7 สัญญาณเตือน ให้คุณแม่ทราบว่า ลูกน้อยกำลังติดแม่!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7 สัญญาณเตือน ว่าคุณลูกน้อยกำลังจะติดคุณแม่ และจะออกไปไหนคงฝากใครเลี้ยงไม่ได้เป็นที่แน่ ๆ กว่าจะบอกลาลูกน้อยได้นั้นใช้เวลานานเสียเหลือเกิน แบบนี้ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกกำลังติดแม่หรือไม่? เราไปดูสัญญาณเหล่านั้นกันค่ะ

 

สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยสุดที่รัก กำลังติดคุณแม่

เรียกกันได้ว่าในช่วงนี้มีคุณแม่หลาย ๆ ท่านกำลังหนักใจกับลูกน้อย ที่คอยติดตามคุณแม่ไปทุกหนทุกแห่งใช้ไหมค่ะ ไหนคุณแม่จะต้องทำกับข้าว หรือแม้แต่การเข้าห้องน้ำคุณแม่ก็ต้องพาลูกน้อยไปด้วย สัญญาณที่บอกว่าทารกติดแม่มีอะไรบ้าง

 

1. ลูกกลัวการอยู่กับคนแปลกหน้า

ใครคนอื่นเข้ามาอุ้มที่ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่ ทารกก็จะปล่อยโฮออกมาเลยใช่ใหมคะ จริง ๆ แล้วทารกช่วงวัยแรกเกิดเป็นช่วงประสาทสัมผัสไวมาก ๆ เลยค่ะ หากคนแปลกหน้าเข้ามาอุ้มทารกก็จะสามารถรับรู้ได้เลยค่ะ ว่ามือที่จับนั้นอาจไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่ และแสดงอาการร้องไห้โฮด้วยความหวาดกลัวในที่สุด ดังนั้นหากคุณแม่หรือคุณพ่อต้องการที่จะจ้างพี่เลี้ยงเพื่อมาช่วยเลี้ยงลูก ควรจ้างตั้งแต่ช่วงทารกเกิดจะดีกว่านะคะ เพื่อให้ทารกเกิดความคุ้นชิน และไม่หวาดกลัวกับพี่เลี้ยงเองด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ลูกน้อยไม่ชอบการบอกลา

ลูกน้อยร้องไห้ทุกครั้งเมื่อรู้ว่าจะต้องห่างจากคุณพ่อคุณแม่เป็นเวลานาน เช่น เห็นแม่แต่งตัว หรือทำท่า bye bye เป็นต้น ดังนั้นทุก ๆ ครั้งเวลาที่จะต้องออกไปทำงาน หรือไปซื้อของใกล้บ้านก็ตาม ควรบอกกับลูกทุกครั้งว่าต้องไปทำอะไร และจะกลับกี่โมง แม้ลูกน้อยจะยังไม่เข้าใจในการสื่อสารมากแต่เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรายังกลับมาพบหน้าเขาอีก หากไม่ได้บอกไว้เขาจะคิดว่าคุณแม่ทิ้งเขาไป หรือไม่รักเขาแล้วนั่นเองค่ะ

 

3. ลูกไม่อยากเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน

เมื่อทารกพบปะกับทารกในวัยเดียวกันนั้น บางคนก็มีการปล่อยโฮออกมาเรียกหาคุณแม่เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยกับเพื่อน ๆ นั่นเองค่ะ ทารกเมื่ออายุครบ 6 เดือนขึ้นไปเริ่มขยับร่างกายได้แข็งแรงมากขึ้น การพาเข้าสังคมจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก และความกล้าให้แก่ทารกในการพบปะเพื่อนวัยเดียวกันค่ะ ซึ่งจะทำให้ทารกได้เรียนรู้การสร้างมิตรภาพกับคนอื่น และลดอาการหวาดกลัวจากการอยู่ห่างกับคุณพ่อคุณแม่นั้นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ลูกมีการอ้อน ขอให้อุ้มตลอด

คุณแม่ก็เป็นเหมือนสถานที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกน้อยค่ะ ไม่ว่าจะไปใหนลูกน้อยก็ขอได้มีโอกาสตามติดตัวติดหนึบกับคุณแม่อยู่ตลอด ดังนั้นการหากิจกรรมอื่น ๆ เสริม ก็อาจจะช่วยให้ลูกน้อยลดความสนใจตรงนี้ได้มากขึ้น และหันไปทำกิจกรรมนั้น ๆ มากขึ้นค่ะ

บทความเกี่ยวข้อง : 6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก หากพ่อแม่ยิ่งทำ พฤติกรรมลูกยิ่งแย่ลง

 

7 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่า ลูกรักนั้น ติดแม่มาก ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.  ลูกติดนมจากเต้าคุณแม่

