หลังจากห่างหายไปนาน ในที่สุดกิจกรรมดนตรีสดก็กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นการยกขบวนกันมาถล่มประเทศไทย และดูเหมือนว่าพร้อมใจยกกันมาไม่หยุด ทำเอาแฟนคลับต่างต้องหาเงินมาเสียทรัพย์ซื้อความสุขรัว ๆ แต่ถึงแม้จะได้เจอศิลปินคนโปรดไปแล้ว แต่หลังออกจากคอนเสิร์ตกลับมีอาการซึมเศร้า หรือ Post Concert Depression วันนี้ theAsianparent จะพาไปรู้จักกับอาการนี้ รวมไปถึงวิธีเช็กลิสต์ตัวเอง เพื่อเอาตัวรอดกันเถอะ
Post Concert Depression คืออะไร ?
PCD หรือ กลุ่มของอาการซึมเศร้าหลังจากจบคอนเสิร์ต ที่อาจจะกินเวลาตั้งแต่หลังจบคอนเสิร์ต 2 ชั่วโมงเป็นต้นไป หรือลากยาวไปหลายเดือน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถมีอาการได้ เป็นหนึ่งในอาการที่คอนเสิร์ตสดถูกหยุดไปนาน และเป็นการอธิบายความเศร้าโศกที่เกิดขึ้น หลังจากความตื่นเต้นของคอนเสิร์ตที่ไม่ได้เจอมานาน
PCD มีสาเหตุมาจากอะไร ?
โดยสาเหตุของการเกิด PCD ก็คือ หลังจากที่เราดูคอนเสิร์ตของนักร้องคนโปรด ร่างกายจะมีความสุขมากสุด ๆ พร้อมหลั่งสารแห่งความสุขต่าง ๆ ออกมาอย่างมาก จนถึงขั้นท่วมท้นในระยะเวลาสั้น ๆ ส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน พอจบคอนเสิร์ตและรู้ตัวว่าความสุขที่ท่วมท้นเหล่านั้นจะหายไป และเราต้องกลับไปใช้ชีวิตปกติ ก็เลยทำให้เกิดอาการกลุ่มของ PCD ซึ่งหลังจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน เพราะการลดลงของสารแห่งความสุข ทำให้เกิดกลุ่มอาการซึมเศร้าได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ชวนดู Street Man Fighter ความเดือดของ ‘ทีมนักเต้นชาย’ รายการใหม่ของ Mnet
PCD รู้สึกเหมือนการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่
ไม่น่าแปลกใจ ถ้าจะบอกว่าการก้าวข้ามผ่านอาการ PCD ก็มีขั้นตอนเหมือนกับการก้าวข้ามผ่านการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ อย่างเช่น การเลิกกับคนรักที่คบกันมาเป็นเวลานาน การสูญเสียสัตว์เลี้ยงที่รัก หรือการสูญเสียคนในครอบครัวกันเลยทีเดียว ลองสังเกตตัวเอง ว่าเคยมีอาการแบบนี้ไหม?
