ของแสลงคืออะไร หลังคลอดห้ามกินของแสลง จริงไหม นั่นเป็นเพราะคุณแม่เอง ยังคงต้องระวังเรื่องอาหารที่จะรับประทาน เป็นอย่างมาก ไม่แตกต่างจากช่วงตั้งท้อง แม้ว่าเราจะคลอดลูกออกมาแล้วก็ตาม นั่นเป็นเพราะลูกน้อย ยังคงต้องทานนมแม่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อาหารต่าง ๆ ที่คุณแม่ได้ทานไปในแต่ละมื้อ ย่อมจะส่งผลต่อน้ำนมที่จะให้กับลูก นั่นเอง
ของแสลงคืออะไร แสลง หมายถึง ไม่ถูกกับโรค ให้โทษ เป็นพิษ ดังนั้น หลังคลอดห้ามกินของแสลง นั่นก็หมายถึง หลังคลอดนั้น คุณแม่ไม่ควรทาน อาหารที่ให้โทษกับร่างกาย เช่น อาหารที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน อาหารที่ทำให้ท้องเสีย หรืออาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการกับร่างกาย นั่นเอง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง
1. อาหารรสจัด
คุณแม่ควรงด หรือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัดมาก ๆ ไม่ว่าจะเผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด หรืออาหารที่ใช้เครื่องปรุงแต่งมาก (กลิ่น สี และรส ตลอดจนการใช้สารเคมีกันบูด) เพราะในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ระบบการย่อยอาหารของคุณแม่จะผิดปกติไปจากเดิม โอกาสที่จะทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นเฟ้อ ก็มีได้ง่ายอยู่แล้ว แม้ว่าจะกินอาหารตามปกติก็ตาม คุณแม่หลาย ๆ คนที่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้ออยู่บ่อย ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้ค่ะ
2. อาหารก่อโรคกรดไหลย้อน
ในช่วงตั้งครรภ์นั้น โอกาสที่คุณแม่จะเป็นโรคกรดไหลย้อนก็มีมากขึ้นเป็นธรรมดา ส่วนอาการก็คงไม่ต้องพูดถึงตอนปกติเป็นยังไง ตอนตั้งครรภ์หนักกว่าหลายเท่า ซึ่งอาหารที่กินแล้วเสี่ยงทำให้เป็นกรดไหลย้อนก็ เช่น อาหารประเภทไขมันสูง, อาหารทอด, อาหารที่มีรสจัด, อาหารจำพวกแป้งที่ต้องอุ่นซ้ำ, ชา, กาแฟ, น้ำอัดลม, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ชีส, หมากฝรั่ง, รวมถึงยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ถ้าทราบแล้วก็ควรระวังให้ดี
3. อาหารที่กินแล้วท้องผูก
ท้องผูกกับคนท้องเป็นของคู่กัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดริดสีดวงทวารได้ง่าย อาหารที่กินแล้วทำให้ท้องผูก หรือย่อยได้ยาก คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงไว้ หรือลดปริมาณลงจะดีกว่าค่ะ แล้วหันมารับประทานอาหารที่กากใยสูง ๆ อย่างผัก และผลไม้แทน
4. อาหารที่กินแล้วแพ้ หรือ อาหารเป็นพิษ
ข้อนี้ก็คงทราบดีกันอยู่แล้ว ถ้าแพ้อาหารชนิดใดก็อย่าเผลอกินเข้าไป เพราะบางคนจะมีอาการแพ้มากขึ้นในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ เช่น อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้งที่คนแพ้กันมาก แค่ปกติตอนยังไม่ท้องกินเข้าไปก็แย่แล้ว ยิ่งถ้าแพ้ขึ้นมาในขณะตั้งครรภ์ล่ะจะเป็นอันตรายแค่ไหนก็ลองคิดดู ส่วนอาหารที่เป็นพิษนั้นจะมีแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นตัวสร้างสารพิษปนเปื้อนออกมาในอาหาร ถ้าคุณแม่รับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหารส่วนบน และลำไส้ส่วนบน ทำให้คุณแม่มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียน
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คุณแม่สมัยใหม่บางคนอาจจะอยู่ในสังคมธุรกิจ หรือมีการติดต่อพบปะผู้คนอย่างหลากหลาย บางทีก็มีงานเลี้ยงสังสรรค์ ที่จำเป็นต้องเข้าร่วม และอาจจะมีการดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ วิสกี้ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ ถ้าดื่มเพียงปริมาณเล็กน้อยก็คงไม่มีอันตราย หรือกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์หรอกค่ะ แต่ถ้าเลี่ยงได้ “คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด” จะดีกว่าค่ะ
6. อาหารสำเร็จรูป และ อาหารกระป๋อง
อาหารที่เก็บรักษาไว้ได้นาน มักจะมีสารเคมีเจือปนเพื่อเพิ่มรสชาติ และเพิ่มระยะเวลาในการเก็บ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสำเร็จรูปโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะไส้กรอก อาหารกระป๋อง เนื้อกระป๋อง แกงกระป๋อง ฯลฯ และที่สำคัญก็คือ คุณแม่ไม่ควรซื้ออาหารโดยไม่ได้อ่านฉลากระบุส่วนประกอบ และวันหมดอายุ เพราะคุณแม่จะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปนั้นมีอะไรบ้าง เพราะบางอย่างก็เป็นอันตรายต่อคุณแม่ และลูกในครรภ์ได้หากได้รับเข้าไปในปริมาณมาก เช่น ผงชูรส (MSG) ที่จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ และปวดศีรษะมาก