คุณแม่หลาย ๆ ท่านคงกำลังคิดหนักใช่ใหมคะ เพราะลูกน้อยไม่ยอมห่างจากอกของคุณแม่เลย และไม่ยอมกินนมจากขวดนมเสียอีกด้วย ซึ่งทางแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ได้แนะนำมนคะ ว่าสามารถฝึกทารกให้ดูดขวดนมได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ทารกช่วงแรกเกิดอาจจะต้องให้นมจากเต้าคุณแม่โดยตรงไปก่อน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยค่ะ เมื่อทารกเริ่มอายุ 1-2 เดือน ก็สามารถเริ่มฝึกทารกให้กินนมจากขวดได้แล้ว

 

6. ลูกไปกล้าที่จะไปในสถานที่แปลกตา

แน่นอนว่าบ้านเป็นสถานที่ลูกของเราคุ้นเคยที่สุดค่ะ เพราะเป็นที่ที่เขาเติบโตมา และได้อยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัวมากที่สุด เมื่อต้องพาลูกออกไปสถานที่อื่น ๆ จึงทำให้เขารู้สึกไม่ค่อยปลอดภัย กังวล ไม่มั่นใจนั่นเองค่ะ ดังนั้นการพาลูกน้อยได้ฝึกออกไปสัมผัสกับสภาพแวดล้อมข้างนอกบ้าง จะช่วยให้เกิดความคุ้นชินมากขึ้น และสนใจสิ่งรอบข้างมากขึ้นด้วยนะคะ

 

7. ลูกตื่นมาไม่เจอ คุณพ่อ คุณแม่ ร้องไห้โฮ

ลูกน้อยวัยแรกเกิดเป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาด้านความรู้สึกแล้วค่ะ เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วการที่ไม่ได้พบเจอคุณพ่อ คุณแม่ จะทำให้เขารู้สึกว่า คุณพ่อ คุณแม่ ได้จากเขาไปแล้ว หรือไม่รักเขาอีกแล้ว จึงทำให้ลูกน้อยมีความรู้สึกเสียใจ และแสดงอาการออกมาด้วยการกรีดร้องนั่นเองค่ะ ดังนั้นช่วงทารกเริ่มตื่นนอนเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่ คุณพ่อ คุณแม่ ควรที่อยู่เคียงข้างเขา เพื่อให้ลูกน้อยตื่นมาแล้วรู้สึกปลอดภัยเมื่อมี คุณพ่อ คุณแม่ อยู่ข้าง ๆ เสมอค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกกลัวการอาบน้ำ จะทำอย่างไรดีเมื่อเด็ก ๆไม่ชอบที่อาบน้ำ งอแงทุกครั้งที่อาบน้ำ

 

 

ทำไมลูก ถึงติด คุณแม่

 

ทำไมลูกน้อยถึงติดคุณแม่?

1. พันธุกรรมที่สืบทอดต่อกัน เนื่องจากการที่ลูกติด คุณพ่อ คุณแม่ เป็นลักษณะของทางพันธุกรรม ที่อาจจะมีการถ่ายทอดมาจาก คุณพ่อ คุณแม่ อีกทีหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติมากเลยของแต่ละครอบครัวที่จะต้องมีการถ่ายทอดกันต่อ ๆ มา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. แม่คือเหตุผลสำคัญ โดยเฉพาะแม่ที่ชอบขู่ลูกน้อย เช่น ขู่ลูกว่า ถ้าทำแบบนี้แล้วจะไม่รักแล้ว แม่จะหนีไปไกล ๆ หรือว่าแม่จะไม่อยู่กับหนูอีกแล้วนะ ต่าง ๆ นา ๆ นั่นละที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าถ้าเขาทำตัวไม่ดีแม่อาจจะไม่รักเขา และจะหนีเขาไปแล้วไม่กลับมาอีกเลย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กติดแม่มากที่สุดนั้นเอง

 

3. ความกลัวสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจาก คุณพ่อ คุณแม่ บางคนจะวิตกกังวลมากเกินไปแล้ว เมื่อลูกจะทำอะไรก็กังวลไปเสียหมด พอเห็นลูกทำนั่นทำนี่ก็ร้องห้ามอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเด็กก็จะเรียนรู้จาก คุณพ่อ คุณแม่ ว่าสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเขานั้นน่ากลัวไปเสียหมด เพราะฉะนั้นต้องอยู่ติด คุณพ่อ คุณแม่ ไว้ให้ดีกว่าถึงจะปลอดภัยมากกว่า

 

4. พื้นฐานที่แตกต่างกัน เนื่องจากเด็กในแต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกันไป เช่น เด็กบางคนมีความขี้อายไม่กล้า เวลาไปที่ไหนก็จะแอบอยู่หลังคุณแม่อยู่ตลอดเวลา หรือเด็กบางคนมีความกลัวเป็นพื้นฐานมากเกินไป ก็จะไม่กล้า กลัว ไม่อยากอยู่คนเดียว จนต้องเกาะติดแม่ตลอดเวลา หรือ เรียกกันวาติดกันแจ

 

แหล่งที่มา : (rakluke), (rakluke)

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

พิสูจน์มาแล้ว ลูกฉลาด ได้มาจากสติปัญญาแม่มากกว่าพ่อ!

 

บทความโดย

chonthichak88