คลอดลูกเจ็บไหม คลอดยังไงไม่ให้เจ็บ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

ก่อนคลอดต้องรู้นะแม่ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บมาก

คลอดลูกเจ็บไหม ก่อนคลอดต้องเตรียมตัวอย่างไร คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด และเคล็ดลับคลอดง่าย ทรมานไม่นาน

 

คลอดลูกเจ็บไหม คลอดธรรมชาติเจ็บไหม

ความเจ็บปวดขณะคลอดแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • อาการปวดท้องในระยะเตรียมคลอด เกิดจากมดลูกบีบตัว ทำให้ขาดเลือดหล่อเลี้ยงในมดลูก
  • ความรู้สึกเจ็บในช่วงคลอดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อฝีเย็บขยายตัวเพื่อเปิดทางให้ทารกแทรกตัวออกมา

 

แม่คลอดธรรมชาติจะมีสาเหตุความเจ็บปวด รู้สึกไม่สบายตัวจากภายในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น

  • ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)
  • ฮอร์โมน catecholamine
  • อัตราการเต้นหัวใจสูง
  • ความดันเลือดสูง
  • เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจและมดลูกลดลง

 

วิธีคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ

คุณแม่คลอดธรรมชาติ มักจะเจ็บปวดขณะคลอดลูกอยู่แล้ว แม่ท้องบางคนเจ็บคลอดมาก แม่ท้องบางคนเจ็บแป๊บเดียว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายขณะตั้งครรภ์ ความพร้อมของแม่ท้องแต่ละคนที่แตกต่างกันไป แถมแม่ท้องแรก ยังรู้สึกกลัวเจ็บ กลัวการคลอดธรรมชาติ ไม่ชิลล์เหมือนแม่ท้องที่ผ่านการคลอดมาแล้ว สำหรับคุณแม่ท้องแรกหรือคุณแม่มือใหม่ มี 2 อย่างหลัก ๆ ที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมคือ

 

  1. เตรียมกาย ควรออกกำลังกายง่าย ๆ เบา ๆ อย่างสม่ำเสมอขณะตั้งครรภ์ เช่น โยคะ หรือแค่เดินออกกำลังกาย เพื่อสร้างความยืดหยุ่นแข็งแรงของงร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับการคลอด ได้แก่ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กระดูกสะโพก หลังและขา
  2. เตรียมใจ การเจ็บท้องคลอดลูกเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เปรียบเสมือนบททดสอบที่จะพิสูจน์ว่าพร้อมที่จะเป็นแม่คนแล้วหรือยัง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

 

คลอด ลูก เจ็บ ไหม คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ คลอดลูกเจ็บไหม ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

 

คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บด้วยการฝึก 4 ขั้นตอนการหายใจ

นอกจากการเตรียมตัวและเตรียมใจแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญที่แม่ต้องฝึก นั่นก็คือ วิธีการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

 

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ระยะที่ 1 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 เซนติเมตร

ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด ให้หายใจเข้าทางปากหรือจมูกก็ได้อย่างช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้ทรวงอก นับจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 (จะหายใจได้ประมาณ 6 – 9 ครั้ง/นาที) อัตราการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นะคะ ตลอดระยะเวลาที่เจ็บท้อง พอมดลูกบีบตัวหดเกร็งก็ให้หายใจเข้าลึกและพอมดลูกคลายตัว และผ่อนอีกหนึ่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าในเวลานั้นคุณแม่ไม่สามารถใช้การหายใจวิธีนี้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดได้ ให้เปลี่ยนวิธีการหายใจเข้าทางจมูกหรือปากก็ได้ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางจมูกหรือปากช้า ๆ โดยจำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 6 – 9 ครั้ง / นาที

 

ระยะที่ 2 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 – 7 เซนติเมตร

ในระยะนี้ปากมดลูกเปิดใกล้จะหมดแล้ว การบีบตัวของมดลูกจะค่อย ๆ บีบตัวจากน้อยไปจนถึงบีบตัวเต็มที่ และมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรง หลังจากนั้นมดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวเต็มที่ที่สุด ในระยะนี้ให้หายใจเข้า – ออกช้า ๆ ควบคู่ไปกับการบีบตัวของมดลูกแล้วค่อย ๆ หายใจเร็วขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก และเมื่อมดลูกเริ่มคลายตัวลงก็ให้หายใจช้าลง จนช้าที่สุดเมื่อมดลูกเปิดหมด

 

การหายใจในตอนนี้จะเป็นลักษณะเร็ว ตื้น วิธีปฏิบัติ คือ

  1. เมื่อเริ่มเจ็บท้องให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง แล้วหายใจเข้า ออก ผ่านปากและจมูกแบบเบา ๆ ตื้น ๆ เร็ว ๆ จำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที
  2. เมื่ออาการเจ็บท้องขณะเบ่งคลอดทุเลาลง ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง

 

ระยะที่ 3 : ระยะปากมดลูกเปิดหมด 7 – 9 เซนติเมตร

ในช่วงนี้ปากมดลูกเปิดกว้างเต็มที่เป็นระยะใกล้คลอดและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุด จนไม่สามารถใช้วิธีการหายใจตามที่กล่าวมาใน 2 ระยะแรก ขอให้คุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำใจให้เป็นสมาธิจากความเจ็วปวดไปอยู่ที่ลมหายใจ วิธีปฏิบัติ คือ

  1. เมื่อมดลูกเริ่มหดตัวให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง เพื่อล้างปอด
  2. ต่อจากนั้นให้หายใจแบบตื้น เร็ว เหมือนหายใจหอบค่ะ 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกัน ต่อจากนั้น หายใจออกและเป่าลมออกยาว ๆ 1 ครั้ง ในอัตราการหายเข้าเท่ากับหายใจออกทุกครั้ง ทำสลับกันไป จำนวนของการหายใจอยู่ที่ประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

 

ระยะที่ 4 : ระยะเบ่งคลอด

  1. ในระยะนี้คุณแม่ควรอยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะและไหล่ยกขึ้น งอเข่า แยกมือไว้ใต้เข่า ดึงต้นขา ให้เข่าชิดหน้าท้องให้มากที่สุด จากนั้นให้หายใจเข้า – ออก ในลักษณะพีระมิด
  2. การหายใจลักษณะพีระมิด ทำได้ดังนี้
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ คือ หายใจเข้า / หายใจออก,แล้วเป่า ไปจนถึงหายใจเข้า / หายใจออก 5 ครั้งแล้วเป่า จากนั้นให้ลดจำนวนครั้งการหายใจเข้า – ออก แล้วเป่ามาเป็น 5, 4, 3, 2, 1 จนเมื่ออาการเจ็บทุเลาลง

 

ให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ เพื่อล้างปอด 1 – 2 ครั้ง และเริ่มต้นใหม่เมื่อมดลูกบีบตัวใหม่ การหายใจในช่วงที่มีลมเบ่งคลอด ให้หายใจเข้าให้เต็มที่ให้ลึกที่สุดทั้งทางปากและทางจมูก แล้วกลั้นหายใจไว้ปิดปากให้แน่น ออกแรงเบ่งไปบริเวณช่องคลอดพร้อมกับหายใจออก ทำหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน

 

การหายใจในระยะเบ่งคลอดทั้ง 4 วิธีนี้ ควรฝึกทำทุกวันในช่วงไตรมาสที่ 2 เพื่อให้เกิดความชำนาญ การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เมื่อถึงเวลาจริงคุณแม่จะได้ใช้ควบคุมตนเองได้เมื่อเวลาเจ็บครรภ์คลอด

 

ส่วนการหายใจในระยะเบ่งคลอดนั้น การฝึกหายใจไม่ต้องออกแรงมาก เพราะจะเกิดแรงดันต่อทารกในท้อง การฝึกหายใจให้คุณแม่สมมติว่าตนเองกำลังอยู่ในระยะเจ็บครรภ์ที่มีการบีบตัวของมดลูกตั้งแต่ ช่วงที่มดลูกเริ่มบีบตัว มดลูกบีบตัวเต็มที่ จนมดลูกเริ่มคลายตัว และคล้ายตัวได้ทั้งหมด ซึ่งจะกินเวลาครั้งละประมาณ 1 นาที คุณแม่จะรู้สึกหายเจ็บไปได้บ้าง ได้พักประมาณ 5 – 10 นาที มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวครั้งใหม่เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 เคล็ดลับช่วยคุณแม่คลอดง่ายขึ้น อยากคลอดลูกง่าย ทำไงดี วิธีให้คลอดลูกง่าย

 

คลอดลูกเจ็บไหม

 

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด เป็นการหายใจแบบช้าเมื่อเจ็บท้องไม่มากนัก เพียงแต่มดลูกหดรัดตัวและคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด ระยะนี้ส่วนใหญ่จะมีสมาธิในการควบคุมการหายใจช้า ๆ ได้ แต่เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น จะไม่สามารถควบคุมการหายใจให้ช้าได้ จึงค่อยเปลี่ยนเป็นการหายใจแบบเร็ว

