เมื่อแม่ท้องกลัวการคลอดบุตร รับมืออย่างไร? ทำอย่างไรเพื่อก้าวผ่านความกลัว

การตั้งครรภ์ควรจะเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความสุข และเฝ้ารอวันที่จะได้พบหน้าเจ้าตัวน้อยใช่ไหมคะ แต่สำหรับคุณแม่บางคนกลับไม่เป็นอย่างนั้น ความกลัวการคลอดบุตร เปลี่ยนความสุขให้กลายเป็นความทุกข์ที่ท่วมท้นได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อแม่ท้องกลัวการคลอดบุตร รับมืออย่างไร? ทำอย่างไรเพื่อก้าวผ่านความกลัว

โทโคโฟเบีย (tokophobia) มาจาก ภาษากรีซ tokos หมายถึง การคลอดบุตร และ phobos หมายถึง ความกลัว เมื่อแม่ท้องกลัวการคลอดบุตร

ความกลัวการคลอด บุตร สามารถเกิดได้ กับ คุณแม่ท้อง เกือบทุกคนตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยระดับความกลัว จะเพิ่มขึ้น เมื่อใกล้คลอด และ เมื่อเข้าสู่ระยะคลอด และ ส่งผลต่อเนื่องไปจนถึง หลังคลอด แม้ว่าการ คลอดบุตรจะผ่านไปนาน แล้วก็ตาม

เมื่อแม่ท้ องกลัวการคลอดบุตร

มีผล การสำรวจใน คุณแม่ ชาวไทย พบว่า มีความกลัวการคลอด ระดับรุนแรงมาก ร้อยละ 7.78 ระดับรุนแรง 38.9 ระดับปานกลาง ร้อยละ 40 และ ระดับเล็กน้อย ร้อยละ 13.3 (ถวัลรัตน์ กิตติศักดิ์ชัย, 2555)

สาเหตุ ความกลัวการคลอดบุตร

เมื่อแม่ท้องกลัวก ารคลอดบุตร

ความกลัวการคลอดบุตร ในคุณแม่ตั้งครรภ์ท้องแรก มักมีสาเหตุดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. กลัว การเจ็บครรภ์คลอด กลัวการสูญเสีย และ กลัวจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ในระยะคลอด
  2. การได้รับฟังเรื่องราว ด้านลบเกี่ยวกับ การคลอด โดยเฉพาะ ความเจ็บปวด จากผู้ที่เคยมีประสบการณ์ การคลอดมาก่อน
  3. การขาดความรู้ และ ขาดประสบการณ์ เกี่ยวกับการคลอดบุตร ทำให้คุณแม่ท้อง ไม่สามารถคาดคะเน สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง และ ทารกในครรภ์ใน อนาคตได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ ท้องแรกจึงมี ความกลัว การคลอดบุตร ระดับรุนแรงมากกว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องหลัง

สำหรับ โรคกลัวการคลอดบุตร ในคุณแม่ตั้งครรภ์ท้องหลัง มักเกิดจากการมี ประสบการณ์ด้านลบ ระหว่างการตั้งครรภ์ และ การคลอด ที่ผ่านมา เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อน ระหว่างตั้งครรภ์ หรือ ขณะคลอด การบาดเจ็บ และ ความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ที่เกิดขึ้นในการคลอด ครั้งก่อน หรือ ทารกเสียชีวิต ตั้งแต่แรกเกิด เป็นต้น

บทความแนะนำ 15 สุดยอดภาพวินาทีแรกของการคลอดลูก

อาการของ โรคกลัวการคลอดบุตร (Tokophobia)

เมื่อแม่ท้องกลัวกา รคลอดบุตร

พบว่าคุณแม่ ที่กลัวการคลอดบุตร จะมีอาการ ทางร่างกาย และ จิตใจ ดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รู้สึกกลัวเมื่อพูดถึง หรือมี คนพูด ถึงเรื่อง การตั้งครรภ์ และ การคลอดบุตร บางคนถึงขั้น ร้องไห้ก็มี
  • ฝันร้าย เกี่ยวกับ การคลอด หรือ การตั้งครรภ์
  • เรียกร้องการผ่าคลอด และ ปฏิเสธ การคลอด ทางช่องคลอด
  • วิตกกังวล และ หวาดกลัว รวมถึงมี ภาวะซึมเศร้า ขณะตั้งครรภ์
  • คิดแต่ เรื่องความตาย และ การเสียชีวิต
  • อยากมีลูกอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธที่จะตั้งครรภ์

โรคกลัวการคลอดบุตร (Tokophobia) รักษาอย่างไร

สำหรับคุณแม่ ที่อยู่ในภาวะนี้หากไม่ได้รับ การรักษาอย่างเหมาะสมจะยิ่งเพิ่มระดับ ความรุนแรง และ ความเสียหายมากขึ้น หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้ต้องยุติการตั้งครรภ์ และ ส่งผลกระทบทางจิตใจ อย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็น อันตรายต่อการตั้งครรภ์ แม้คุณแม่ จะไม่ได้เลือก วิธียุติการตั้งครรภ์ก็ตาม

เมื่อแ ม่ท้องกลัวการคลอดบุตร

โรค Tokophobia เป็น ความผิดปกติทาง ด้านจิตใจ ที่ควรได้รับ คำปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ในการตัดสินใจ เกี่ยวกับ การวางแผนการรักษา โดยสูติแพทย์ จะต้อง ทำงานใกล้ชิดกับจิตแพทย์ใน การจัดการกับภาวะดังกล่าว เพื่อให้คุณแม่ สามารถผ่านพ้นการคลอด ไปได้ด้วยดี คุณแม่มีสุขภาพดี และ มีความสัมพันธ์ อันดี กับ ลูกน้อยที่คลอดออกมาด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งสำคัญ ในการรักษาคุณแม่ ที่กลัวการคลอดบุตร คือ คุณแม่ต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ได้รับการบอกเล่า ประสบการณ์ในด้านบวก เกี่ยวกับการคลอด  รวมถึงรู้จักตัวเลือกใน การจัดการความเจ็บปวด ขณะคลอด นอกจากนี้ การมีบุคคลที่คุณแม่เชื่อใจ อยู่ด้วยขณะคลอด ก็สามารถช่วยลดหรือ ขจัดความกลัว การคลอดบุตร ของคุณแม่ท้องได้

บางกรณีที่คุณแม่ มีอาการใน ระดับรุนแรงแพทย์ อาจพิจารณาให้ยา ระงับอาการซึมเศร้า หรือ ยาระงับ อาการวิตกกังวล นอกจากนี้ ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ รวมถึง การปรับเปลี่ยนความคิด และ พฤติกรรม การรักษาด้วยจิตบำบัด การสะกดจิต และ การบำบัดแบบ EMDR โดยใช้การเคลื่อนไหว ของตาเป็นเครื่องมือ ซึ่งจากการศึกษา พบว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ให้ผลดีอย่างมาก

โรคกลัวการคลอดบุตร สามารถป้องกันได้หรือไม่

เมื่อแม่ท้องกลั วการคลอดบุตร

สำหรับผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อน ความกลัวมักเกิดจากความไม่รู้ และเมื่อได้รับสื่อต่างๆ ที่แสดงถึงประสบการณ์ด้านลบเกี่ยวกับการคลอด อาจทำให้จำฝังใจเรื่อยมา

ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนจึงควรได้รับข้อมูลด้านบวกเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการคลอด ความรู้ที่มีและความสุขใจที่จะได้พบหน้าลูกน้อยจะช่วยให้คุณแม่คลายความกังวลเกี่ยวกับการคลอดได้ นอกจากนี้การได้รับกำลังใจและการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่เอาชนะความกลัวและสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ความกลัวการคลอดบุตร ถือเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ท้องแรกส่วนใหญ่มักเป็นกังวลอยู่แล้ว แต่หากคุณแม่กลัวการคลอดบุตรในระดับรุนแรงกว่าปกติ อย่าปล่อยไว้นะคะ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำค่ะ

สำหรับคุณแม่ที่เคยผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว ขอเชิญชวนร่วมแบ่งปันประสบการณ์แห่งความสุขเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่ท้องคลายกังวลเกี่ยวกับการคลอดบุตร ที่คอมเมนต์ด้านล่างค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.comwww.tci-thaijo.org

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

แม่ท้องต้องอ่าน! ออรัลเซ็กส์ตอนท้องอันตราย อันตรายจากออรัลเซ็กส์!

12 สุดยอดภาพถ่ายเบเบี๋แรกคลอด

10 ภาพน้ำตาหยดแรกเมื่อเจอหน้าลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา