Top 10 การเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ทุกๆ ปี มีเด็กที่เจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุมากมาย ทั้งเรื่องที่สุดวิสัย และความไม่ระแวดระวัง จนเกิดเป็นภัยอันตรายต่อตัวลูกรัก ทำให้พ่อแม่ต้องรู้สึกเสียใจทีหลัง
เพื่อเป็นอุทาหรณ์และเครื่องเตือนใจ มาดู Top 10 การเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง กันดีกว่า
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้รวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ของเด็กๆ อายุระหว่าง 1 -15 ปี ตลอดปี พ.ศ. 2559 พบว่า มีเด็ก เจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งสิ้น 156,525 คน แยกออกเป็น
- การเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับกุมารเวชกรรมมากที่สุด 56,101 คน
- อุบัติเหตุยานยนต์ 36,203 คน
- พลัดตกหกล้ม 15,245 คน
- ปวดท้อง ปวดหลัง เชิงกราน ขาหนีบ 14,113 คน
- ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง 12,659 อันดับ
- หัวใจหยุดเต้น 5,642 คน
- สัตว์กัด 3,141คน
- ชัก 2,617 คน
- ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก 1,599 คน
- แพ้ยา แพ้อาหาร 1,579 คน
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ระบุว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ อุบัติเหตุเกี่ยวกับยานยนต์ และการพลัดตกหกล้มเพราะเมื่อประสบอุบัติเหตุ เด็กจะมีแนวโน้มการเสียชีวิตมากกว่าผู้ใหญ่ ด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแอและบอบบางกว่า
อ่าน Top 10 การเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ต่อหน้าถัดไป
สำหรับพ่อแม่ที่ชอบพาลูกออกนอกบ้านต้องดูแลเรื่องความปลอดภัย ดังนี้
– เด็กเล็กควรนั่งคาร์ซีท ภายในรถยนต์ เพราะจะช่วยลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุได้
– เด็กโต ควรให้เด็กนั่งที่เบาะหลังของรถยนต์ และคาดเข็มขัดนิรภัย
– เด็กที่นั่งรถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกนิรภัยขนาดที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับการกระแทก เพราะหากเด็กได้รับอุบัติเหตุ กระทบกระเทือนทางศีรษะ อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้
– เมื่อพาลูกไปเล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างแรกพ่อแม่ต้องดูความแข็งแรงของเครื่องเล่นว่า อุปกรณ์ทุกชิ้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีการชำรุดเสียหาย
– ถ้าเครื่องเล่นมีความสูง ต้องมีราวกันตกหรือผนังกันตก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการตก ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็ก
1.แผลถลอก หากมีเศษหินติดอยู่ให้ล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ใช้ผ้าซับให้แห้ง ทายารักษาแผลสด เช่น โพวิดีน (Povidine) หรือยาแดง แล้วปิดแผลด้วยผ้ากอซ
2.แผลถูกของมีคมบาด พ่อแม่ต้องรีบห้ามเลือด เริ่มแรกทำความสะอาดแผล และใส่ยาเหมือนแผลถลอก แต่ถ้าบาดแผลใหญ่ เลือดออกมาก ต้องรีบพาลูกไปโรงพยาบาล
วิธีห้ามเลือด
– รัดส่วนเหนือของแผลด้วยผ้าแล้วใช้ไม้สอดเข้าไปในผ้านั้น พร้อมหมุนไม้ไปทางเดียวกันขันจนแน่น
– ต้องคลายผ้าเป็นระยะเพื่อป้องกันเนื้อเยื่อตาย เช่น รัดนาน 5 นาที คลายออก 1 นาที
3.หัวโน ห้อเลือด ฟกช้ำ ภายใน 24 ชั่วโมง ต้องประคบเย็น ใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำแข็งหรือใช้ cold – hot pack ประคบเส้นเลือดให้หดตัวทำให้เลือดหยุดไหล
ข้อห้าม
– ห้ามนวดคลึง
– ห้ามใช้ยาหม่อง หรือของร้อนอื่นๆ
หลังจาก 24 ชั่วโมง เริ่มประคบร้อนเพื่อให้เลือดที่ออกถูกดูดซึมกลับเข้าไปในเส้นเลือด
4.สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก ให้เด็กอ้าปากหายใจทางปากแทน
– ถ้าเป็นเมล็ดพืชและแมลงเข้าจมูก ให้หยอดน้ำมันพืชเข้าไปทางจมูก แล้วให้เด็กสั่งน้ำมูกเบาๆ
– หากเป็นเศษผ้าหรือเศษกระดาษ ให้ใช้คีมปลายมนคีบออกมา
5.แมลงเข้าหู ใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันพืชหยอดเข้าไปในหู แล้วทิ้งไว้สักครู่ ค่อยให้ลูกตะแคงหู จนแมลงและน้ำมันไหลออกมา แล้วจึงใช้สำลีเช็ดทำความสะอาด
อ่านเพิ่มเติม 10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็กรอดพ้นอันตราย
อันตรายอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด อ่าน Top 10 การเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็กไปแล้ว พ่อแม่ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น อย่าปล่อยให้ลูกตกอยู่ในอันตราย และห้ามประมาทเด็ดขาด
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
พ่อแม่อย่าเผลอเพราะอุบัติเหตุในบ้านเกิดขึ้นได้เสมอ!
อุทาหรณ์ของมีคม! พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุ