โรคนิ้วล็อกในเด็ก พบได้ตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่จะมีวิธีสังเกตอาการลูกน้อยได้อย่างไร

ความเชื่อที่ว่า อาการนิ้วล็อกสามารถพบได้ในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น โดยเฉพาะแม่บ้าน หรือคนที่ทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้นิ้วเป็นหลัก บางรายมีอาการเป็นไม่หนักมาก แค่นวดหรือทายาก็สามารถหายได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคนิ้วล็อกในเด็ก สามารถพบได้ทั่วไปจริงหรือ? ความเชื่อที่ว่า อาการนิ้วล็อกสามารถพบได้ในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น โดยเฉพาะแม่บ้าน หรือคนที่ทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้นิ้วเป็นหลัก บางรายมีอาการเป็นไม่หนักมาก แค่นวดหรือทายาก็สามารถหายได้ แต่บางรายเป็นหนักถึงขั้นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำงานผ่าตัดกันเลยทีเดียว ก่อนอื่นที่เราจะไปทำความเข้าใจกับอาการนิ้วล็อกของผู้ใหญ่ เรามาดู โรคนิ้วล็อกในเด็ก ก่อนว่าเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

 

โรคนิ้วล็อกในเด็ก พบได้ตั้งแต่แรกเกิดจริงหรือ?

โรคนิ้วล็อกในเด็ก (Congenital Trigger Finger ) สามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่แรกเกิด ส่วนใหญ่มักเป็นกับ “นิ้วโป้ง” ซึ่งเกิดจากเข็มขัดรัดเส้นเอ็นหดตัว และหนาขึ้นจนบีบรัดเส้นเอ็นนิ้วโป้ง ทำให้นิ้วไม่สามารถเหยียดตรงได้ นิ้วโป้งหนูๆ จึงอยู่ในท่างอ บางรายพบว่าเป็นทั้ง 2 ข้าง หรือนิ้วอื่นๆ ก็เป็นด้วย ซึ่งโรคนิ้วล็อกในเด็ก พ่อแม่อาจไม่ทันสังเกตว่าลูกเป็น เนื่องจากเด็กทารกยังไม่สามารถเหยียดร่างกาย นิ้วมือ นิ้วเท้าได้ตรงสุด

 

วิธีสังเกตอาการนิ้วล็อกของลูกน้อย

ว่ากันว่า การสังเกตอาการ โรคนิ้วล็อกในเด็ก ทารกนั้นยากมาก ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีเด็กอายุน้อยสุดที่เคยมีการบันทึกไว้ว่านิ้วล็อก ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุ 3 เดือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่จะเห็นความผิดปกติเมื่อลูกอายุ 6 เดือนไปแล้ว เพราะลูกจะเริ่มกางนิ้วเพื่อหยิบจับของต่างๆ มากขึ้น ทั้งนี้บางคนกว่าคุณพ่อคุณแม่จะรู้ว่านิ้วลูกน้อยผิดปกติอายุก็เข้า 2-3 ปีไปแล้ว ยิ่งลูกมีอาการน้อย ยิ่งสังเกตยาก บางคนกว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อพาลูกไปพบแพทย์ด้วยโรคอื่นๆ ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่พยายามหมั่นสังเกตร่างกายของลูกตั้งแต่แรกเกิดว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง: ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง โรคที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด แม่ต้องรู้และคอยระวัง

 

โรคนิ้วล็อกในเด็ก แรกเกิดนั้นสามารถรักษาได้เลยหรือไม่?

