รถ Tesla ตกเหว เด็กรอดเพราะคาร์ซีท แต่พ่อถูกจับข้อหาพยายามฆ่า !?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลายเป็นข่าวโด่งดังทั่วสหรัฐอเมริกา เพราะเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ช่วงเวลา 10:50 น. ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งว่ามี รถ Tesla ตกเหว พลัดตกหน้าผาสูงกว่า 76-91 เมตร แถวถนนทางหลวงหมายเลข 1 ตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ด้วยสภาพรถที่ยับเยินจนไม่น่ามีใครรอด แต่ทั้ง 4 คนบนรถรอดทั้งหมด โดยคนบนรถมี พ่อแม่ ลูก 2 คน (ลูกสาว 9 ขวบ, ลูกชาย 4 ขวบ) หลังจากช่วยผู้รอดชีวิตทั้งหมดส่งโรงพยาบาลแล้ว ทางตำรวจเข้าจับกุมผู้เป็นพ่อที่ขับรถตกเหว ในข้อหาพยายามฆ่าและทารุณกรรมเด็ก

 

 

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเช้าวันจันทร์ ณ บริเวณที่เรียกว่า Devil’s Slide ซึ่งอยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกไปทางใต้ประมาณ 20 ไมล์ หลังจากที่รถเทสลาคันหนึ่ง พุ่งออกจากหน้าผาตามทางหลวงชายฝั่งแปซิฟิกของแคลิฟอร์เนีย และชนเข้ากับหาดหินที่อยู่ลึกลงไป 250 ฟุต ผู้ใหญ่ 2 คนและเด็ก 2 คนรอดพ้นจากอาการบาดเจ็บสาหัส

 

 

“เราตกใจมาก ที่พบว่าคนในรถรอดชีวิตจากการชน” คุณไบรอัน (Brian Pottenger) หัวหน้ากองพันของเขตป้องกันอัคคีภัยชายฝั่งของ Cal Fire ให้ข้อมูลมา และยังบอกอีกว่า “อุบัติเหตุบนหน้าผานั่นไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับที่นี่ เราเคยเจอยานพาหนะจำนวนมากที่เกิดอุบัติเหตุบนหน้าผานั้น แต่สิ่งที่หายาก คือเราไม่ค่อยเจอผู้รอดชีวิต การรอดชีวิตจากอุบัติเหตุประเภทนี้นั้นหายากมาก โดยภายในรถมีผู้ใหญ่ชาย 1 คน หญิง 1 คน เด็ก 9 ขวบ และเด็ก 4 ขวบ โดยเด็ก ๆ ทั้งสองนั่งอยู่ในคาร์ซีทซึ่งยังคงสภาพเดิมและอยู่ในตำแหน่งเดิม”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : วินาทีเฉียดตาย! เมื่อรถไปชนท้ายรถบรรทุก การติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้อง สำคัญมาก

 

ข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่คือ รถเก๋งเทสลาสีขาว 4 ประตูกำลังแล่นไปบนทางหลวงหมายเลข 1 ทางตอนใต้ของอุโมงค์ Tom Lantos ระหว่าง Pacifica และ Montara จากนั้นรถคันดังกล่าวก็เลี้ยวออกนอกถนนและตกเหว โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถบ่งชี้ว่ามันชนแล้วพลิกหลายครั้ง พวกเขาไม่ได้ระบุเหตุผลของการชน และเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่ารถกำลังขับขี่แบบ self-driving ของ Tesla นั้นเปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ในตอนที่เจ้าหน้าที่นักผจญเพลิงเข้าช่วยเหลือ ด้วยการโรยตัวลงมาจากหน้าผาไปที่รถ ขณะที่หน่วยกู้ภัยคนอื่น ๆ มองผ่านกล้องส่องทางไกล ก็สังเกตเห็นการเคลื่อนไหวที่เบาะหน้าผ่านกระจกหน้ารถ ทำให้รู้ว่ามีอย่างน้อยหนึ่งคนที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้ช่วยเหลือเด็ก 2 คนขึ้นมาก่อน และตามมาด้วยพ่อและแม่ของเด็กขึ้นมายังเฮลิคอปเตอร์

 

เมื่อนำผู้รอดชีวิตส่งโรงพยาบาล พบว่า ผู้ใหญ่สองคนได้รับบาดเจ็บแต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต และเด็กสองคนปลอดภัยดี แต่สิ่งที่น่าตกใจคือ ทางตำรวจได้เข้าจับกุมตัวคนขับ นาย Dharmesh Arvind Patel ผู้เป็นพ่อกลางโรงพยาบาล ในข้อหาพยายามฆ่าและทารุณกรรมเด็ก โดยยังไม่ได้ระบุว่าหลักฐานใดที่นำไปสู่การจับกุมในครั้งนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฝึกลูกนั่งคาร์ซีท คุณพ่อคุณแม่ ต้องรู้อะไรบ้าง ?

1. ติดตั้งคาร์ซีทให้ถูกต้อง

ข้อแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เลยนั่งคือ ขนาดของคาร์ซีทต้องพอดีกับเบาะรถที่บ้าน และต้องติดตั้งให้ถูกวิธีด้วย เพราะคาร์ซีทมีทั้งแบบหันหน้าและหันหลัง เพราะฉะนั้น ควรติดตั้งทิศทางให้ถูกต้อง นอกจากนี้ ต้องตรวจดูสายคาดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถล็อกได้มั่นคงหรือไม่ หากพบเห็นว่าคาร์ซีทมีความผิดปกติหรือได้ยินเสียงแปลก ๆ ควรนำคาร์ซีทไปซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรให้ลูกใช้ต่อ หากอยู่ในประกัน ช่างจะซ่อมให้ฟรี หรือทางแบรนด์อาจจะเปลี่ยนให้ใหม่ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 เรื่องต้องรู้ ก่อนให้ลูกนั่ง “คาร์ซีท”

 

2. ใช้สายคาดผิดวิธี

สายคาดต้องไม่หลวมหรือรัดตึงเกินไป คุณพ่อคุณแม่สามารถทดสอบสายคาดโดยจับสายคาดให้ตึง จากนั้นใช้นิ้วจิ้มดู หากสายบุ๋มลงมาก แสดงว่าหลวมเกินไป สำหรับคาร์ซีทแบบหันหลัง สายควรอยู่ที่ระดับใต้ไหล่ของลูกเล็กน้อย หากเป็นคาร์ซีทแบบหันหน้า สายคาดควรอยู่ระดับเดียวกับหรือเหนือกว่าไหล่ของลูกนั่นเองค่ะ

 

 

3. ไม่ให้ลูกนั่งหันหน้าเร็วเกินไป (ก่อน 2 ขวบ)

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่า ช่วงขวบปีแรกควรให้ลูกนั่งหันหลัง ไปจนกว่าลูกจะน้ำหนัก 9-10 กิโลกรัม ถึงจะให้นั่งหันหน้าได้ นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดนะคะ ทางสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ควรให้ลูกหันหลังจนกว่าจะ 2 ขวบ และหากเป็นไปได้การนั่งแบบหันหลังนั้นปลอดภัยกว่า และควรให้ลูกนั่งหันหลังให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าคุณแม่หลายคนอาจกังวลว่าหากลูกตัวใหญ่ขึ้น อาจนั่งหันหลังแล้วรู้สึกว่าขาติดกับพนักเบาะรถหรือต้องงอขา กลัวลูกจะนั่งไม่สบาย แต่จริง ๆ แล้วร่างกายของเด็กสามารถยืดงอได้ดีกว่าผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวลในข้อนี้ พอลูกโตเกินกว่าขนาดคาร์ซีท แล้วค่อยให้ลูกนั่งหันหน้ากับเบาะปกติก็ไม่สายเกินไปนะคะ

 

4. การให้ลูกนั่งบูสเตอร์ซีทเร็วเกินไป

บูสเตอร์ซีท (Booster Seat) คือเบาะรองนั่งของเด็กสำหรับใช้ในรถยนต์ ใช้สำหรับเด็กช่วงอายุ 3-12 ขวบ (น้ำหนักเด็กประมาณ 15 – 36 กิโลกรัม) มีคาร์ซีทบางเจ้า แนะนำว่าควรให้ลูกนั่งบูสเตอร์ซีทตั้งแต่ลูกอายุ 3 ขวบ แต่จริง ๆ แล้วควรรอให้ลูกน้ำหนักประมาณ 18 กิโลหรืออายุ 4-5 ขวบ และลูกสามารถนั่งโดยมีสายคาดพาดผ่านหน้าอกได้ตลอดการเดินทาง และแพทย์ยังแนะนำว่าสายรัดตัวแบบ 5 จุดนั้นปลอดภัยกว่าบูสเตอร์ซีท พ่อแม่ควรใช้แบบสายรัดตัวจะดีกว่า เพราะสามารถปกป้องเด็กได้ดีกว่าเข็มขัดนิรภัยของบูสเตอร์ซีท เพราะสายรัดตัวสามารถปกป้องลำตัวด้านบน ลดการเคลื่อนไหว และยังลดการกระแทกที่ศีรษะและคอลงได้ ขณะที่เข็มขัดนิรภัยนั้นจะปกป้องบริเวณอกและสะโพกเท่านั้น

 

การที่ให้ลูก ๆ นั่งคาร์ซีทนั้นต่อให้กฎหมายจะไม่บังคับหรือบังคับ ก็ควรมีและให้ลูกได้ใช้ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางทุกครั้ง เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะขับขี่อย่างระมัดระวังมากแค่ไหน แต่ถ้ารถคันอื่นไม่ได้ขับขี่ด้วยความปลอดภัย ก็อาจจะถูกลูกหลงได้นั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นเซฟตัวเอง เซฟชีวิตลูก ๆ ไว้ก่อนจะดีกว่านะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำ 10 คาร์ซีทงบประหยัด ปี 2023 ราคาดี มีคุณภาพ คาร์ซีทยี่ห้อไหนดี?

อุทาหรณ์! ลูกรอดเพราะคาร์ซีท ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่ ลูกไม่เป็นอะไรเพราะนั่งคาร์ซีท

คาร์ซีทสำหรับเด็ก ชวนคุณแม่เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัยขณะนั่งรถ

ที่มา : cnn

บทความโดย

Patteenan