เด็ก 8 ขวบ เรียนหนัก ทรุดคาโต๊ะ! เผยคำขอสุดท้ายของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความหวังสูงสุดของสำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้ว คงหนีไม่พ้นเรื่องของลูก ๆ ที่ต้องการให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดี ประสบความสำเร็จ และมีอนาคตที่ก้าวไกล เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับอนาคตของเด็ก เพราะฉะนั้น ในเรื่องพื้นฐานอย่างการ เรียนหนัก คงจะไม่มีพ่อแม่คนไหน ไม่ยอมเสียเงินให้ลูกเรียนพิเศษเพิ่มเติมอย่างแน่นอน

 

แต่หากต้องเรียนจนเกินขีดจำกัดของตัวเด็ก ที่แบกความคาดหวังของพ่อแม่มากเกินไป จนสร้างความกดดันให้กับลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ แม้แต่พ่อแม่หลายคนก็ลืมว่าลูกของตนรู้สึกอย่างไร เหนื่อยบ้างมั้ย ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าเศร้า

 

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กชายวัย 8 ขวบ จากประเทศจีน ขณะที่กำลังทำการบ้านอยู่ จู่ ๆ เด็กชายคนนี้ก็ตกอยู่ในอาการโคม่า พ่อแม่จึงรีบพาตัวส่งไปที่ห้องฉุกเฉินทันที จากผลการตรวจพบว่า เด็กประสบกับภาวะอวัยวะหลายส่วนล้มเหลว

 

และอาการของเด็กชายวัย 8 ขวบนั้นก็ไม่สู้ดีนัก หลังจากได้รับการช่วยชีวิตจากทีมแพทย์และพยาบาล เด็กชายก็ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง และเห็นแม่นั่งอยู่ข้าง ๆ ด้วยน้ำตาอาบใบหน้า เขาจึงพูดว่า “เหนื่อยจัง ขอนอนหน่อย” หลังจากนั้นเด็กชายคนนี้ก็ค่อย ๆ หลับไป และตกอยู่ในอาการโคม่าอีกครั้ง ตัวแม่เองก็ไม่คาดคิดเช่นกัน ว่านั่นจะคือคำพูดสุดท้ายที่ลูกชายจะได้พูดกับตัวเธอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แพทย์ เผยว่า เด็กชาย เรียนหนัก เกินไป เหนื่อย หมดแรง และไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ในเวลานี้พ่อแม่ของเด็กทรุดลงและร้องไห้โดยกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ แม่กล่าวว่าลูกชายของเธอนั้นเป็นคนดีมาก เรียนเก่ง และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้มาก ดังนั้นไม่ว่าครอบครัวจะมีเงินมากแค่ไหน ก็ทุ่มเทมอบให้กับการศึกษาของลูกทุกคน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ ทุก ๆ คืน ลูกชายจะได้กินแค่แซนด์วิชหรือขนมจีบและไปเรียนพิเศษภาคค่ำ เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศสและคณิตศาสตร์ เวลา 21.00 น. และกลับบ้านเพื่อรับประทานอาหารเย็น จากนั้นก็ทำการบ้านต่อจนถึงดึกดื่น ซึ่งไม่มีวันหยุดสุดสัปดาห์

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เธอเห็นว่าผลการเรียนของลูกชายตกต่ำลง แต่การสอบของนักเรียนดีเด่นกำลังใกล้เข้ามา เธอจึงค่อนข้างกังวลใจ ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะลงเรียนพิเศษช่วงสุดสัปดาห์ให้ลูกชายเพิ่มแทนที่จะเรียนวาดรูปและเล่นบาสเกตบอลในวันหยุดสุดสัปดาห์

 

วันที่เกิดเหตุแม่เห็นว่าลูกมีอาการซึมเศร้า เหนื่อย ไม่อยากทำการบ้าน จึงให้กำลังใจและสัญญาว่าถ้าลูกสอบผ่านจะให้รางวัลลูกไปเที่ยว แต่จู่ ๆ ลูกชายก็สลบไปหลังจากนั้น เมื่อแพทย์บอกเหตุผลของการจากไปของลูก แม่ก็ดูเหมือนจะไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงด้วยซ้ำ พร้อมยังขอให้แพทย์ตรวจเพิ่มเติมแต่ผลก็ยังเหมือนเดิม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นับตั้งแต่เรื่องราวดังกล่าวถูกโพสต์ทำให้หลายคนตกใจโดยเฉพาะผู้ปกครอง สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ ไม่เพียงแต่เด็กชายวัย 8 ขวบที่กล่าวถึงข้างต้นเท่านั้น แต่ยังมีผู้ใหญ่หลายคนที่ยอมรับว่าครอบครัวนี้ลงทุนกับบทเรียนส่วนตัวของลูก ๆ อย่างมาก แต่กลับเพิกเฉยต่อความรู้สึกของเด็ก ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ

 

ผู้ปกครองทุกคนต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุตรหลานของตน พวกเขาบังคับลูก ๆ เรียนด้วยเพราะการเข้าใจเส้นทางการเรียนรู้เป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จที่สั้นที่สุด แต่สุดท้ายแล้วพ่อแม่ต่างหากที่สร้างความกดดันให้กับลูกมากที่สุด พวกเขาลืมไปว่าจุดประสงค์ดั้งเดิมของการศึกษาคือ เพื่อให้เด็กเป็นคนดีและมีความรู้เท่านั้น จากนั้นเขาก็สูญเสียชีวิตลูกของเขา

บทความที่เกี่ยวข้อง ลูกเรียนหนักเกินไป พ่อแม่ยุคใหม่ ควรหยุดสร้างความกดดันให้ลูก

 

