ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการ สาเหตุมาจากอะไร ป้องกันและรักษาอย่างไร

ท้องนอกมดลูก อาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร ป้องกันและรักษาอย่างไร ภาวะท้องนอกมดลูก เป็นอีกความกังวลของคุณแม่ท้องอ่อน ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิต อาการที่ว่าจะเป็นอย่างไร ใครบ้างที่มีความเสี่ยง ไปติดตามกันเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องนอกมดลูก คืออะไร ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุมาจากอะไร ป้องกันและรักษาอย่างไร ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะ ท้องนอกมดลูก คืออะไร ไปติดตามกันเลย

 

ท้องนอกมดลูกคืออะไร

ท้องนอกมดลูก คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้วนอกโพรงมดลูก ร้อยละ 95 เกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ นอกจากนั้นอาจพบได้ที่รังไข่ ปากมดลูก หรือในช่องท้อง และเนื่องจากตำแหน่งที่ฝังตัวนั้นไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตตามปกติ จึงทำให้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้

 

อาการท้องนอกมดลูกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่บริเวณท่อนำไข่ สันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากการอักเสบของท่อนำไข่ ส่งผลให้เกิดพังผืดขึ้นจนท่อนำไข่ตีบแคบ และผิดรูป ตัวอ่อนจึงไม่สามารถเคลื่อนผ่านไปได้ในเวลาที่เหมาะสม ทำให้เกิดการฝังตัวบริเวณดังกล่าว

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 38 ท้องนอกมดลูกคืออะไร อันตรายไหม

อาการท้องนอกมดลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการท้องนอกมดลูก เป็นสาเหตุทำให้มารดาเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด แต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก นอกจากนั้นยังอาจมีภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากตามมาในอนาคตอีกด้วย

 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการ ท้องนอกมดลูก

  • คนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • เคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน
  • เป็นผู้มีบุตรยาก
  • เคยผ่าตัดช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานมาก่อน
  • เป็นโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (ปวดท้องประจำเดือนเรื้อรัง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์)
  • เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณท่อนำไข่ (เช่น ทำหมัน)
  • สูบบุหรี่ หรือใช้ยาคุมฉุกเฉิน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 21 มดลูก จะเข้าอู่เมื่อไร ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องนอกมดลูกมีอาการอย่างไร

อาการที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ อาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน หากเลือดออกในท้องปริมาณมากก็อาจทำให้มีอาการปวดไหล่ร่วมด้วย มีอาการหน้ามืด อ่อนเพลียหรือเป็นลง มีเลือดออกกะปิดกะปรอยทางช่องคลอด และขาดประจำเดือน

 

1. อาการไม่ปรากฏเด่นชัด

ในระยะแรกของคนท้องนอกมดลูก มักไม่มีอาการสำคัญที่ปรากฏเด่นชัด แต่ส่วนใหญ่อาจมีอาการที่คล้ายสัญญาณการตั้งครรภ์ทั่วไป เช่น

  • ประจำเดือนไม่มา ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสัญญาณการตั้งครรภ์ที่สามารถพบได้ในผู้หญิงทั่วไป
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย ช่วงแรกของการตั้งครรภ์จะมีเลือดออก บางคนเข้าใจว่าแท้งลูก แต่จริงๆ แล้วผู้หญิงตั้งครรภ์ระยะแรกมักจะมีเลือดไหลออกมา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ
  • เจ็บหน้าอก คล้ายมีประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนขาด ก็อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้การเจ็บหน้าอกสามารถบอกโรคได้หลายสาเหตุไม่ใช่คือการตั้งครรภ์อย่างเดียว
  • คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ อาการทั่วไปของคนท้อง แต่บางคนอาจจะไม่มีอาการนี้เลยก็ได้

 

2. อาการปรากฏเด่นชัด

สัญญาณที่ปรากฏเด่นชัดของอาการท้องนอกมดลูกจะแสดงออกมากขึ้นหลังจากข้อ 1 ซึ่งเป็นการท้องนอกมดลูกที่มีอาการป่วยรุนแรงขึ้น และผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในมดลูกอาจก่อความเสียหายแก่ท่อนำไข่ หรือท่อนำไข่ฉีกขาด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หากเริ่มมีอาการปวดรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะคนท้องอาจปวดเชิงกรานในลักษณะปวดเมื่อยแค่เพียงระยะๆ เท่านั้น
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดจำนวนมาก คล้ายอาการแท้งลูก
  • ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดบริเวรทวารหนัก เนื่องจากกล้ามเนื้ออักเสบอย่างรุนแรง
  • หน้ามืดเป็นลม วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • หากท้องมดลุกโดยไม่รู้ตัว อาจเกิดภาวะช็อคได้ ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วนก่อนมีอัตรายถึงชีวิต

 

ท้องนอกมดลูกพบได้บ่อยขนาดไหน

การท้องนอกมดลูกเกิดขึ้นไม่บ่อย อาจพบในผู้หญิงร้อยละ 1 การที่ท่อรังไข่อุดตันอาจเกิดจากการติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดการท้องนอกมดลูก

หากคุณกำลังวางแผนจะมีลูกแต่กำลังเป็นโรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ ทางออกที่ดีที่สุดคือ รักษาตัวให้หายดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยพยายามมีลูก

 

 

 

อาการท้องนอกมดลูก

 

 

 

การวินิจฉัยอาการท้องนอกมดลูก

ก่อนอื่นแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย ถึงการมีประจำเดือนและตรวจร่างกายบริเวณหน้าท้องร่วมกับการตรวจภายใน  จากนั้นจะทำการตรวจเลือด พร้อมกับทำการตรวจอัลตราซาวด์ โดยมีรายละเอียดการตรวจทดสอบดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. การตรวจภายใน (Pelvic Exam)

แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจเพื่อตรวจเช็คบริเวณที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือบริเวณที่อาจพบความผิดปกติ เช่น ท่อนำไข่ หรือรังไข่ โดยการใช้เครื่องมือเพื่อส่องตรวจภายในผ่านทางช่องคลอด

 

2. ตรวจเลือดหาฮอร์โมนและอัลตราซาวด์

ขั้นตอนนี้คือการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (Human Chorionic Gonadotropin: hCG) เมื่อตรวจพบฮอร์โมนที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์ด้วยการใช้เครื่องมือตรวจบริเวณหน้าท้อง แล้วฉายภาพภายในช่องท้องเพื่อหาตัวอ่อนทารกที่ฝังตัวอยู่ในมดลูก

 

3. ตรวจโดยเครื่องมืออัลตราซาวด์

เครื่องมือแบบชนิดสอดเข้าไปภายในช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound) เพื่อหาตัวอ่อน หากตรวจไม่พบหรือไม่มีร่องรอยของตัวอ่อน แพทย์อาจวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยกำลังท้องนอกมดลูก

 

4. ตรวจไม่พบตัวอ่อน

อาจเป็นการตั้งครรภ์ในระยะแรกเริ่ม ตัวอ่อนจึงมีขนาดเล็กมาก หรืออาจเกิดการแท้งลูก ดังนั้น หากตรวจไม่พบตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก หรือบริเวณปีกมดลูก อาจมีการบวมและเนื้อเยื่อ หรือมีลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเกิดจากตัวอ่อนไปฝังตัวแล้วสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อในบริเวณนั้น

 

5. มีอาการตกเลือด

เนื่องจากมีการตรวจด้วยวิธีการต่างๆ แล้วยังไม่ปรากฏว่าผู้ป่วยท้องนอกมดลูกหรือไม่ แต่กลับมฃีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดปริมาณมาก แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อตรวจดูบริเวณท่อนำไข่และอวัยวะที่ใกล้เคียง และทำการรักษาเนื้อเยื่อในบริเวณต่อไป

 

 