เมื่อลูกน้อยมีอาการนิ้วล็อก คุณพ่อคุณแม่มักเป็นกังวลว่า ลูกอาจไม่สามารถรักษาได้ในทันที เพราะยังอายุน้อยมาก แต่บางครั้งอาการนิ้วล็อกอาจหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งรักษาง่ายๆ โดย

 

1. คุณพ่อคุณแม่ช่วยคลึงฐานนิ้วหรือตามนิ้ว

เมื่อลูกน้อยเกิดอาการนิ้วล็อก คุณพ่อคุณแม่หงายมือลูกแล้วคลึงตรงฐานนิ้วด้านใน ในกรณีการหดรัดไม่รุ่นแรงนัก ค่อย ๆ นวดคลึงเบา ๆ นิ้วน้อย ๆ ก็สามารถเหยียดออกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. การรักษาทางกายภาพบำบัด

ถ้าอาการของ โรคนิ้วล็อกในเด็ก ไม่พบตั้งแต่เกิด หากพบความผิดปกติในช่วง 1-2 ขวบปี พบว่าการพัฒนาการของการใช้งานผิดปกติ นิ้วโป้งอยู่ในท่างอ เหยียดไม่ได้ ดึงไม่ออก ในเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้การนวดดัดยืดให้พังผืดอ่อนตัว บางครั้งอาจจำเป็นต้องดามนิ้วมือไว้ หรือให้คุณหมอทำกายภาพบำบัดเช่น ดัดนิ้ว ประมาณ 1 สัปดาห์อาการก็จะดีขึ้นสามารถเหยียดนิ้วได้ ทั้งนี้คุณหมออาจลองให้ใส่เฝือกดามนิ้วไว้ แต่มือเด็กมีขนาดเล็กมาก เฝือกมักจะหลุดบ่อย ดูแลยาก นิ้วจึงไม่หายงอ เพราะว่าไม่มีการรักษาวิธีใดวิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าได้ผลดีอย่างชัดเจน อาจรอให้เด็กอายุ 1-2 ขวบก่อน

 

3. การรักษาโรคนิ้วล็อกในเด็กโดยการผ่าตัด

ถ้าเด็กไม่สามารถหายเอง หรือทำกายภาพก็ยังไม่หาย ทางที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดแก้ไข ที่สำคัญควรรักษาก่อน 3 ขวบ เนื่องจากก่อนเข้าเรียนชั้นอนุบาล อาการนิ้วล็อกจะได้มาเป็นอุปสรรคต่อลูกเวลาทำกิจกรรมหรือเรียนหนังสือ ซึ่งการผ่าตัดจะทำได้โดย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กรีดเข็มขัดรัดเส้นเอ็นเพื่อคลายเส้นเอ็นที่รัดนิ้วออก
  • เจาะแล้วตัดปีกของกล้ามเนื้อและเข็มขัดรัดเอ็นส่วน A3 ข้อดีของการเจาะรักษาคือไม่ต้องดมยาสลบเพียงฉีดยาชาตำแหน่งที่เจาะ
  • ห้ามโดนน้ำ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในนิ้วของเด็ก ซึ่งจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น

 

โรคนิ้วล็อกบอกสาเหตุของโรคอื่นๆ ในเด็กได้

โรคนิ้วล็อกในเด็กเกิดจากเข็มขัดรัดเส้นเอ็น หรือเด็กโตขึ้นมาหน่อยมักมาจากการทำกิจกรรมอื่น ซึ่งเด็กอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับมือเพียงอย่างเดียว เช่น เอ็นมีการเจริญผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคข้อยึด โรคเอ็นยึด หรือเอ็นบางเส้นขาดหายไป แต่หลายครั้งหลายครั้ง อาการนิ้วล็อกก็อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับนิ้วมือเลย เช่น โรคทางสมองบางชนิด โรคที่มีการสะสมของสารบางชนิดซึ่งส่งผลให้เส้นเอ็นหนาขึ้นจนบวมติดกับข้อนิ้วเด็กจนขยับไม่ได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ถุงมือเด็กแรกเกิดปิดกั้นพัฒนาการ ถุงมือทารกแรกเกิดไม่จำเป็น!

 

โรคนิ้วล็อกที่เกิดในผู้ใหญ่

โรคนิ้วล็อกที่เกิดในผู้ใหญ่ (Adult Trigger Finger) หลังจากทราบเกี่ยวกับ โรคนิ้วล็อกในเด็ก ไปแล้วและปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เรามารู้จักโรคนิ้วล็อคที่เกิดในผู้ใหญ่กันบ้าง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงาน มีการออกแรงในการกำมือหรืองอนิ้วบ่อยๆ เช่น ซื้อของ หิ้วของหนักโดยที่ใช้เพียงแค่นิ้วเกี่ยวไว้จนทำให้เกิดการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นจนกดรัดการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในมือที่ถนัดใช้งาน

 

อาหารนิ้วล็อกทั่วไปของผู้ใหญ่

สังเกตได้ว่านิ้วที่ใช้งานบ่อยจะมีการมากที่สุด เช่น นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลางและนิ้วนาง นิ้วก้อยจะพบน้อยมาก เพราะเป็นนิ้วที่คนเราไม่ค่อยออกแรง บางครั้งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ ผู้ป่วยนิ้วล็อกส่วนใหญ่มักมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว ตรงปุ่มนูนๆ ด้านในฝ่ามือลองกดแล้วจะปวด บางรายอาจคลำได้ก้อนนูนขึ้นบริเวณด้านฝ่ามือ หากเป็นมากเราจะรู้สึกได้ว่า นิ้วมือติดขัดหรือล็อค เคลื่อนไหวไม่สะดวก งอไม่ลง เหยียดไมได้ โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอนและมีอาการปวดมาก

 

โรคนิ้วล็อกสามารถแบ่งอาการได้ 4 ระยะ

ระยะ 1 ระยะอักเสบ (1ST: Inflammation)

ผู้ป่วยอาจยังไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด ไม่มีอาการสะดุดขณะงอนิ้วมือชัดเจน แต่มีอาการปวดบริเวณฝ่ามือตรงกับ ปลายหัวแม่โป้งไปจนถึงฐานนิ้วโป้ง ซึ่งหากพบว่ามีอาการกดแล้วเจ็บบริเวณดัง หรือเจ็บมากแม้เพียงออกแรงกดเบาๆ แพทย์อาจลองให้ผู้ป่วยขยับงอหรือเหยียดนิ้ว จะรู้สึกไม่ราบเรียบเหมือนปกติ แต่ยังไม่มีอาการสะดุดชัดเจน ผู้ป่วยจะรู้สึกแค่ขัดๆ ไม่สบายนิ้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ระยะ 2 นิ้วสะดุด (2nd: Triggering)

ระยะนี้จะมีอาการมากขึ้น เนื่องจากปลอกเส้นเอ็น จะขยายตัวหนามากขึ้น รัดเส้นเอ็นมากขึ้น ขนรู้สุกติดขัดในนิ้ว ทำให้การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นไม่สะดวก เช่น งอนิ้วมือแต่เหยียดนิ้วไม่ออก หรือเหยียดได้แต่ไม่สุด นอกเหนือจากการกดเจ็บบริเวณปลอกเส้นเอ็นแล้ว นิ้วมือของผู้ป่วยจะมีอาการกระตุกนิดๆ หรือรู้สึกกระดูกขัดๆ อยู่ด้านในนิ้วมือแม้จะเยียดนิ้วได้ก็ตาม

 

ระยะ 3  นิ้วล็อก (3rd: Locking)

ผู้ป่วยนิ้วล็อกจะมีอาการหนักขึ้น โดนมีความรู้สึกว่าการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นถูกขัดขวางได้อย่างชัดเจน จนกระทั่งเกิดการล็อก จากที่นิ้วงออยู่แล้ว ก็ไม่สามารถงอได้อีก หรืองอนิ้วลงก็ไม่สามารถเหยียดออกได้เลย อาจจะต้องใช้มืออีกข้างช่วยเหยียด ช่วยดึง นอกจากนี้ คนที่เป็นนิ้วล็อกถึงระยะสามแล้ว จะมีอาการปวดมากตรงฐานนิ้ว ยิ่งกดยิ่งปวด บางรายพยายามนวดฐานเพื่อให้สามารถเหยียดนิ้วออกได้ แต่กลับยิ่งทำให้เกิดอาการอักเสบมากขึ้น

