แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกลำไส้อักเสบ นานไม่รู้ตัว พร้อมวิธีสังเกตอาการ

สำหรับแม่ ๆ แล้ว โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อน ต้องยิ่งหมั่นสังเกตอาการลูก วันนี้เรามีประสบการณ์จริงจากคุณแม่ท่านหนึ่ง ลูกลำไส้อักเสบ เหตุเกิดจากน้องเริ่มอมมือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แชร์ประสบการณ์ ลูก ลำไส้อักเสบ พร้อมวิธีสังเกตอาการ

แม้ว่าส่วนใหญ่ ลำไส้อักเสบในเด็ก จะมีอาการไม่รุนแรง แต่บางครั้ง อาจทำให้เด็ก ๆ มีอาการขาดน้ำ และเกลือแร่อย่างรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ วันนี้เราได้หยิบประสบการณ์จริง จากคุณแม่ท่านหนึ่งที่ ลูก ลำไส้อักเสบ เหตุเกิดจากน้องเริ่มอมมือ

คุณแม่ของน้อง ได้แชร์เรื่องราวเอาไว้ว่า น้องอายุ 3 เดือน 23 วัน เหตุมันเกิดขึ้นจากน้องเริ่มอมมือ คุณแม่สังเกตว่า อุจจาระน้องเป็นน้ำ มีเหมือกใส ๆ เลยพาไปคลินิค หมอแจ้งว่า ลำไส้ติดเชื้อ แล้วก็ได้ให้ยากลับมาทานที่บ้าน

พอผ่านไปอาทิตย์นึง น้องยังมีอาการถ่ายเหลว มีมูกอยู่ ซึ่งน้องร่าเริงปกติ คุยเล่น ไม่มีไข้ ไม่มีอาการใด ๆ คนแก่มักบอกว่า เด็กพลิกตัว ช่วงยืดตัวท้องจะเสียปกติ แต่แม่กังวลใจ เลยพาไปโรงพยาบาล

วันนั้นน้องมีอาการหายใจไม่สะดวก ครืดคราดช่วงเช้า ตอนแรกคุณหมอจะให้กลับบ้าน แต่แม่ขอแอดมิท เพราะอยากให้ลูกได้รับยา เนื่องจากน้องกินยายาก ป้อนเองทีไร น้องจะอ้วก แหวะยาตลอด

เมื่อแอดมิทแล้ว พยาบาลก็ได้เจาะเลือดไปตรวจ พบว่า น้องมี ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากอาการท้องเสีย, ภาวะโลหิตจาง จากการที่ป่วยมานาน ทำให้มีเม็ดเลือดขาวมาก, กระเพาะปัสสาวะเริ่มอักเสบ และลำไส้ติดเชื้อ โดยเชื้อโรคเข้าสู่ทางปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอนนั้นคือ งงมาก เพราะภายนอกน้อง คือปกติทุกอย่าง ยายของน้องยังงง ที่แม่ขอแอดมิทในตอนแรก เพราะดูน้องไม่น่าจะเป็นอะไรมาก

น้องเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เป็นเวลา 3 วัน แถมตอนออกจากโรงพยาบาล คุณหมอยังบอกว่า น้องเป็นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ต้องระวังช่วงหน้าฝน ระวังฝุ่นละออง สุนัขแมว

จนถึงตอนนี้ แม่รู้สึกคิดไม่ผิด ที่ขอคุณหมอแอดมิท เพราะถ้ากลับบ้าน เราก็จะไม่รู้เลย ว่าภายในน้องแย่ขนาดไหน ยิ่งขาดน้ำ ขาดแร่ธาตุ น้องก็สามารถชักได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อยากฝากถึงแม่ ๆ ทุกคนนะคะ สังเกตทุกอย่างของลูก ถ้าเขามีอะไรผิดปกติ พาไปถึงมือหมอเลยค่ะ เพราะบางทีภายนอกเขาปกติ แต่ภายไหนเขาอาจต่อสู้กับโรค หรืออื่น ๆ อยู่ก็ได้ สังเกตเรื่องการหายใจ การขับถ่าย รวมไปถึง ปริมาณการกินนมของเขาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยได้มากเลยนะคะ