ความคาดหวังของพ่อแม่ แค่ไหนถึงเรียกว่าพอดี

 

1. ความคาดหวังที่ตรงกับศักยภาพของเด็ก

เด็กบางคนอาจเก่งด้านภาษา ในกรณีนี้ควรให้การสนับสนุนในการเรียนด้านการเรียนรู้ภาษา แทนการบังคับให้เรียนสายวิทยาศาสตร์ เพียงเพราะพ่อแม่ต้องการให้สอบเข้าคณะแพทย์ วิศวะ เป็นต้น หรือในบางกรณีเด็กอาจมีปัญหาด้านสติปัญญา หากคาดหวังในเรื่องของการเรียน จึงเป็นความคาดหวังที่ดูจะเกินตัวของเด็ก แต่เด็กอาจมีความสามารถด้านอื่น เช่น ศิลปะ เป็นต้น

 

หากพ่อแม่ทราบจุดเด่นและจุดด้อย ควรส่งเสริมลูกให้ถูกทาง ไม่ควรผลักดันตามที่พ่อแม่ต้องการให้เป็น เมื่อเด็กได้เรียน หรือได้ทำในสิ่งที่รัก จะสามารถทำได้ดี ย่อมทำให้มีความสุขในการทำสิ่งนั้น และทำให้เกิดการพัฒนาและประสบความสำเร็จในอนาคตได้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การมีส่วนร่วมในการตั้งความคาดหวังร่วมกัน

พ่อแม่ควรให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในสิ่งต่างรวมถึงแนวทางและความคาดหวังในการเรียนของตนเอง เปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น แม้ว่าในบางครั้ง ความคาดหวังของเด็กเป็นสิ่งที่ดูไม่เหมาะสม และการตัดสินใจในที่สุด พ่อแม่จะเป็นคนตัดสินก็ตาม แต่การให้เด็กมีส่วนร่วม จะทำให้เด็กเข้าใจเหตุผลของพ่อแม่มากขึ้น ไม่ใช่ต้องทำเพราะพ่อแม่สั่ง ซึ่งจะทำให้เด็กยินดี ร่วมมือกับพ่อแม่ในการทำตามแนวทางที่กำหนด และช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัวได้มาก

บทความที่เกี่ยวข้อง ความคาดหวังของพ่อแม่ คืออาวุธร้าย ทำลายลูก

 

 

3. ความคาดหวังของพ่อแม่ที่ไม่มากเกินไป

ความคาดหวังที่มีมากเกินไป จะนำไปสู่การทำสิ่งที่มากเกินปกติ เช่น เด็กบางคนต้องเรียนหนังสือทั้งที่โรงเรียนและกวดวิชา วันละ 12 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ทำให้เด็กเครียดเกินไป ไม่มีเวลาในการผ่อนคลาย หรือทำในสิ่งที่รักอย่างอื่น แม้ว่าพ่อแม่บางคนจะบอกว่า ลูกยินดีที่จะเรียนเอง แต่พ่อแม่ต้องควรนึกถึง ชีวิตที่มีความสุขในวัยเด็กของลูกได้หายไป และไม่สามารถย้อนเวลากลับมาทวงคืนได้อีก

 

ความคาดหวังที่มีมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อเวลาผิดหวัง หากผลลัพธ์ไม่ได้อย่างใจหวัง พ่อแม่บางคนอาจคาดหวังมาก จึงทำพฤติกรรมด้านลบ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ลูกพยายามมากขึ้น แต่นั่นคือผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อจิตใจเด็ก หากกรณีที่เด็กได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลลัพธ์ไม่ได้อย่างที่ใจพ่อแม่ต้องการ พ่อแม่ควรให้กำลังใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ แสดงความชื่นชมต่อความพยายาม และตั้งความคาดหวังกันใหม่

 

4. ความคาดหวังของพ่อแม่ที่ไม่น้อยเกินไป

ดังที่กล่าวในตอนต้น ความคาดหวัง ต้องมีไม่มากและไม่น้อยเกินไป ในบางครอบครัวที่ค่อนข้างพร้อม จะไม่ตั้งความคาดหวังใด ๆ ให้เด็กใช้ชีวิตอย่างสบาย ไม่เข้มงวดเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องการเรียน จึงพบว่า เด็กกลุ่มที่พ่อแม่ไม่แสดงความคาดหวังใด มีแนวโน้มจะขาดระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ ขาดความมุมานะพยายามในการทำสิ่งต่าง ๆ และอาจไม่ได้รับการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ถูกทาง ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตน้อยกว่าศักยภาพที่มี จึงกลายเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในอนาคตได้

 

ความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ที่มากเกินไป อาจกลายเป็นความกดดันที่เกินจะรับไหวของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรคาดหวังตามศักยภาพของเด็ก ส่งเสริมลูกให้ตรงกับสิ่งที่ลูกถนัด ตามความเหมาะสม เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ต้องทำเพราะพ่อแม่สั่ง ไม่ควรคาดหวังมากจนแสดงพฤติกรรมด้านลบกับลูก และไม่ควรคาดหวังน้อยเกินไปจนละเลย ขาดระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 หนังสือแม่และเด็ก คู่มือการเลี้ยงลูกน้อยให้เติบโตมีคุณภาพ !

เลิกคาดหวัง และส่งเสริม ความเป็นตัวเอง ให้ลูก เพื่อการเติบโตที่แข็งแรงทั้งกายใจอย่างเป็นธรรมชาติ

พ่อแม่กดดันลูก คาดหวังลูกมากเกินไป ระวังลูกป่วยเป็นจิตเวช

ที่มา :

www.khaosod.co.th

บทความโดย

Kanjana Thammachai