 

ไม่ว่าคุณแม่จะหายใจแบบเร็วไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตามจะต้องหายใจล้างปอด คือ หายใจออกลึก ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเริ่มใช้เทคนิควิธีการหายใจ และเมื่อสิ้นสุดเทคนิควิธีการหายใจจะต้องปิดท้ายด้วยการหายใจล้างปอดอีก 1 ครั้งเสมอ

 

เคล็ดลับคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ ด้วยวิธีช่วยคุณแม่คลอดง่าย

  • ใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงช่วยคลอดง่าย

ถ้าคุณหมออนุญาต ในช่วงใกล้คลอดให้คุณพยายามขยับร่างกายในท่าหลังตรง เช่น การยืน เดิน โน้มตัวไปข้างหน้าและย่อตัวลงเล็กน้อยจะทำให้แรงโน้มถ่วงช่วยเคลื่อนตัวลูกน้อยลง ทั้งยังช่วยให้ตัวลูกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการคลอด

 

  • นั่งท่าผีเสื้อแบบมณีเวช

เทคนิคดี ๆ ระหว่างรอมดลูก แม่ต้องลอง นั่งท่าผีเสื้อแบบมณีเวช บรรเทาอาการเจ็บคลอด มดลูกเปิดเร็วมาก โดยคุณหมอแนะนำให้แม่นั่งฝ่าเท้าชิดกัน สองมือกดตรงเข่าไว้ แล้วโน้มตัวไปข้างหน้านับ 1-20 แล้วผ่อนคลาย

 

  • นอนให้มาก ๆ สุขภาพแม่ท้องดีก็คลอดไม่ยาก

คนท้องต้องพยายามนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสูตินรีเวชอเมริกาชี้ให้เห็นว่า คุณแม่ใกล้คลอดโดยเฉพาะช่วงเดือนสุดท้ายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม. ต่อวัน จะใช้เวลาในการคลอดนานกว่า 11 ชม. และมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าคลอดมากกว่า 4 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ที่นอนอย่างน้อยวันละ 7 ชม. นี่จึงเป็นเหตุผลที่สมควรอย่างยิ่ง ที่ควรนอนให้มากขึ้น

 

เพื่อให้แม่นอนได้สบายตัวขึ้น ก็ต้องหาตัวช่วย เช่น หมอนรองคนท้อง เลือกที่คุณภาพดีจะช่วยพยุงท้อง ทำให้แม่ท้องหลับสบายขึ้น แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ท่านอนคนท้อง ที่เหมาะสม

 

วิธีคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้ยากค่ะ แต่วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดที่ได้แนะนำไปนั้น ก็จะช่วยให้แม่คลอดธรรมชาติเจ็บปวดน้อยลง เพราะการคลอดธรรมชาตินั้นจำเป็นต้องรอให้ถึงระยะเจ็บท้องที่อาจกินระยะการเจ็บยาวนานหลายชั่วโมง มดลูกจะมีการบีบตัวที่แข็งและถี่ขึ้น ทำให้คุณแม่ปวดท้องคลอดมากขึ้นจนแทบทนไม่ไหว แต่การคลอดทั่วไปแพทย์จะให้ยาบรรเทาปวดในรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นน้ำเกลือเวลาที่คุณแม่ปวดมาก และช่วงหลังคลอดขณะที่เย็บซ่อมแผลฝีเย็บแพทย์จะฉีดยาชาให้ บางแห่งยังสามารถทำการบล็อคหลังให้คุณแม่ในขณะที่รอคลอด ทำให้แม่ไม่มีความรู้สึกช่วงครึ่งล่างของลำตัว คุณแม่จึงต้องศึกษา และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ก่อนตัดสินใจนะคะ

 

รู้กันไปแล้วถึงการคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ มาโหวตกันหน่อยว่า ถ้าคุณคลอดธรรมชาติ คุณจะทำการบล็อกหลังหรือไม่ ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ผิดปกติต้องรีบหาหมอ! แพทยสภาเผย 5 สาเหตุ แม่เสียชีวิตจากการคลอดลูก
วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยคุณแม่ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด
แม่ท้องตอน 30 ลูกหัวไว ฉลาด ไอคิวสูง แข็งแรง เป็นอายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์

 


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

บทความโดย

Tulya