7. อาหารที่เก็บรักษาได้นาน (อาหารตากแห้ง, อาหารหมักดอง)
คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารตากแห้ง อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เพราะอาหารเหล่านี้จะมีส่วนประกอบของไนเตรตค่อนข้างมาก ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้การนำออกซิเจนจากเลือดไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง ทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยง ที่จะได้รับออกซิเจนน้อยลงตามไปด้วย
8. อาหารไขมันสูง
อย่างอาหารทอด หรือผัดที่ต้องใส่น้ำมันมาก ๆ ฯลฯ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวร้าย ที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง เพราะทานแล้วจะย่อยได้ยาก ถ้าทานมากก็ทำให้ท้องอืด แน่นท้อง อึดอัด และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยแปรสภาพเป็นไขมันไปจับอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ได้
9. ผงชูรส
วัตถุดิบที่ใช้ผลิตผงชูรสในปัจจุบัน คือมันสำปะหลัง และกากน้ำตาล โดยนำมาผ่านกระบวนการทางเคมี หลายอย่างจนออกมาเป็นผงชูรส หรือที่เรียกว่า “โมโนโซเดียม กลูตาเมต” (MSG) เป็นผงที่ละลายน้ำได้ดี มีรสเหมือนน้ำต้มเนื้อ มีคุณสมบัติกระตุ้นปุ่มปลายประสาท โคนลิ้น และลำคอ ทำให้รับรสอาหารได้ไวยิ่งขึ้น
10. แป้งกรอบ หรือผงกรอบ
หรือที่คนจีนเรียกว่า “เพ่งเซ” จัดเป็นสารเคมีจำพวกบอแรกซ์ที่นำมาใช้ในการปรุงอาหาร เพื่อให้อาหารมีความเหนียว และกรุบกรอบ อย่างเช่น ลูกชิ้น (ที่เราคุ้นเคย) คือมันก็กรอบอร่อยดี แต่มันก็มีอันตรายแฝงอยู่มากเช่นกัน คือจะทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหาร และลำไส้เป็นแผล เกิดอาการอาเจียน ท้องเดิน ในรายที่กินเข้าไปมาก ๆ คือครั้งละ 3 – 4 ช้อนชา ก็อาจทำให้ถึงตายได้เลย คงไม่ต้องสงสัยนะคะ ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทานแล้วจะเป็นอะไรหรือเปล่า ทางที่ดีถ้าคุณแม่รู้ว่า อาหารนั้น ๆ มีแป้งกรอบ หรือผงกรอบผสมอยู่ ก็ควรจะงดไม่รับประทานไปเลยจะดีกว่าค่ะ
11. ยาจีน หรือยาหม้อ
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยาบำรุงนั้น ในวงการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังไม่มีการพิสูจน์กันว่ายาจีน หรือยาหม้อ นั้นมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด หรือมีอันตรายใด ๆ หรือไม่ อีกทั้งตำรับ หรือส่วนผสมก็ไม่แน่นอน ควรทานจากแพทย์แผนจีน หรือแพทย์แผนไทย ที่มีการจ่ายโดยสถาบันแพทย์ประยุกต์ที่รับรองถูกต้องเท่านั้น ห้ามซื้อไปทานเอง
12. ชา กาแฟ โอเลี้ยง ช็อกโกแลต (เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน)
คุณแม่สมัยใหม่หลายรายจะติดการดื่มชา และกาแฟกันมาก ตอนตั้งครรภ์จะให้เลิกก็อาจตัดใจลำบากหน่อย เพราะการดื่มชาแก่ ๆ จะทำให้ท้องผูกได้ง่าย คนที่มีอาการท้องผูกอยู่แล้ว ควรจะหลีกเลี่ยงไว้ดีกว่าค่ะ เพื่อให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ หากผิดปกติไปจะทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดมาก และเกิดริดสีดวงทวารได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีชาบางชนิดที่ไม่ควรดื่ม เช่น ชาดอกคำฝอย เพราะชาชนิดนี้มีฤทธิ์ ทำให้มดลูกบีบตัว ซึ่งเป็นอันตรายต่อคุณแม่ อีกทั้ง สารแทนนิน ที่มีอยู่ในชายังขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กได้อีกด้วย
13. น้ำอัดลม
ส่วนใหญ่แล้วน้ำอัดลมจะประกอบไปด้วยน้ำ น้ำตาล และกาเฟอีนเหมือนที่มีอยู่ในกาแฟ สามารถให้ความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และมีน้ำตาลที่ช่วยเพิ่มพลังงาน แต่ในแง่ของคุณค่าทางอาหารนั้นไม่มีเลยค่ะ ถ้าดื่มมาก ๆ ก็ทำให้คุณแม่อ้วนได้ แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยง แล้วหันไปดื่มน้ำผลไม้คั้นสด หรือน้ำดื่มสะอาด ๆ ก็จะมีประโยชน์มากกว่า
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาหารต้องห้ามแม่ให้นม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 48 ห้ามกินอะไรบ้าง
5 เมนูอาหารสำหรับแม่ท้อง โดยเฉพาะ ถูกทั้งปากโดนทั้งใจ
ที่มา : medthai , motherhood , today.line