ลำไส้อักเสบในเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ลำไส้อักเสบ เกิดจากการติดเชื้อโรค ซึ่งมักได้แก่ เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ ไวรัสโรตา ซึ่งติดต่อได้ทางการสัมผัสกับอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย ที่อาจติดอยู่ตามของเล่น หรือสิ่งของที่เด็ก ๆ ใช้ร่วมกัน โดยมักระบาดในช่วงฤดูหนาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) ที่ก่อโรคไข้ไทฟอยด์ เชื้อชิเกลลา (Shigella) ที่ก่อโรคบิดไม่มีตัว ซึ่งมักปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม

เนื่องจากเด็ก ๆ มักอยู่ใกล้ชิดกัน ในสถานที่จำกัด เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ โรงเรียน จึงมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคผ่านของเล่น ของใช้ ปนเปื้อนอุจจาระ ที่มีเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว ทำให้มีการติดเชื้อได้ง่ายในเด็ก

ทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีอาการของลำไส้อักเสบ?

หากลูกมีอาการถ่ายเหลว มีปริมาณมากกว่าปกติ ร่วมกับปวดท้อง ท้องอืด และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ร่วมด้วย อุจจาระอาจมีมูกเลือดปนได้ ถ้ามีลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แสดงว่าลูกมีอาการของลำไส้อักเสบค่ะ และหากลูกดูซึมลง ปากแห้ง ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะออกน้อย แสดงว่ามีอาการรุนแรงจากการสูญเสียน้ำมาก โดยอาการจะเกิดในเวลาประมาณ 1-2 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรค

หากลูกเป็นลำไส้อักเสบคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?

หากลูกมีอาการของลำไส้อักเสบแบบไม่รุนแรงคือ ถ่ายเหลวปริมาณไม่มาก ทานน้ำและอาหารได้ ไม่ซึม คุณพ่อคุณแม่ สามารถให้การดูแลเบื้องต้นได้ โดยให้ลูกจิบน้ำเกลือแร่ในปริมาณใกล้เคียงกับที่สูญเสียไป โดยค่อย ๆ จิบทีละน้อยจากแก้ว หรือใส่ช้อนตักป้อน

หากลูกยังทานนมแม่อยู่ก็ควรให้ทานต่อไป เพราะในนมแม่มีภูมิต้านทาน ที่ช่วยให้อาการหายได้เร็วขึ้น สำหรับอาหารที่ควรทาน ในช่วงที่มีอาการลำไส้อักเสบ ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย โดยเฉพาะข้าวต้ม หรือโจ๊ก แต่ถ้าหากลูกมีอาการรุนแรง เช่น ซึม มีไข้สูง ถ่ายปริมาณมาก มีมูกเลือดปน ทานได้น้อย ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ

เราจะป้องกันไม่ให้ลูกเป็นลำไส้อักเสบได้อย่างไร?

การป้องกันไม่ให้ลูกเป็นลำไส้อักเสบ มีวิธีการง่าย ๆ คือ สอนให้ลูกรู้จักรักษาสุขอนามัย ตั้งแต่วัยเริ่มเรียนรู้ โดยรู้วิธีการล้างมือให้สะอาด ทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น

การให้ลูกดื่มนมแม่ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันลำไส้อักเสบติดเชื้อได้ หากลูกดื่มนมผสม คุณพ่อคุณแม่ก็ควรล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมนม ดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ เช่น ขวดนม และจุกนมให้ดี เพราะอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ปัจจุบันเรายังมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันลำไส้อักเสบ จากการติดเชื้อไวรัสโรตา ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างแพร่หลายค่ะ

ที่มา : 1

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกลำไส้อักเสบเกือบเน่า ยายเอาน้ำต้มสุกใส่ขวดนมให้ทารก 20 วันกิน หวิดเสียชีวิต

ทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน ถ่ายเหลวแบบไหนปกติ ถ่ายเหลวแบบไหนเป็นลำไส้อักเสบ

โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความโดย

PP.