การสัมผัสทารกแรกเกิด ควรมีวิธีการรับมือยังไง? มาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับเด็กวัยแรกเกิด แน่นอนว่าผิวของลูกน้อยก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างบอบบางมาก ๆ หากเราสัมผัสกับตัวลูกน้อย และมือที่เราใช้สัมผัสนั้นไม่สะอาด สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ผิวของลูกน้อยเป็นผดผื่นขึ้นมาได้ หากใครที่อยากรู้ว่า การสัมผัสทารกแรกเกิด  หรือการอุ้มลูกน้อยที่ดีและถูกต้องควรทำยังไงบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ

 

ลักษณะผิวของทารกแรกเกิดเป็นยังไง?

สิ่งนี้น่าจะเป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่พอจะทราบกันดีว่า ผิวของทารกเป็นอะไรที่ค่อนข้างบอบบาง ซึ่งระบบโครงสร้างภายในผิวหนังของลูกน้อยอาจจะยังไม่ค่อยแข็งแรงเท่ากับผู้ใหญ่ขนาดนั้น เพราะฉะนั้นการสัมผัสผิวของทารกตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญและเราควรต้องดูแลเอาใจใส่ลูกน้อยของเราให้เป็นอย่างดี เพื่อที่เด็ก ๆ เขาจะได้มีผิวหนังที่แข็งแรง และไม่ได้ผลกระทบต่าง ๆ ที่ตามมาด้วยนั่นเองค่ะ

 

วิธีการอุ้มทารกแรกเกิดในครั้งแรก ควรทำยังไงดี?

ต้องขอบอกคุณพ่อคุณแม่ก่อนเลยว่า ทุกครั้งที่เราพูดถึงการสัมผัสทารกตั้งแต่แรกเกิด การอุ้มลูกน้อยก็ค่อนข้างเป็นอะไรที่สำคัญและเราควรดูแลเอาใจใส่มาก ๆ เลย สำหรับใครที่กำลังเข้าสู่การเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ และอยากที่จะลูกว่าขั้นตอนการอุ้มลูกที่ดีเราควรต้องทำยังไงบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุ้มลูกเข้าเต้า ลูกดูดนมแม่ ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนให้ลูกคลายหนาว

 

1. ท่าอุ้มลูกแบบนอนคว่ำ

เริ่มแรกของการอุ้มลูกในท่านอนคว่ำ คุณแม่อาจจะต้องให้ลูกน้อยนอนคว่ำบริเวณส่วนแขนของเราก่อน โดยให้หัวของลูกน้อยจะหันไปทางข้อศอกของเรานั่นเอง ซึ่งต้องบอกคุณแม่ด้วยนะคะว่าหากใครที่ชอบอุ้มลูกด้วยท่านี้ เราควรที่จะหันหน้าลูกออกมาข้างนอก เพื่อที่เจ้าตัวเล็กจะได้หายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น หรือสำหรับใครที่อยากจะให้ลูกน้อยหลับในท่านี้ เราก็อาจจะใช้มือค่อย ๆ ลูบหลังลูกตามไปด้วยได้เลยนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ท่าอุ้มลูกวางบนตัก

สำหรับท่าที่เหมาะสำหรับการอุ้มลูกต่อมาเลย อาจจะเป็นท่าอุ้มลูกแบบวางบนตัก ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่อยากอุ้มลูกในท่านี้เราก็อาจจะต้องพยายามนั่งในท่าที่สบาย โดยเราอาจจะเอาข้างทั้งสองข้างมาแนบชิดติดกัน จากนั้นให้วางตัวลูกไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง และให้เราวางตำแหน่งหัวลูกน้อยไว้ใกล้ ๆ กับหัวเข่า บอกเลยนะคะว่าการอุ้มลูกในท่านี้ก็เป็นอะไรที่ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกปลอดภัยมาก ๆ เช่นเดียวกัน

 

3. ท่าอุ้มลูกหันหน้าเข้าหากัน

ท่าอุ้มลูกที่น่าสนใจต่อมาเป็นท่าอุ้มลูกที่หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งการอุ้มลูกในท่านี้บอกเลยว่าทำตามได้ไม่ยากเลย ขั้นตอนการอุ้มให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกให้อยู่ในระดับอก จากนั้นให้เราใช้มือประคองศีรษะและคอของลูกไว้ด้วย โดยเราจะใช้มืออีกข้างในการประคอง ส่วนมืออีกข้างเราจะใช้รองบริเวณใต้ก้นและส่วนที่เป็นสะโพกของลูกตามไปด้วย และค่อย ๆ แนบลำตัวของลูกน้อยให้ชิดกับลำตัวของเรา หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากจะพูดคุยหรือหยอกล้อกับลูกน้อยตามไปด้วย ท่าอุ้มแบบนี้เป็นอะไรที่ตอบโจทย์มาก ๆ เลยล่ะค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ท่าอุ้มลูกแบบฟาดหลัง

ท่าอุ้มต่อมาคือท่าอุ้มลูกแบบฟาดหลัง ซึ่งการอุ้มลูกในลักษณะนี้เราจะอุ้มลูกให้ขนานไปกับลำตัวของเรา จากนั้นเราก็จะยกลำตัวของลูกน้อยขึ้นมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงขึ้นมา ซึ่งอาจจะอยู่ในระดับไหล่ได้เลย ในส่วนของการประคองเราจะใช้มืออีกข้างในการประคองศีรษะและลำคอของลูกน้อย และมืออีกข้างเราจะใช้ประคองบริเวณก้นและหลังของลูกน้อยนั่นเองค่ะ

 

5. ท่าอุ้มลูกแบบไกวเปล

สำหรับท่าอุ้มลูกแบบไกวเปล ท่านี้เราจะอุ้มลูกให้อยู่ในระดับช่วงอก ซึ่งการอุ้มลูกในท่านี้เราจะวางตัวลูกให้ขนานไปกับตัวของเรา จากนั้นให้เราใช้มืออีกข้างในการประคองศีรษะและคอของลูกน้อย และมืออีกข้างเราก็จะใช้รองสะโพกและก้นของลูกน้อย หากคุณพ่อคุณแม่อยากที่จะให้ลูกน้อยของเราหลับได้สบายมากขึ้น เราก็อาจจะต้องพยายามให้ศีรษะของลูกน้อยมาอยู่ในระหว่างตำแหน่งข้อศอก พร้อมกับหันหน้าลูกออกมาด้านนอก เพื่อที่เด็ก ๆ เขาจะได้นอนหลับได้อย่างสบาย และหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้นนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่ควรทำในการอุ้มลูกคืออะไร?

อย่างที่รู้กันดีว่าเมื่อเราเริ่มเข้าสู่การเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เราก็อาจจะยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการอุ้มลูก และเราก็อาจจะยังไม่รู้ว่าการอุ้มลูกที่ดีนั้น นอกจากท่าอุ้มที่เหมาะสมแล้วนั้น เราควรทำยังไงบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูเคล็ดลับในการอุ้มลูกที่ดีไปพร้อมกันเลยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เป้อุ้มลูก ข้อดีที่แม่ต้องรู้ เป้อุ้มทารกมีประโยชน์อะไรบ้าง

 

1. ไม่เขย่าลูก

ทุกครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูก เราไม่ควรที่จะอุ้มลูกไปด้วย เขย่าลูกไปด้วย เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยของเราได้ง่ายมาก ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการตกใจจนร้องไห้ขึ้นมาได้เลย

 

2. ประคองลูกไว้ให้ดี

สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญคือการประคองลูกไว้ให้ดี อย่างที่เรารู้กันดีว่าเด็กทารก หรือเด็กวัยแรกเกิดเขาไม่สามารถที่จะทรงตัวได้ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นเราควรที่จะต้องประคองบริเวณศีรษะและคอของลูกน้อยตามไปด้วย หากเมื่อไหร่ที่เราไม่ประคองลูก สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเราได้รับอันตรายได้

 

3. ล้างมือให้สะอาด

เรื่องของความสะอาดก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องระวัง ทุกครั้งของการอุ้มลูกเราควรที่จะต้องล้างมือให้สะอาด เพื่อสิ่งนี้จะช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย และช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวของลูกน้อยได้ หากเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้ล้างมือให้สะอาดก่อนอุ้มลูก สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ผิวของลูกน้อยเกิดผดผื่นขึ้นมาได้เลย

 

เคล็ดลับ! การดูแลผิวของลูกน้อยที่ดีควรทำอย่างไร?

นอกเหนือจากการสัมผัสลูกน้อย หรือการอุ้มลูกน้อย สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังมองหาวิธีการดูแลผิวของลูกน้อย และอยากรู้ว่าเราควรมีวิธีการดูแลผิวลูกน้อยกันอย่างไรบ้าง เพื่อที่เด็ก ๆ เขาจะได้มีสุขภาพผิวที่ดีและไม่ได้มีปัญหาต่าง ๆ ตามมาทีหลังแล้วล่ะก็ เรามาดูวิธีดูแลผิวของลูกน้อยไปพร้อมกันเลยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : โลชั่นสำหรับเด็ก จำเป็นไหม ? มีข้อดีข้อเสียไหม มีอะไรที่ควรระวังบ้าง มาดูกันเลย!

