ความสัมพันธ์ 8 รูปแบบ แปลกแต่มีอยู่จริง อัปเดตได้ที่นี่!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความรัก เป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดของมนุษย์ เช่นเดียวกับ ความหิว ความกระหาย ความง่วง การขับถ่าย การสืบพันธุ์ ซึ่งหลายครั้งอาจพูดได้ด้วยซ้ำ ว่ามนุษย์เราต้องการความรักมากกว่า ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตด้วยซ้ำ เพราะความรัก หรือ ความสัมพันธ์ เป็นอีกหนึ่งการเติมเต็มความสมบูรณ์ทางใจ อย่างไรก็ตาม ความรักก็ยังถือเป็นเรื่องลึกลับสำหรับมนุษย์อยู่ดี เพราะเป็นเรื่องที่ยากจะกำหนดให้ได้ตามใจต้องการ

วันนี้ theAsianparent จะพาไปรู้จักความรัก และรู้จักกับความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ที่หลายคนในสมัยนี้ไม่เข้าใจ และมันแปลกแต่มีอยู่จริงนะ

 

ตอบคำถาม ความรักคืออะไร ?

ทุกคนนิยามความรักไว้อย่างไรกันบ้างและองค์ประกอบที่สำคัญของความรักสำหรับคุณคืออะไร ? บางคนก็ว่าเกิดจาก “ความเข้าใจ” หรือบางคนก็นิยามความรักว่าเป็นเรื่องของ “ความเข้ากันได้” ซึ่งหลาย ๆ คนต่างก็มองความรักด้วยมุมมองที่แตกต่างกันออกไปตามความคิดตัวเอง แต่ว่าบนโลกนี้มีการนิยามเรื่องความรัก จนกลายเป็นทฤษฎีมากมาย ส่วนใหญ่จะจัดประเภทตามที่ผู้คนส่วนใหญ่เคยประสบพบเจอในชีวิต แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกหนึ่งทฤษฎีที่หลายคนยอมรับ นั่นก็คือ ทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก (Triangular theory of love)

 

 

รู้จักกับ “ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก”

ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วย “รูปแบบของความรัก” ของโรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก (1986) เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่นักจิตวิทยายกตัวอย่างมาใช้มากที่สุด เพราะเป็นการอธิบายถึงธรรมชาติและรูปแบบของความรักความสัมพันธ์ ซึ่งความรักแต่ละรูปแบบก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบหลัก คือ “ความใกล้ชิด ความเสน่หา และความผูกมัด”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ความใกล้ชิด (Intimacy) คือ ความรู้สึกผูกพัน คุ้นเคย ใกล้ชิดสนิทสนม การแลกเปลี่ยนความคิด และการสื่อสารที่ดีมีความเข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางความสัมพันธ์ และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาว ถือเป็นองค์ประกอบด้านอารมณ์
  • ความเสน่หา (Passion) คือ ความรู้สึกหลงใหล ความดึงดูด หรือมีแรงขับทางเพศ ความรู้สึกพึงพอใจในรูปลักษณ์ภายนอก รวมไปถึงกิริยาท่าทาง การแสดงออก จริตต่าง ๆ เป็นส่วนที่ทำให้มีความต้องการในการดำเนินความสัมพันธ์ หรือทำให้เกิดความรู้สึกโรแมนติก ถือเป็นองค์ประกอบด้านแรงจูงใจ
  • ความผูกมัด (Commitment) คือ การตัดสินใจอะไรต้องทำร่วมกับอีกคน ไม่ว่าจะเป็นการตกลงทางด้านความสัมพันธ์ การตัดสินใจที่จะรักกัน การใช้ชีวิตร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ความรับผิดชอบในความสัมพันธ์ตามที่ตกลงกันไว้ และการวางแผนที่จะใช้ชีวิตด้วยกันต่อไปในระยะยาว เป็นองค์ประกอบทางด้านความคิด

แต่ไม่ว่าความสัมพันธ์ของคุณจะมีครบทั้ง 3 ข้อหรือไม่ สิ่งที่ควรต้องนำมาประกอบการพิจารณาก็คือ การเรียนรู้ว่าหากขาดข้อใดไป ควรที่จะปรับหรือเพิ่มอย่างไรให้พอดีกัน เพราะหากมีองค์ประกอบความรักเพียงอย่างเดียว อย่างไรความรักก็ไปไม่รอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัญหารักต่างวัย วิธีรับมือกับความต่าง พร้อม How To คบอย่างไรให้ลงตัว

 

ความสัมพันธ์ คืออะไร ?