แพทย์จะรักษาอาการท้องนอกมดลูกอย่างไร

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้รับการวินิจฉัยว่า ท้องนอกมดลูก ควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพและการเจริญพันธุ์ในอนาคต ซึ่งตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูกจะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกได้อีก โดยแพทย์จะมีวิธีการรักษาคุณแม่ที่ท้องนอกมดลูก ดังนี้

 

1. การใช้ยาเพื่อรักษาคนไข้

ขั้นแรกในการรักษา แพทย์จะจ่ายยาเพื่อรักษาตามอาการ เช่น ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) เป็นเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวกลายเป็นเนื้องอก และพัฒนาต่อไปเป็นเนื้อร้าย ซึ่งแพทย์อาจฉีดยานี้ให้ผู้ป่วยแล้วตรวจเลือดติดตามอาการเพื่อดูผลการรักษา ยาตัวนี้จะมีผลข้างเคียงคล้ายอาการแท้งลูก คือ ชาหรือปวดเกร็งหน้าท้อง มีเลือดและเนื้อเยื่อไหลออกจากช่องคลอด แต่ทั้งนี้คุณแม่อาจจะยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เป็นเวลาอีกหลายเดือนหลังการใช้ยา

 

2. การผ่าตัด

หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น แพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparotomy) โดยสร้างรูเล็กๆ แล้วนำเครื่องมือชนิดพิเศษสอดเข้าไปในรู ซึ่งคือ กล้องขยายขนาดเล็ก แพทย์สามารถมองเห็นส่วนที่ต้องการผ่าตัดจากกล้อง แล้วนำตัวอ่อนที่ฝังตัวนอกมดลูกออกมา จากนั้นแพทย์จะรักษาซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับความเสียหาย หากเสียหายมาก แพทย์อาจต้องผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไปด้วย

 

3. การรักษาภาวะแทรกซ้อน

นอกจากการรักษาภาวะแท้งนอกมดลุกแล้ว อาจจะต้องรักษาอาการแทรกซ้อนจากการท้องนอกมดลูกร่วมด้วย เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก ซึ่งต้องให้เลือดทดแทน หรือจะเป็นอาการอักเสบติดเชื้อภายในมดลูก คนไข้อาจต้องได้รับยาลดการอักเสบและยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

 

อาการแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก

ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก จะไม่เกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยท้องนอกมดลูก หรืออาจได้รับการตรวจวินิจฉัยช้าเกินไป จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เนื่องจากท่อนำไข่ และอวัยวะในบริเวณที่ไข่ฝังตัวอาจเกิดความเสียหาย ฉีกขาด หรือเกิดการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยเกิดการตกเลือดได้ ทั้งนี้ยังนำไปสู่ ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated Intravascular Coagulopathy: DIC) จนเกิดอาการช็อคจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้

 

ท้องนอกมดลูกป้องกันได้อย่างไร

  1. ระวังโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากติดเชื้อให้รีบไปพบแพทย์และรักษาโรคให้หายขาด หากซื้อยามาทานเองบ่อยครั้งมักไม่เพียงพอ และอาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อเรื้อรังและทำให้เกิดพังผืดอุ้งเชิงกรานได้
  2. หากเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
  3. งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง

 

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนก็อาจมีอาการปวดเสียวท้องน้อย คล้ายกับช่วงมีประจำเดือน ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว ก็ยังถือว่าปกติ แต่หากเริ่มปวดท้องมาก หน้าซีด เป็นลม ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะนั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังมีอาการท้องน้องมดลูกอยู่ก็ได้

 

บทความที่น่าสนใจ :
ไตรเฟอร์ดีน 150 (Triferdine 150) คือยาอะไร ทำไมต้องกินตอนตั้งครรภ์
ท้องแก่ นอนไม่หลับ ทำไมยิ่งใกล้คลอดยิ่งนอนไม่หลับ
วิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร ถึงจะรู้ว่าลูกปลอดภัย ไม่เสียชีวิตในครรภ์

ที่มา1, 2, 3

บทความโดย

P.Veerasedtakul