เว็บไซต์ข่าวซีไต้หวัน CTWANT รายงานเคสจากสถานพยาบาลในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เมื่อลูกสาววัย 4 ขวบ มีอาการไข้สูง พ่อแม่ตัดสินใจ ใช้แอลกอฮอล์เช็ดตัว ความเข้มข้น 75% หลายครั้ง เพื่อหวังบรรเทาอาการไข้สูงของลูกสาว ส่งผลให้การทำงานของสมองของเด็กหญิงเสียหาย เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์ จนต้องถูกส่งไปยังแผนกผู้ป่วยหนักเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน
จากรายงาน เผยว่า พ่อแม่ของเด็กหญิงเห็นว่าลูกสาวมีไข้สูง จึงฉีดแอลกอฮอล์ลงบนสำลีแล้วนำมาเช็ดตัวให้ลูกซ้ำ ๆ อีกทั้งยังใช้ผ้าห่มห่อคลุมร่างกายของลูกสาวไว้ตลอดเวลา หลังจาก ใช้แอลกอฮอล์เช็ดตัว นอกจากอาการของลูกสาวจะไม่ดีขึ้นแล้ว ยังอาเจียนและอ่อนแรงลงอย่างมาก สุดท้ายจึงต้องนำลูกสาวส่งโรงพยาบาล ต่อมาหลังจากเข้ารับการรักษาได้ไม่นาน แพทย์แจ้งว่าเด็กอยู่ในอาการโคม่าและถูกรีบนำส่งแผนกผู้ป่วยหนัก
จากการตรวจร่างกาย แพทย์เผยว่า เด็กหญิงมีภาวะ metabolic acidosis อย่างรุนแรง เป็นความผิดปกติของสมดุลกรดและด่าง ซึ่งเกิดจากการได้รับสารพิษ ส่งผลทำให้การทำงานของสมองได้รับความเสียหายอย่างหนัก โชคดีที่เด็กหญิงฟื้นขึ้นหลังจากเข้ารับการรักษาฉุกเฉินได้ 2 วัน ขณะนี้เธอกำลังเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูจากแผนกประสาทวิทยา
แพทย์ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า หลังจากแอลกอฮอล์ที่ไม่ระเหยถูกดูดซึมโดยผิวหนังของเด็กหญิง เธอมีอาการเป็นพิษเฉียบพลัน ซึ่งอาจนำไปสู่การหายใจล้มเหลวหรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ในกรณีที่รุนแรง ในเวลาเดียวกัน ผู้ปกครองก็ห่มคลุมร่างกายของเด็กไว้ด้วยผ้า ทำให้เหงื่อออกและร่างกายไม่ได้ระบายความร้อน
ทางด้านพ่อแม่ของเด็กหญิงบอกว่า พวกเขาแค่ทำตามวิธีที่สืบทอดกันมาจากคนรุ่นก่อนเพื่อลดไข้ลูกของพวกเขา และพวกเขาไม่รู้ว่ามันจะร้ายแรงขนาดนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกชักจากไข้สูง อาการชักจากไข้สูงในเด็กอันตรายแค่ไหน? พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร
วิธีลดไข้ลูก ลูกตัวร้อนไม่หาย
1. การทานยาลดไข้
ยาลดไข้สำหรับเด็กที่มีความปลอดภัยสูง ใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 เดือนขึ้นไป และมีผลข้างเคียงน้อยถ้าใช้ไม่เกินขนาด คือยาพาราเซตามอล ซึ่งมีทั้งชนิดน้ำและเม็ด โดยชนิดน้ำจะมีขนาดความเข้มข้นของยาแตกต่างกันหลายชนิด เช่น 120 มิลลิกรัม, 160 มิลลิกรัม, 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี หรือ 100 มิลลิกรัมต่อยา 1 ซีซี ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรอ่านฉลากยาให้ดี เพื่อให้ลูกได้รับยาในขนาดที่ถูกต้องนะคะ
2. การเช็ดตัวลดไข้
เป็นวิธีที่ทำให้ ไข้ลงได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการพาความร้อนออกจากร่างกายด้วยน้ำ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรใช้น้ำที่อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ถอดเสื้อผ้าลูกออกให้หมดขณะเช็ดตัว และเช็ดแต่ละรอบ นาน 15-20 นาที จนรู้สึกว่าลูกตัวเย็นลง สามารถเช็ดตัวซ้ำได้ถ้าภายใน 30 นาที หากหลังเช็ดตัวไปแล้วไข้ยังไม่ลงค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : การเช็ดตัวลดไข้ ลูกเป็นไข้ อยากให้ลูกหายไว ต้องเช็ดให้ถูกวิธี
วิธีเช็ดตัวลดไข้ลูก เช็ดตัวลดไข้ วัตถุประสงค์การเช็ดตัวลดไข้
- วิธีลดไข้เด็ก ใช้ผ้าขนหนูปูรองบนเตียงก่อนให้ลูกนอนหรือนั่ง และถอดเสื้อผ้าออกเพื่อทำการเช็ดตัว
- ใช้ผ้าชุบน้ำที่ทดสอบอุณหภูมิแล้วว่าไม่ร้อนจนเกินไป บิดหมาด ๆ เพื่อนำมาเช็ดตัวให้ลูกอย่างนุ่มนวล
- เริ่มเช็ดจากแขนและขาก่อน ข้างละอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้ร่างกายของลูกได้ปรับตัวกับอุณหภูมิของน้ำ โดยเริ่มเช็ดจากปลายแขนเข้าสู่ต้นแขน ในลักษณะย้อนรูขุมขน เพื่อระบายความร้อน และเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ในขณะที่ลูบผ้าไปตามแขน-ขา ควรมีการพักผ้าไว้ที่ข้อพับต่าง ๆ ของแขนและขาด้วย ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิอีกทางหนึ่ง
- จากนั้นชุบผ้าใหม่เพื่อให้ผ้าร้อนขึ้น นำมาเช็ดลำตัว หลัง และก้นอย่างน้อย 10 -15 นาที ใช้เวลาในการเช็ดตัวลูกรวมอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที เพื่อให้ไข้ลดลง ซึ่งควรมีอุณหภูมิหลังการเช็ดตัว ได้ต่ำกว่า 37.5 องศา
- หลังเช็ดจากตัว ไม่ควรทาแป้งให้ลูกหรือใส่เสื้อผ้าที่หนามากเกินไป และไม่ควรนำห่มผ้าคลุมมาตัวลูก เพราะจะทำให้ขัดขวางการระบายความร้อนออกจากร่างกายนั่นเอง
- เมื่อเช็ดตัวเสร็จจะช่วยทำให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น ควรให้ลูกได้ดื่มน้ำมาก ๆ (ในกรณีที่ลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป)
ข้อควรระวังในการเช็ดตัวลดไข้ทารก
- ไม่ควรใช้น้ำเย็น น้ำแข็งหรือ ใช้แอลกอฮอล์เช็ดตัว เพื่อลดไข้ เพราะความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว การระบายความร้อนออกทางผิวหนังจึงเป็นไปได้น้อย และจะทำให้เด็กหนาวสั่นได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
- ไม่ควรเปิดพัดลมหรือเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่เช็ดตัวลดไข้ เพราะจะทำให้เด็กมีอาการหนาวสั่นได้ง่าย ทำให้การเช็ดตัวลดไข้ไม่ได้ผลดี
- ไม่ควรใช้แป้งฝุ่นทาบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน หรือขา เพราะแป้งฝุ่นจะไปอุดรูขุมขนทำให้การระบายความร้อนออกได้น้อย ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้แป้งฝุ่นหลังเช็ดตัวลดไข้
- ขณะที่เช็ดตัวลดไข้ หากลูกเริ่มมีอาการหนาวสั่น ให้หยุดเช็ดตัวในทันที แล้วห่มด้วยผ้าห่มหรือผ้าขนหนูที่แห้ง จนกระทั่งหยุดสั่น ควรวัดอุณหภูมิของเด็กทุก 10 – 15 นาที แต่ถ้าเป็นปรอทแบบธรรมดา ให้วัดทางรักแร้ 5 นาที ขณะทำการเช็ดตัว ถ้าเป็นทารกที่มีมีอุณหภูมิกายต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส ให้ทำการห่อตัว โดยเฉพาะส่วนศีรษะ ห่อหุ้มศีรษะ ห่อด้วยผ้าขนหนู เนื่องจากส่วนศีรษะมีพื้นที่ผิวกายคิดเป็นสัดส่วนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ห่อตัวจนกระทั่งเด็กอุณหภูมิปกติหรือใกล้เคียงปกติ (ประมาณ 37.0 – 37.5 องศา) จึงหยุดห่อตัว
- ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่หนาเกินไป เนื่องจากจะขัดขวางการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
นอกจากนี้การดูแลอื่น ๆ ที่จะช่วยให้อาการไข้ของลูกดีขึ้น คือการให้ลูกพักผ่อนในที่มีอากาศระบายถ่ายเทสะดวก ไม่มีอากาศที่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย เพื่อช่วยในการระบายความร้อน และควรดื่มน้ำมาก ๆ เพราะระหว่างที่มีไข้ ร่างกายของลูกจะสูญเสียน้ำเยอะกว่าปกติ จึงมีอาการอ่อนเพลียจากการขาดน้ำได้
สิ่งที่ควรระวังเมื่อลูกมีไข้สูง หรือ ลูกไข้สูงไม่ลด คือ ไม่ควรให้ลูกอยู่ในห้องที่อบอ้าว อากาศร้อน หรือใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปเพราะกลัวว่าลูกจะหนาว นอกจากจะไม่ช่วยในการลดไข้แล้ว ยังทำให้การระบายความร้อนจากร่างกายทำได้ไม่สะดวก อาการไข้จึงลดลงได้ช้าค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาบน้ำเด็กไข้ขึ้นสูง วิธีลดไข้สูง ทำให้ลูกไข้ลด ต้องใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเย็น อาบน้ำลูก
ลูกมีไข้สูง ผื่นแดงขึ้นตามตัว สัญญาณบอกลูกอาจเป็นโรคส่าไข้!
ลูกตัวร้อน มีไข้สูง เสี่ยงชัก รับมืออย่างไรดี?
ที่มา : sanook.com