ความสัมพันธ์ต่างมีหลากหลายมุมมองในตัวของมันเอง บางครั้งความสัมพันธ์อาจมาในรูปแบบของคำว่าสบายใจ มากกว่าคำว่ารัก และคำว่ารัก อาจจะไม่ได้แปลว่ารักจริง ๆ เพราะมนุษย์ชอบพูดในสิ่งที่ไม่ตรงกับใจมากกว่าสิ่งที่รู้สึก แต่บางความรู้สึกก็ไม่สามารถนิยามออกมาเป็นคำพูดได้ สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่การแสดงออกและการกระทำ และไอ้การกระทำเหล่านี้นี่แหละที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ชัดเจนบ้าง และไม่ชัดเจนบ้าง เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น เพราะโลกของเราไม่ได้กำหนดความสัมพันธ์มาเพียงรูปแบบเดียวดังนั้นไปเรียนรู้กันค่ะ ว่าแต่ละความสัมพันธ์นั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. แอบแซ่บ (Stashing)

ความสัมพันธ์แบบแอบแซ่บ เป็นสิ่งที่หนุ่มสาวยุคนี้นิยม โดยอาจจะเริ่มจากการคุย ออกเดต และจบที่บนเตียง แต่ทั้งนี้จะไม่มีใครรู้ เก็บเป็นความลับ ทำตัวเหมือนโสดเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นในสังคมหรือบนโซเชียล ก็ยังไม่มีแฟน ซึ่งความสัมพันธ์นี้หากไม่ได้มีใครที่คบหรือคุยอยู่ ก็อาจจะไม่แปลกอะไร เพราะอาจจะยังไม่พร้อมเปิดตัวก็ว่ากันไป แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายมีคนที่คบกันอยู่แล้ว ไม่ควรที่จะเอาตัวเองเข้ามาอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. มีแฟนแล้ว แต่ก็หาคนคุย (Cushioning)

คนที่อยู่ในสถานการณ์แบบ “ฉันมีแฟนแต่ก็หาคนคุยอยู่เพิ่มอีก” ส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีแฟนจริงจัง เป็นตัวเป็นตน แต่ก็ยังแอบปัดทินเดอร์ แอบให้ใจคนอื่นบ้าง โดยให้เหตุผลว่า อยากเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เจอคนใหม่ ๆ หากว่าคลิกกันมากกว่าคนเก่า ก็จะหยุดเดินต่อกับคนเดิมแล้วเลี้ยวไปหาคนใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งแอบเป็นความเห็นแก่ตัวที่เผื่อเลือกจนเกินไป หากใครได้เข้าไปอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้ เลือกได้ก็ออกมาจะดีกว่า

 

3. ความสัมพันธ์ ที่กลายเป็นผี เพราะอยู่ดีก็หาย (Ghosting)

ความสัมพันธ์แบบอยู่ดี ๆ ก็กลายเป็นผี เพราะไม่ตอบแชตหลังจากที่รู้สึกเบื่ออีกฝ่ายก็จะหายเงียบไป ทำตัวไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้ทุกช่องทาง เหมือนกับว่าไม่มีตัวตน คือนับเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ทำกันบ่อยมาก และจะไม่มีการอธิบายไว้ก่อนด้วยว่า จะหายไปไหน หายไปนานเท่าไร และจะกลับมาอีกหรือเปล่าก็ให้ความมั่นใจไม่ได้ นับเป็นความไม่ชัดเจนที่ชัดสุด ๆ เพราะถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้คือไม่จำเป็นเลยที่จะต้องรอ Move On ไปหาคนใหม่ดีกว่า

 

4. แฟนเดย์ (Cuffing season)

อยากมีแฟนแค่เฉพาะวันเทศกาล นับว่าเป็นอีกความสัมพันธ์ที่เห็นได้บ่อย เป็นความสัมพันธ์ที่มักเริ่มต้นด้วยความเหงา ความไม่อยากอยู่คนเดียว บางทีก็อยากมีแฟน แต่พอมีแฟนขึ้นมาจริง ๆ ก็รู้สึกเบื่อ แต่ก็ยังอยากได้รับความรัก วนลูปไปมา ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นในช่วงวันเทศกาล หรือบางฤดูกาลเท่านั้น เช่น ช่วงวันวาเลนไทน์ คริสต์มาส ปีใหม่ ช่วงวันสิ้นปี และพอรู้สึกหายเหงาแล้ว ก็จบความสัมพันธ์นั้นไป

