อยากมีลูกแฝดแบบแม่ชม แม่โอป หมอบอกเลยว่า ตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!

ใคร ๆ ก็อยากมีลูกแฝด น่ารักแพ็คคู่ คลอดทีเดียวได้ 2 คน (ขึ้นไป) แต่รู้กันหรือเปล่าว่า ตั้งครรภ์แฝด เป็นเรื่องยาก ตั้งแต่ขั้นตอนก่อนตั้งครรภ์ ไปจนคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!

โดยทั่วไปการตั้งครรภ์ในมนุษย์จะมีเด็กทารกเพียงคนเดียวในครรภ์ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติกำหนดให้มีไข่ตกเพียงฟองเดียวในแต่ละรอบเดือน เมื่อสตรีตั้งครรภ์จึงมีโอกาสเป็นการตั้งครรภ์เดี่ยวมากที่สุด อย่างไรก็ตาม พบว่าส่วนน้อยประมาณร้อยละ 5-10 ของสตรีตั้งครรภ์ที่จะมีโอกาส ตั้งครรภ์แฝด

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรนั้น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่มีบุตรยาก ซึ่งรักษาด้วยการกระตุ้นไข่ทำเด็กหลอดแก้วหรือฉีดน้ำเชื้อผสมเทียม จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดสูงขึ้นชัดเจนกว่าคนทั่วไป

  • โดยภาพรวมการตั้งครรภ์เดี่ยวถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่า
  • ภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
  • เด็กทารกมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า
  • มารดามีน้ำนมพอเพียงในการเลี้ยงบุตร
  • ทารกที่เกิดจากการตั้งครรภ์แฝดมักจะมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ตัวเล็ก ขึ้นกับอายุครรภ์ที่คลอด และการเจริญเติบโตในครรภ์ของทารกด้วย

 

ฝาแฝดยิ่งมีมาก น้ำหนักทารกในครรภ์ (แต่ละคน) ยิ่งน้อย

ในกรณีตั้งครรภ์เดี่ยวน้ำหนักแรกคลอดของทารกอยู่ราวประมาณ 2800-3200 กรัม หากเป็นแฝดสอง ทารกแต่ละคนอาจมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 2000-2500 กรัม ยิ่งเป็นแฝดสาม แฝดสี่ หรือ แฝดห้า ยิ่งมีน้ำหนักตัวที่น้อย (น้ำหนักทารก 1500, 1000-1200, 600-1000 กรัม ตามลำดับ) และมีโอกาสปอดทำงานผิดปกติสูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้มีโอกาสเกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้  

การตั้งครรภ์แฝดจัดว่าเป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ สูติแพทย์ทั่วไปจึงต้องให้ความใส่ใจครรภ์แฝดเป็นพิเศษ และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้ผมลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดนั้นเอง

 

การตั้งครรภ์แฝดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. แฝดเหมือน (จากไข่ใบเดียวกัน) เมื่อมีการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้วยังคงมีการแบ่งต่อเป็น 2 ตัวอ่อน ซึ่งจะมีหน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน แต่หากการแบ่งไม่สมบูรณ์จะเกิดเป็นแฝดติดกันได้
  2. แฝดไม่เหมือน (จากไข่คนละใบ) เกิดจากมีไข่ 2 ใบ ผสมกับอสุจิ 2 ตัว เสมือนพี่น้องท้องพร้อมกัน จึงมักเป็นแฝดที่มีหน้าตาคล้ายกัน อาจเป็นเพศเดียวกันหรือคนละเพศก็ได้ ทางการแพทย์มีความจำเป็นต้องแยกชนิดแฝดให้ได้เพื่อการวางแผนดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ท้องแฝดควรระวังสิ่งต่างๆ ดังนี้

การดูแลครรภ์แฝด ไตรมาสแรก

  • มีโอกาสแท้งบุตรสูงกว่าปกติ ควรฝากครรภ์ให้เร็ว หมั่นดูแลสุขภาพตนเอง คอยสังเกตหากมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือหน่วงท้องน้อยให้รีบมาพบแพทย์
  • มักจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าทั่วไป เนื่องจากฮอร์โมนตั้งครรภ์จะสูงขึ้นมากและรวดเร็ว ให้รับประทานอาหารอ่อน มื้อละน้อยแต่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรือมีกลิ่นฉุน เลี่ยงเครื่องดื่มน้ำอัดลม พักผ่อนให้เพียงพอ
  • มีความเสี่ยงของเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้มากขึ้น ควรเน้นควบคุมอาหารให้ลดสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรท เพิ่มโปรตีนที่ย่อยง่าย และผัก ควรจำกัดปริมาณอาหารให้พอดี ไม่มากจนเกินไป

 

การดูแลครรภ์แฝด ไตรมาสที่สอง

  • จะมีน้ำหนักตัวขึ้นเร็วและมากกว่าตั้งครรภ์เดี่ยว กล้ามเนื้อหลังและน่องจะแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นตะคริวได้ง่าย จึงต้องหลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดินนานๆ ควรนั่งพัก เปลี่ยนท่าหรืออริยะบทบ่อยๆ สามารถนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือประคบอุ่นได้ เพื่อลดอาการเมื่อยล้า
  • สังเกตลูกดิ้น เนื่องจากมีทารกหลายคน การนับจำนวนครั้งโดยรวมเหมือนทั่วไปจึงไม่สามารถบอกสุขภาพของเด็กทารกแต่ละคนได้ แต่ให้คุณแม่สังเกตให้ดี จะสามารถแยกแยะได้ว่าลูกคนไหนดิ้นโดยแบ่งเป็นส่วนของหน้าท้อง เช่น ด้านขวา ด้านซ้าย ด้านบน ด้านล่าง เป็นต้น

 

การดูแลครรภ์แฝด ไตรมาสที่สาม

  • ครรภ์แฝดมักจะพบเรื่องรกเกาะต่ำเพิ่มขึ้น อาจมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้
  • ครรภ์แฝดจะพบครรภ์เป็นพิษได้มากกว่าทั่วไป จึงต้องสังเกตเรื่องความดันโลหิตว่าสูงหรือไม่ ขาบวมมากขึ้นเยอะหรือไม่ ปวดศีรษะ จุกแน่นลิ้นปี่ ชายโครงบ่อยๆ หรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยรวมการตั้งครรภ์แฝดเป็นภาวะเสี่ยงทางสูติศาสตร์ที่สำคัญ แต่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน การดูแลเอาใจใส่จากมารดา และพบสูติแพทย์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผ่านพ้นการตั้งครรภ์แฝดนี้ไปได้ และพร้อมที่จะต้อนรับสมาชิกใหม่ต่อไป

 

ภาพจาก : www.facebook.com/OpalPanisaraOfficial/

และ https://www.facebook.com/Thunder-and-Storm-official-122879205031697/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“นมชมพู่” น้ำนมเหลืองหลังคลอด ของแม่ชมที่ป้อนให้สายฟ้า-พายุ อยากรู้มั้ย มีดียังไง

ถึงจะสีผิวต่างกัน แต่หนูก็เป็นฝาแฝดกันนะคะ

หมอโอ๊คให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา เป็นห่วงโอปอล์ ครรภ์เป็นพิษ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด