แอมโมเนียโรงน้ำแข็งรั่ว กระทบทั้งคนงานและชาวบ้านกว่า 100 ราย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แอมโมเนีย หลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อหรือเคยได้สัมผัสประสบการณ์ได้กลิ่นของแอมโมเนีย เพื่อช่วยอาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียนศรีษะ แต่การสูดดมแอมโมเนียเข้าไปในปริมาณมาก ๆ กลับไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก ดังเช่นเหตุการณ์ แอมโมเนียโรงน้ำแข็งรั่ว กระทบทั้งคนงานและชาวบ้านกว่า 100 ราย

 

แอมโมเนียโรงน้ำแข็งรั่ว กระทบทั้งคนงานและชาวบ้านกว่า 100 ราย

เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา มีการแจ้งข่าวเกิดเหตุ สารแอมโมเนียในโรงงานผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี รั่วไหล โดยทำให้มีคนบาดเจ็บราว ๆ 50 คน โดยหลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบพบว่า มีกลุ่มควันสีขาวลอยพวยพุ่งอยู่ในชั้นอากาศ สูงจากพื้นดินประมาณ 3-4 เมตร อีกทั้งยังฟุ้งกระจายไปในรัศมี 1 กิโลเมตร ซึ่งมีกลิ่นคล้ายสารแอมโมเนียที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็ง เมื่อสูดเข้าไปจะมีอาการแสบคอ หายใจไม่ออก และแสบตาอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนงานและชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ได้สูดดมสารแอมโมเนียเข้าไป จนเกิดอาการหายใจไม่ออก อาเจียนเป็นเลือด น้ำลายฟูมปาก บางรายต้องนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง โดยมีผู้ได้รับผลกระทบจากสารแอมโมเนียรั่วไหลในครั้งนี้เป็นจำนวนกว่า 100 ราย  โดยทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการเข้าไปปิดวาล์วถังแอมโมเนีย ซึ่งมี 2 จุด ภายในโรงงาน พร้อมกับระดมฉีดพรมน้ำ เพื่อทำให้สารแอมโมเนียที่ฟุ้งอยู่ในอากาศเกิดการเจือจางหายไป ใช้เวลาร่วม 1 ชั่วโมง จึงสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

ขอขอบคุณภาพจาก ZOOM Rayong ซูมระยอง

ขอขอบคุณที่มา : ZOOM Rayong ซูมระยอง, thairath.co.th, thaipbs.or.th, sanook.com

 

แอมโมเนียคืออะไร

แอมโมเนียเป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ประกอบด้วยไนโตรเจนและไฮโดรเจน แอมโมเนียเป็นสารเคมีทางอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งใช้ในการใช้งานที่หลากหลาย เช่น ในการผลิตปุ๋ย โรงงานอาหาร เพื่อใช้เป็นสารทำความเย็น และในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมถึงสิ่งทอ และยา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประโยชน์ของแอมโมเนีย

แอมโมเนียอาจเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ถ้าอยู่ในระดับความเข้มข้นสูง และอาจทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจและระคายเคืองตาได้ แต่ในทางกลับกัน หากใช้แอมโมเนียที่มีความเข้มข้นเล็กน้อย แอมโมเนียก็จะเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับพืชและมักใช้เป็นปุ๋ย และแอมโมเนียยังใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน เช่น น้ำยาเช็ดกระจก และเป็นสารทำความเย็นในระบบปรับอากาศ รวมไปถึงใช้ในวงการแพทย์สำหรับสูดดม ช่วยอาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียนศรีษะอีกด้วย

 

อันตรายจากแอมโมเนีย

การสูดดมแอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ หายใจไม่สะดวก หายใจถี่ และแน่นหน้าอก หากสูดดมแอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูงเป็นเวลานานอาจทำให้ปอดถูกทำลายและการหายใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้ก๊าซแอมโมเนียยังสามารถระคายเคืองและทำลายดวงตา ทำให้น้ำตาไหล ตาแดง และกระจกตาไหม้ได้ การสัมผัสแอมโมเนียโดยตรงสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง การเผาไหม้ของสารเคมี และผิวหนังอักเสบได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากแอมโมเนียรั่วไหล ต้องทำอย่างไร

หากเกิดการรั่วไหลของแอมโมเนีย ต้องรีบอพยพออกจากพื้นที่และแจ้งบริการฉุกเฉิน โดยสิ่งสำคัญคือก๊าซแอมโมเนียจะหนักกว่าอากาศ และมีแนวโน้มที่จะตกลงในพื้นที่ราบ ดังนั้นควรอพยพผู้คนในพื้นที่ดังกล่าวก่อน ส่วนแนวทางปฏิบัติในการอพยพลี้ภัยนั้นคือ ให้เคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุไปยังที่ที่อากาศบริสุทธิ์ ให้คนไข้นอนราบกับพื้น หายใจช้าๆ เปิดตาเท่าที่จำเป็น ใช้ผ้าบางชุบน้ำเปียกปิดปากและจมูกระหว่างขนย้ายออกจากพื้นที่ ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนแอมโมเนียออกทันที แต่ในกรณีเสื้อผ้าที่เย็นแข็งติดผิวหนัง ต้องทำให้อ่อนตัวก่อนถอด ล้างร่างกายด้วยน้ำอุ่นสะอาดอย่างน้อย 15 นาที

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อสูดดมหรือสัมผัสแอมโมเนีย

กรณีสูดดมแอมโมเนีย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีแอมโมเนีย ไปยังที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
  2. ให้ผู้ป่วยนั่งพัก พยายามให้หายใจช้า ๆ ลึก ๆ
  3. หากผู้ป่วยหายใจลำบาก ให้ทำการ CPR
  4. คลายเสื้อผ้า ที่รัดคอหรืออกของผู้ป่วย
  5. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แม้จะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม

กรณีสัมผัสแอมโมเนีย

  1. ล้างผิวหนังที่สัมผัสแอมโมเนีย ด้วยน้ำสะอาดและสบู่อย่างน้อย 15 นาที
  2. หากแอมโมเนียเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดไหล ๆ อย่างน้อย 15 นาที
  3. หากแอมโมเนียเปื้อนเสื้อผ้า ให้ถอดเสื้อผ้าออกและซักด้วยน้ำและสบู่
  4. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แม้จะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม

โดยหลังเกิดเหตุ ให้สังเกตตัวเองเป็นเวลา 1 เดือน ว่ามีอาการไอ แสบคอ มีเสมหะหรือไม่ หากมีควรรีบไปพบแพทย์

ข้อควรระวัง

  • ห้าม ล้วงคอหรือทำให้อาเจียนผู้ป่วยที่กลืนแอมโมเนีย
  • ห้าม ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูกผู้ป่วยที่สูดดมแอมโมเนีย
  • ห้าม สัมผัสแผลไฟไหม้จากแอมโมเนียด้วยมือเปล่า

ที่มา : thaipbs.or.ththairath.co.th,  safetywiki.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

ระวัง! 8 สารพิษที่ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ป้องกันอันตรายใกล้ตัวลูก

สารเคมีอันตรายกับคนท้อง สารเคมีแบบไหนที่คุณแม่ต้องเลี่ยง

สารสไตรีน จากโรงงานกิ่งแก้ว มีผลกระทบต่อเด็กอย่างไร อันตรายแค่ไหน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

watcharin