“ยาไมเกรน” กินก่อนฉีดวัคซีนได้ ไม่จำเป็นต้องหยุดกิน

การฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องหยุดทานยา อาทิเช่น ยาไมเกรน หรือถ้าใครที่ไม่สบายใจก็สามารถปรึกษาแพทย์ก่อนได้ เพื่อเป็นความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนทุกครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ช่วงเย็นที่ผ่าน หลังจากที่ได้เห็นข้อมูลการเผยแพร่มากมายเกี่ยวกับยาไมเกรนจนทำให้ใครหลายคนเกิดความเครียดและความกังวล สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย จึงได้ออกมาประกาศเกี่ยวกับเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยาไมเกรนขณะฉีดวัคซีนให้ทุกคนได้ทราบกัน โดยมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้

 

(รูปจาก news.thaipbs.or.th)

 

  1. จากการรายงานพบว่าเมื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 เสร็จอาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราวที่เราพบ อาทิเช่น อาการอ่อนแรง หรืออาการชา เท่าที่ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มา ยังไม่ได้มีการเกิดความผิดปกติจากการตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และการตรวจของหลอดเลือดในสมอง (MRA และ CTA) ได้อย่างชัดเจน โดยอาการที่พบดังกล่าวส่วนใหญ่อาจเกิดจากการตอบสนองต่อร่างกายที่ได้รับวัคซีน อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว และสามารถเกิดขึ้นได้กับวัคซีนทุกชนิดนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. จากศึกษาและข้อมูลที่ได้มีการแนะนำเรื่องการใช้ยาปวดศรีษะไมเกรน เช่น ยาที่อยู่ในกลุ่ม NSAIDs ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน ยากลุ่ม acetaminophen หรือยาที่อยู่ในกลุ่มป้องกันอาการชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาที่อยู่ในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine ยาที่อยู่ในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol ยาที่อยู่ในกลุ่มต้านเศร้า เช่น Amitriptyline, Venlafaxine รวมถึงยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่นๆ ที่กินอยู่เป็นประจำ

 

  1. สำหรับใครที่เกิดความเครียดและกังวลใจ ไม่กล้ากินยาปวดศรีษะไมเกรน หรือยาต่างๆ ก็อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำ รวมถึงจะได้มีการวางแผนและป้องกันการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ถูกต้องและถูกวิธีต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด

ฟ้าทลายโจรช่วยโควิด ! ประกาศใช้อย่างเป็นทางการในราชกิจจาฯ แล้ว

 

ที่มา : pptvhd36, thaipbs

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tidaluk Sripuga