- เปิดเพลงเดิมหรือเพลงจากศิลปินโปรดฟังวน ๆ ซ้ำ ๆ อยู่แบบนั้น
- นึกถึงภาพในคอนเสิร์ตบ่อยจนเกินไป
- ดูวิดีโอและภาพถ่ายตอนไปคอนเสิร์ตได้หลายรอบไม่เบื่อ
- ใช้สินค้าหรือสิ่งของที่ได้มาจากคอนเสิร์ตเป็นเดือน ๆ
- หยุดหาคอนเสิร์ตที่อื่นไม่ได้ อยากไปดูอีก
9 ขั้นตอนของภาวะซึมเศร้าหลังคอนเสิร์ต
-
ระยะที่หนึ่ง : ความอิ่มอกอิ่มใจ
สิ่งที่หลงเหลืออยู่ในความรู้สึก ที่อาจจะเป็นอาการร้องไห้กับเพลงโปรดของคุณ หรือระหว่างที่ศิลปินโปรดกำลังพูดอยู่ในคอนเสิร์ต อาจจะกำลังทำให้คุณกำลังอิ่มเอมใจอยู่ ไม่ว่าจะระหว่างงานคอนเสิร์ต หรือหลังคอนเสิร์ต
-
ระยะที่สอง : การสะท้อน
การแสดงเพื่อที่จะสะท้อนความรู้สึกให้คนอื่นเห็น ไม่ว่าจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวกับเพื่อน หรืออิ่มเอมใจอย่างเงียบ ๆ ก็เป็นหนึ่งในการสะท้อน รวมไปถึงการรีวิวว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง ก็เป็นอีกหนึ่งในอาการที่ทำให้เราอาจจะซึมเศร้าหลังจากจบคอนเสิร์ตด้วยก็ได้
-
ระยะที่สาม : การตระหนักรู้
เพราะการรอคอยของคุณนั้น เดินมาจนถึงฝั่งฝันแล้ว การได้อยู่ในงานคอนเสิร์ตอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนฝัน หรือไม่น่าเชื่อก็จริง แต่เมื่อได้เข้าไปแล้วนั้น การตระหนักรู้ทางกายและใจก็ทำให้คุณเริ่มที่จะเสียดายมันอีกครั้ง เมื่อคุณคิดได้ว่าหลังคอนเสิร์ตจบ เราจะไม่ได้เจอศิลปินที่รักอีกแล้ว แม้ว่าวันพรุ่งนี้คุณจะยังมีความสุขอยู่ก็ตาม แต่คุณจะเริ่มเศร้าและไม่อยากให้เวลาแห่งความสุขที่ได้เจอศิลปินจบไป
-
ระยะที่สี่ : ความเป็นจริง
หลังจากเดินออกจากคอนเสิร์ต และต้องเริ่มกิจวัตรใหม่ที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน คุณกลับรู้สึกว่าที่เคยชินจะต้องทำนั้น มันแย่และด้อยกว่าการได้เจอศิลปินเมื่อวันก่อนเสียอีก ซึ่งสิ่งนั้นอาจจะทำให้คุณยังไม่มูฟออน และรู้สึกหมดพลังในการเคลื่อนไหว ฝักใฝ่แต่การไปคอนเสิร์ตไม่หยุด
-
ระยะที่ห้า : รู้สึกถูกขับไล่
เมื่อเวลาผ่านไป การรำลึกถึงความทรงจำที่มีค่า อย่างการคิดถึงบรรยากาศคอนเสิร์ตนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งการกระทำที่ชาว PCD ทำกันบ่อย และสิ่งสำคัญของคนกลุ่มนี้ มักจะมีการเล่าสู่กันฟังให้กับผู้ที่ไม่ได้ไปร่วมคอนเสิร์ตด้วย ซึ่งเมื่อมีการตอบสนองถึงงานคอนเสิร์ตนั้นเพียงแค่ครึ่งเดียว กลับทำให้คนนั้นรู้สึกว่า “อีกฝ่ายไม่เข้าใจ มันเป็นมากกว่าแค่คอนเสิร์ต” และอาการเหล่านี้มักทำให้คุณจมอยู่กับตัวเอง ประหนึ่งว่าไม่มีใครเข้าใจ ซึ่งอาการเหล่านี้นำไปสู่ข้อต่อไป
-
ระยะที่หก : สะกดรอยตาม
ในกรณีที่ร้ายแรงสุด ๆ แฟนคลับบางคนอาจจะกลายร่างเป็น ซาแซงแฟน (ชื่อที่ไว้ใช้เรียกแฟนคลับที่ทำตัวไม่น่ารัก) ซึ่งอาจจะมีการตามหาคนกลุ่มเดียวกันผ่านทางโซเชียลมีเดีย เพื่อไปสะกดรอยตาม เหมือนอย่างที่เห็นว่ามีบางคนจองโรงแรมเดียวกับศิลปิน เพื่อที่จะได้เจอกันตามสถานที่ดังกล่าว หนักเข้าอาจจะมีการเดินทางตามไปทุกที่ ที่ศิลปินของคุณเดินทางไป และเมื่อได้ทำแบบนั้นกลับกลายเป็นสิ่งที่เยียวยาจิตใจ และได้เจอกับศิลปินคนโปรดอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดความเสียใจขึ้นได้ หาศิลปินที่รักรู้สึกไม่ดีและพูดไม่ดีกลับคืน จากความรักจะกลายเป็นความแค้น และกลายเป็นซาแซงแฟนแบบสมบูรณ์
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจ็คสัน หวัง กับ เส้นทางความสำเร็จของ TEAM WANG ที่ปังเกินคาด!
-
ระยะที่เจ็ด : ขาดการควบคุมแรงกระตุ้น
เมื่อเกิดการสะกดรอยตามแล้ว มีแฟนคลับบางคนขาดความยั้งคิด หรือที่เรียกว่าเมื่อเกิดการรวมกลุ่มกัน ของคนที่มีความคิดคล้ายคลึงกัน มักนำไปสู่เหตุการณ์ที่เกินจะควบคุมได้ สังเกตได้จากการพยายามเข้าหาศิลปินที่มากเกินไป และไม่ได้คิดว่าเรื่องที่ตนเองหรือกลุ่มทำนั้นเป็นเรื่องที่ผิด กลับกันกลับรู้สึกว่าสิ่งที่ทำไปแล้วมันดี ประหนึ่งคนที่เสพติดการใกล้ชิดศิลปินไปแล้ว
-
ระยะที่แปด : การยอมรับ
ความรักในศิลปินและทำสิ่งที่ผิด ก็เหมือนการเสพติด ดังนั้นการที่จะปรับเปลี่ยนอาการเหล่านี้ได้ ต้องเริ่มต้นจากการยอมรับก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการได้เจอกันเป็นครั้งคราว หรือการได้เจอเฉพาะครั้งที่มีเวิลด์ทัวร์ ที่เราจะได้ไปเจอศิลปินคนโปรด เพียงแค่ระหว่างการจัดแสดงคอนเสิร์ต โดยที่ไม่ต้องสะกดรอยตามนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้หรือไม่ ถ้าหากตนเองรู้สึกว่าไม่ได้ ไม่ไหว ให้ปรับจากการสะกดรอย ไปเป็นเพียงแค่การให้กำลังใจที่อื่น ที่ไม่ใช่การติดตามในลักษณะคุกคาม นั่นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
-
ระยะที่เก้า : การใช้ชีวิต
อย่างที่หลายคนเข้าใจกันค่ะ การที่เราได้เจอศิลปินคนโปรด ก็เป็นเหมือนยาใจในการใช้ชีวิตจริง ๆ สำหรับคนที่ไม่ได้มีกำลังมากพอ ที่จะบินตามไปทุกที่ที่จัดงานคอนเสิร์ต อาจจะต้องตัดใจและยอมรับกับตัวเองก่อนค่ะ ว่าเรายังสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม หากคิดถึงก็แค่ดูรูป หรือนึกถึงวันเก่า ๆ นั้น จนกว่าจะมีโอกาสได้เจอกันในครั้งหน้า
สรุป PCD อันตรายไหม?
บอกตรงนี้เลย ว่าการที่ร่างกายเราผลิตสารแห่งความสุขต่าง ๆ ออกมาสูงมาก ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือกะทันหัน ก็มีความเสี่ยงทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้เหมือนกัน และถ้ารอดมาได้และมาเจอกับอาการ Post Concert Depression แทนก็บอกเลยว่าไม่อันตราย เพียงแต่อาจจะต้องเข้าใจในตัวเอง และยอมรับกับมันให้ได้ก็เท่านั้น แต่ถ้าคิดว่ามันทำให้ใช้ชีวิตลำบาก ทางที่ดีก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างปลอดภัย และมีแรงไปดูศิลปินที่เรารักอีกครั้งในอนาคต!
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
Polycat กับตำนานเพลงภาษาสวย เจ้าของผลงานการขับกล่อมอย่างสวยงาม
เพลงอกหักทิพย์ แค่ได้ฟังเพลงก็เศร้าไม่มีสาเหตุ ฟังแล้วช้ำใจ ทิชชู่ต้องเข้า!
ที่มา : altpress, alligator, mangozero