 

1. ไม่ควรทำการขัดผิวลูกน้อย

อย่างแรกต้องบอกคุณแม่ก่อนเลยนะคะว่า พยายามอย่าขัดผิวของลูกน้อย เพราะผิวเด็กทารกไม่เหมาะที่จะทำการขัดผิวมาก ๆ นอกจากนี้ผิวหนังของเด็กทารกยังมีสารเคลือบสีขาวที่ปกคลุมผิวบริเวณภายนอกซึ่งมีชื่อว่า vernix caseosa อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่จะเข้ามาช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียให้กับผิวของลูกน้อยได้ หากเมื่อไหร่ที่เราขัดผิวลูก สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้สารเคลือบที่อยู่บริเวณผิวของลูกน้อยหลุดออกไปนั่นเอง

 

2. อาบน้ำ 2 ครั้งต่อวัน

หลายคนอาจจะเข้าใจว่ายิ่งเราอาบน้ำให้ลูกบ่อยเท่าไหร่ สิ่งนี้ก็อาจจะยิ่งทำให้ผิวของลูกน้อยสะอาดมากขึ้นเท่านั้น ต้องบอกคุณพ่อคุณแม่เลยนะคะว่า การที่เราอาบน้ำให้ลูกน้อยอยู่บ่อย ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยของเรามีอาการผิวแห้ง เป็นขุย หรือลอกขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีเราควรที่จะอาบน้ำให้ลูกน้อยประมาณ 2 ครั้งต่อวันจะดีกว่าค่ะ

 

3. ใช้โลชั่นช่วยบำรุงหลังอาบน้ำ

สิ่งที่จะเข้ามาช่วยดูแลผิวของลูกน้อยได้ดีอีกอย่างเลย คือคุณแม่อาจจะลองใช้โลชั่นบำรุงผิวให้กับลูกน้อยทุกครั้งที่อาบน้ำเสร็จ เพราะสิ่งนี้จะช่วยทำให้ผิวของลูกน้อยมีความชุ่มชื้น อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาผิวแห้ง หรือผิวลอกได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

 

4. เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว

สิ่งที่เราอาจจะต้องคำนึงถึงต่อมาเลย อาจจะเป็นเรื่องของการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับลูกน้อย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผิวของลูกน้อยนั้นจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างอ่อนโยนต่อผิว ไม่เป็นสูตรที่มีส่วนผสมต่าง ๆ มากจนเกินไป เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้ผิวของลูกน้อยเกิดการระคายเคืองได้เลย

 

5. ไม่ควรอาบน้ำเป็นเวลานาน

ทุกครั้งของการอาบน้ำ เราไม่ควรใช้เวลาในการอาบน้ำให้ลูกนานจนเกินไป ซึ่งหากจะให้ดีและอยู่ในช่วงเวลาของการอาบน้ำที่เหมาะสมอาจจะต้องอาบน้ำไม่เกิน 5 นาที เพราะเมื่อไหร่ที่เราอาบน้ำให้ลูกเป็นเวลานาน ผลที่ตามมาก็อาจจะทำให้เจ้าตัวเล็กไม่สบายขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน

 

6. พยายามใช้มือลูบแทนการใช้อุปกรณ์

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ต่อมา เมื่อไหร่ก็ตามที่เราอาบน้ำให้ลูกน้อยเราอาจจะต้องค่อย ๆ ใช้มือลูบบริเวณผิวลูกแทนการใช้อุปกรณ์อย่างอื่นแทนจะดีกว่า เพราะอย่างที่บอกว่าผิวของลูกน้อยค่อนข้างบอบบาง หากเราใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มาทำการขัด หรือถูบริเวณผิวของลูกน้อย สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเจ็บและไม่สบายตัวขึ้นมาได้เหมือนกัน

 

7. เลือกอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสม

จากนั้นก็ต้องบอกว่า อุณหภูมิของน้ำก็เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งการเลือกน้ำที่จะมาอาบให้ลูกน้อย น้ำที่ใช้อาบจะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่พอดีประมาณ 27 – 28 องศาเซลเซียส เพราะเมื่อไหร่ที่เราใช้น้ำที่มีความร้อน หรือเย็นจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นการทำร้ายผิวของลูกน้อยได้ง่ายเลย

 

การสัมผัสทารกแรกเกิดในครั้งแรก เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องดูแลเอาใจใส่มาก ๆ เลย เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้ บางทีสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเรามีปัญหาในเรื่องผิวได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์การในการอุ้มลูก รวมถึงการดูแลผิวของลูกน้อย ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะเราได้นำเคล็ดลับมาฝากคุณแล้ว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัยและสบายสำหรับลูก ท่าอุ้มลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

ไม่อยากให้คนอื่นอุ้มลูก ไม่ใช่ อาการหวงลูก แต่พอปล่อยแล้ว ลูกก็ต้องมาเป็นแบบนี้

ดูแลผิวลูกน้อยให้ดี ลดปัญหาผื่นผ้าอ้อมกวนใจ เกร็ดความรู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่

ที่มา : punnita, faeandmaeorganics

บทความโดย

Tidaluk Sripuga