 

5. คุยเผื่อเลือก (Benching)

ความสัมพันธ์แบบคุยเผื่อเลือก ถูกนิยามว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกอีกฝ่ายปล่อยให้รอ คุยซ้อนซ่อนเงื่อน ทำเหมือนเป็นตัวเลือก คุยกันด้วยความที่เหมือนจะศึกษาดูใจ ไม่ชัดเจน ไม่พร้อมเลือกใคร เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย เพราะคุยกับคนอื่นไปด้วย ยังไม่อยากมีแฟนแต่ก็คุยกับใครหลาย ๆ คน หากใครที่เป็นคนคุมเกมก็อาจจะสบายใจในระดับหนึ่ง แต่คนที่เป็นคนรอความรัก อาจจะต้องทนทุกข์เพราะทำอะไรไม่ได้ก็เป็นได้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. เช็กเรตติ้ง (Breadcrumbing)

ถ้าพูดง่าย ๆ ในความสัมพันธ์นี้ อาจเหมือนเป็นการเรียกร้องความสนใจ ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงคนเดียว ซึ่งการกระทำเหล่านั้น อาจจะมาจากการทำดี พูดจาหว่านล้อม ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้รับความสนใจจากอีกฝ่ายด้วยการรุกอย่างหนัก โดยที่ผลปลายทาง ไม่ได้ต้องการที่จะสานสัมพันธ์แบบจริงจังด้วย แต่ที่ทำแบบนี้ก็เพราะต้องการทำให้ตนเองรู้สึกดีที่มีคนอื่นมาให้ความสนใจและเอาใจใส่ตนเองมาก ๆ

 

7. ไม่เป็นตัวของตัวเอง (Eclipsing)

ถ้าพูดถึงความสัมพันธ์แบบนี้ อาจจะมีใครคนใดคนหนึ่งที่รู้สึกเหนื่อยมากกว่าก็เป็นได้ เพราะความสัมพันธ์แบบที่ “ไม่เป็นตัวเอง” ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะสถานการณ์ที่ฝ่ายหนึ่งยอมทำทุกอย่าง เปลี่ยนแปลงตนเอง ทำสิ่งที่ตนเองไม่ชอบหรือไม่ได้อยากทำ แต่ก็ยอมทำเพื่อให้อีกฝ่ายชอบ สนใจ หรือประทับใจอย่างฝืน ๆ ซึ่งในระยะเริ่มต้นก็อาจจะยังพอไหว ทำให้ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะกลายเป็นความเหนื่อย จนสุดท้ายต้องเลิกรากันไปในที่สุด

 

 

8. อยากเริ่มต้นใหม่กับคนเดิม (Orbiting)

การไม่มูฟออนก็คือว่า แม้ทั้งสองฝ่ายจะเลิกกันไปแล้ว ฝ่ายหนึ่งทำใจเดินหน้าต่อไปได้ แต่อีกฝ่ายยังไม่สามารถทำใจได้ และต้องติดอยู่ในภวังค์เดิม ๆ ยังตามส่องโซเชียลมีเดียของแฟนเก่า ตามกดไลก์กดแชร์ที่โปรไฟล์ของอีกคนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนทั้งนั้น เพราะในบางครั้งการอยู่ในจุดเดิมอาจจะเป็นความสบายใจของคนนั้นก็ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างบรรเทาลง อาจจะทำให้เริ่มต้นใหม่อีกครั้งก็ได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีจีบผู้ชายก่อนยังไงให้เนียน พร้อมเทคนิคแบบ (ไม่) ลับ ในการคุย!

เซ็กส์สำคัญกับชีวิตคู่ไหม เปิดใจฟังเพื่อปรับมุม กระชับรักที่คู่แต่งงานควรรู้

ทำยังไงให้สามีหึง ทริคเด็ดอย่างง่าย รับรองเลยว่าได้ผลแน่นอน

 

ที่มา : themanual , merriam-webster , bangkokbiznews

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn