ทารกในครรภ์แต่ละคนนั้น อาจจะมีขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน วันนี้เรามี ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ โดยเฉลี่ย ตลอด 9 เดือนในท้องแม่ โดยเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 9 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป น้ํา หนัก ลูก ใน ครรภ์ 8 เดือน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ผลการตั้งครรภ์ชัดเจนมากกว่าในช่วงแรกนั่นเอง
ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ในแต่ละสัปดาห์
เรามีตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ มาบอก ว่าในแต่ละสัปดาห์ เป็นอย่างไรบ้างว่าลูกของเราเเข็งเเรงดีไหม และจะต้องดูอย่างไร
- ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์
- น้ำหนักทารกในครรภ์ จะทราบได้อย่างไร
- ดูจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่
- วัดความสูงยอดมดลูก
- อัลตร้าซาวด์
มาดูรายละเอียดของตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ เพิ่มเติมได้ที่นี้ เลื่อนลงมาเลย
ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์
อายุครรภ์ | ความยาว | น้ำหนัก |
สัปดาห์ที่ 1 | – | – |
สัปดาห์ที่ 2 | – | – |
สัปดาห์ที่ 3 | – | – |
สัปดาห์ที่ 4 | – | – |
สัปดาห์ที่ 5 | – | – |
สัปดาห์ที่ 6 | – | – |
สัปดาห์ที่ 7 | – | – |
สัปดาห์ที่ 8 | – | – |
สัปดาห์ที่ 9 | 2.0 ซ.ม. | 5 กรัม |
สัปดาห์ที่ 10 | 2.5 ซ.ม. | 7 กรัม |
สัปดาห์ที่ 11 | 3.8 ซ.ม. | 10 กรัม |
สัปดาห์ที่ 12 | 5.0 ซ.ม. | 15 กรัม |
สัปดาห์ที่ 13 | 7.6 ซ.ม. | 28 กรัม |
สัปดาห์ที่ 14 | 8.8 ซ.ม. | 42 กรัม |
สัปดาห์ที่ 15 | 10.1 ซ.ม. | 70 กรัม |
สัปดาห์ที่ 16 | 11.4 ซ.ม. | 100 กรัม |
สัปดาห์ที่ 17 | 12.7 ซ.ม. | 140 กรัม |
สัปดาห์ที่ 18 | 14.0 ซ.ม. | 190 กรัม |
สัปดาห์ที่ 19 | 15.2 ซ.ม. | 240 กรัม |
สัปดาห์ที่ 20 | 16.5 ซ.ม. | 297 กรัม |
สัปดาห์ที่ 21 | 26.6 ซ.ม. | 340 กรัม |
สัปดาห์ที่ 22 | 27.7 ซ.ม. | 355 กรัม |
สัปดาห์ที่ 23 | 27.9 ซ.ม. | 370 กรัม |
สัปดาห์ที่ 24 | 28.0 ซ.ม. | 450 กรัม |
สัปดาห์ที่ 25 | 34.2 ซ.ม. | 680 กรัม |
สัปดาห์ที่ 26 | 35.5 ซ.ม. | 755 กรัม |
สัปดาห์ที่ 27 | 36.5 ซ.ม. | 900 กรัม |
สัปดาห์ที่ 28 | 37.3 ซ.ม. | 1,020 กรัม |
สัปดาห์ที่ 29 | 38.1 ซ.ม. | 1,133 กรัม |
สัปดาห์ที่ 30 | 39.8 ซ.ม. | 1,360 กรัม |
สัปดาห์ที่ 31 | 41.0 ซ.ม. | 1,511 กรัม |
สัปดาห์ที่ 32 | 42.4 ซ.ม. | 1,700 กรัม |
สัปดาห์ที่ 33 | 43.1 ซ.ม. | 1,814 กรัม |
สัปดาห์ที่ 34 | 45.0 ซ.ม. | 2,154 กรัม |
สัปดาห์ที่ 35 | 45.7 ซ.ม. | 2,381 กรัม |
สัปดาห์ที่ 36 | 47.0 ซ.ม. | 2,721 กรัม |
สัปดาห์ที่ 37 | 48.2 ซ.ม. | 2,872 กรัม |
สัปดาห์ที่ 38 | 49.5 ซ.ม. | 3,084 กรัม |
สัปดาห์ที่ 39 | 50.8 ซ.ม. | 3,175 กรัม |
สัปดาห์ที่ 40 | 51.2 ซ.ม. | 3,400 กรัม |
น้ำหนักของลูกน้อยนั้นเเต่ละสัปดาห์มีความแตกต่างกันออกไป เช่น
น้ำหนักทารกในครรภ์ 26 สัปดาห์นั้นจะน้ำหนัก 755 กรัม
น้ําหนักลูกในครรภ์ 8 เดือน สัปดาห์นั้นจะน้ำหนัก 1,700 กรัม
น้ําหนักทารกในครรภ์ 34 สัปดาห์นั้นจะน้ำหนัก 2,154 กรัม
น้ํา หนัก ทารกในครรภ์ 37 สัปดาห์นั้นจะน้ำหนัก 2,872 กรัม
เพื่อให้เห็นความแตกต่างแต่ละสัปดาห์ และทาน อารหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ ด้วยนะคะ เพื่อให้น้ำหนักลูกเพิ่มขึ้น
น้ําหนักทารกในครรภ์ จะทราบได้อย่างไร ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์
วิธีคํานวณน้ำหนักทารกในครรภ์ ทราบถึงค่าเฉลี่ย น้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ กันไปแล้ว ต่อไปเราจะมาดูกันว่า มีวิธีใดที่จะทำให้แม่ท้องได้ทราบขนาดและน้ำหนักของทารกในครรภ์กันบ้าง
ดูจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่
สำหรับการตั้งครรภ์ปกติ น้ำหนักแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังอายุครรภ์ 3 เดือน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม คุณหมอจะทำการประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์ แล้วดูว่าทารกตัวเล็กหรือตัวใหญ่ได้จากน้ำหนักตัวแม่ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย
วัดความสูงยอดมดลูก
วิธีวัดความสูงยอดมดลูก ที่นิยมใช้กันนั้นมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้
1. ใช้สัดส่วนของยอดมดลูก กับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์
วิธีวัดความสูงยอดมดลูกโดยการใช้สัดส่วนของยอดมดลูกกับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ ทำได้โดยแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกหัวหน่าวเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน และแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกลิ้นปี่เป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ซึ่งความสูงของยอดมดลูกแต่ละช่วงอายุครรภ์ จะมีความสัมพันธ์กันดังนี้
- อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว
- อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว
- อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ
- อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย
- อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 1/4 เหนือระดับสะดือ
- อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 2/4 เหนือระดับสะดือ
- อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 3/4 เหนือระดับสะดือ
2. วิธีวัดความสูงยอดมดลูกโดยใช้สายวัด
การวัดระดับยอดมดลูกโดยใช้สายวัดทำได้โดยการวัดระยะจากรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวไปจนถึงยอดมดลูก โดยแนบตามส่วนโค้งของมดลูก ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ 18–30 สัปดาห์ ระยะที่วัดได้เป็นเซนติเมตร จะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น หากวัดได้ 26 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับอายุครรภ์ 26 สัปดาห์ นั่นเอง
นอกจากการวัดขนาดของมดลูกสามารถคะเนอายุครรภ์ได้แล้ว ยังสามารถบอกได้อีกด้วยว่าสุขภาพของทารกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าหากว่าระดับยอดมดลูกไม่สัมพันธ์ตามที่กล่าวมา ก็อาจบ่งบอกได้ว่าอาจมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ หรือลูกตัวใหญ่เกินเกณฑ์ได้
อัลตร้าซาวด์
เป็นวิธีที่ประเมินขนาดและน้ำหนักของทารกในครรภ์ ที่ค่อนข้างแม่นยำกว่าวิธีอื่น คุณพ่อคุณแม่จะสามารถมองเห็นความสมบูรณ์ หรือเช็กความผิดปกติของลูกในครรภ์ รวมถึงทราบเพศลูกจากการอัลตร้าซาวด์นี้ได้ด้วย
ได้ทราบถึงค่าเฉลี่ย น้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ พร้อมวิธีการตรวจสอบกันไปแล้ว ระหว่างนี้ แม่ท้องก็อย่าลืมดูแลสุขภาพ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่ และลูกในครรภ์นะ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
วิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร ถึงจะรู้ว่าลูกปลอดภัย ไม่เสียชีวิตในครรภ์
ตกเลือดตอนท้องอ่อน เรื่องเสี่ยงแท้ง ที่แม่ท้องต้องระวัง
วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ ช่วยลูกคลอดมาแล้วเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี มีความสุข