 

ระยะ 4 นิ้วล็อกขั้นเรื้อรัง (4th : Flexion Contracture)

อาการของโรคนิ้วล็อกในระยะที่ 4 นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดรุนแรงมาก แค่ขยับนิ้วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ป่วยระยะเรื้อรังนี้ เกิดจากการปล่อยปละละเลยอาการ เนื่องจากวางใจเกินไปว่า อาจจะหายเอง หรือทนอาการบาดเจ็บของนิ้วไม่รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ปล่อยจนเกิดอาการที่มากขึ้น ทั้งนี้แพทย์อาจจะต้องทำการผ่าตัดบริเวณปลอกเส้นเอ็น แล้วใส่เฝือกที่นิ้ว

 

ภาพของปลอกเส้นเอ็น (Pulley) และเส้นเอ็นที่ถูกรัดจนบวม (Swollen Tendon)

ผู้ป่วยโรคนิ้วล็อกที่สนใจการรักษาโดยแพทย์แผนจีน

ปัจจุบันการแพทย์แผนจีนเข้ามามีบทบาทในการรักษามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบประสาทอย่างการฝังเข็ม ซึ่งในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียกโรคนิ้วล็อกว่า เป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ เกิดจากการที่ผู้ป่วยใช้งานนิ้วหักโหมเกินไป จนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ แพทย์แผนจีนยังเชื่ออีกว่า อาการนิ้วล็อกเกิดจากความเย็น ความชื้น เข้าไปอุดกั้นเส้นลมปราณ จึงทำให้ชี่ (พลังชีวิต หรือลมปราณตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ที่ไหลเวียนไปมาในร่างกายเป็นรูปแบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต) และเลือดเกิดการติดขัดไหลเวียนไม่คล่อง เมื่อชี่และเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น

 

1. การรักษาด้วยการทุยหนา (นวดจีน)

หลักการรักษาคือ การนวดคลายเส้นเอ็น ทะลวงเส้นลมปราณ เพิ่มการไหลเวียน สลายเลือดคั่ง โดนหลัก ๆ แพทย์แผนจีนจะใช้ท่าทางการรักษาที่สำคัญได้แก่  การกดจุด การคลึงกล้ามเนื้อ การเค้น การดัน การถู การเขย่าไปที่พลังลมปราณของร่างกายหรือตรงบริเวณที่เจ็บป่วย

 

2. การรักษาโรคนิ้วล็อกด้วยสมุนไพรจีน

สมุนไรจีนมีชื่อเสียงในการรักษาโรคนับพันปี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาในแพทย์แผนปัจจุบันด้วยในบางโรงพยาบาล ซึ่งการรักษาโรคนิ้วล็อกนี้ ยาสมุนไพรจีนจะช่วยทำให้เส้นเอ็นคลายตัว สามารถทะลวงเส้นลมปราณ  เพิ่มการไหวเวียนของเลือดพร้อมกับสลายเลือดคั่ง ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำให้แช่มือไว้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำได้วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที โดยวิธีนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาแต่ดีตรงไม่มีแผลผ่าตัดหรือเข้าเฝือกเลย

 

บทความที่น่าสนใจ:

การเคลื่อนไหว : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !

โรคต้อหินในเด็ก ทารกเป็นโรคต้อหิน ลูกเป็นโรคต้อหินได้ตั้งแต่เล็ก ถ้าแม่ไม่ระวัง

 

ที่มา:  huachiewtcm , babybbb

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan