น กล้วย แอปเปิล
  • อาหารไขมันต่ำ อาหารย่อยง่าย
  • ดื่มน้ำมะพร้าว เพราะมีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม มีอาการท้องเสีย เมื่อมีอาการท้องเสียทำอย่างไร ท้องร่วงสิ่งที่ควรกินและไม่ควรกิน

 

การป้องกันโรคท้องร่วง

โรคท้องร่วง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • รับประทานอาหารที่สะอาด ล้างวัตถุดิบต่าง ๆ ก่อนนำมาประกอบอาหารทุกครั้ง
  • รับประทานอาหารที่สุก ใหม่ ไม่ค้างคืน
  • ละลายอาหารแช่แข็งทุกครั้ง ก่อนนำมาทำอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด

 

วิธีป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

หากมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย สามารถป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสบู่ให้สะอาด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคจากเรา ติดต่อสู่ผู้อื่น

 

โรคท้องร่วง อาจคล้ายกับอาการท้องเสียทั่ว ๆ ไป แต่ผู้ป่วยควรหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการท้องเสียมากเกินไป ถ่ายเป็นน้ำ หรือ ถ่ายจนรู้สึกอ่อนเพลีย ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสีย และช่วยตรวจวินิจฉัยโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาข้อมูลthaihealth

บทความที่น่าสนใจ

ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว เกิดจากสาเหตุใด ดูแลรักษายังไงดี

เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?

ท้องเสียเป็นอาการของการตั้งครรภ์ไหม ท้องเสียตอนท้องอ่อนๆ อันตรายหรือเปล่า?

บทความโดย

Waristha Chaithongdee