เศร้า! หนูน้อยวัยเตาะแตะ สำลักชิ้นส่วนของเล่นที่แถมมากับขนม จนเสียชีวิต

เหตุสลด เมื่อเด็กน้อยกลืนชิ้นส่วนของเล่นที่เป็นของแถมมากับขนม จนสำลักขั้นโคม่าและเสียชีวิต นอกจากต้องระมัดระวังดูแลลูกอย่างใกล้ชิด การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและเบอร์ฉุกเฉินคือสิ่งที่พ่อแม่ควรเตรียมตัวให้ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขนมที่มีของแถมเป็นของเล่น เป็นที่นิยมและชื่นชอบของเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ทั้งในปัจจุบันและในอดีต สมัยที่คุณพ่อคุณแม่ยังเป็นเด็ก ก็คงจะตื่นเต้นและชื่นชอบกับเจ้าของเล่นที่ว่านี้อยู่ไม่น้อย จริง ๆ แล้วของเล่นชิ้นนี้ ถือเป็นของเล่นที่ธรรมดามาก เป็นเพียงไข่พลาสติกที่สามารถเปิดออกได้และภายในมีของเล่นชิ้นเล็ก ๆ บรรจุอยู่ แต่น่าเศร้าเมื่อมีรายงานจากสำนักข่าวของประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยว่ากลุ่มผู้ผลิตของเล่นชิ้นนี้ คือ กลุ่ม Ferrero Group กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เนื่องจากมีเด็กหญิงอายุ 3 ขวบ ได้เสียชีวิตลง และมีสาเหตุการตายจากมีของเล่นชนิดนี้หลุดลงไปติดคอเด็กหญิงจนสำลัก ขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด

เชื่อว่าเด็กหญิงรายนี้นำของเล่นใส่ปากและเกิดร่วงหลุดลงคอไป ลักษณะของแข็งคล้ายล้อรถไปขวางทางเดินหายใจของหนูน้อย ถึงแม้ว่าคุณปู่ของหนูน้อยรายนี้จะสามารถนำชิ้นส่วนออกมาได้ แต่อาการของหนูน้อยเข้าขั้นโคม่า ซึ่งแพทย์กล่าวว่า หนูน้อยเสียชีวิต เนื่องจากการสำลักและขาดอากาศหายใจอย่างเฉียบพลัน

ถึงแม้ว่าจะมีฉลากติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ของของเล่นชิ้นนี้ ว่าไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พ่อแม่และผู้ปกครองยังคงขาดความระมัดระวัง ปล่อยให้ลูกได้เล่นของเล่นชิ้นนี้อยู่ ซึ่งความจริงแล้วของเล่นประเภทนี้ยังผิดกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีข้อบังคับห้ามผลิตหรือจำหน่ายลูกอมพร้อมของเล่นของแถมเช่นนี้ด้วย

ในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของเด็กเล็กแล้วนั้น เราควรเตือนตัวเองตลอดเวลาเกี่ยวกับการเลือกของเล่นให้ลูกว่ามีความปลอดภัยกับลูก ๆ ดีหรือไม่ ไม่ควรมองข้ามกับเรื่อง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ และต้อยคอยดูแลและระมัดระวังให้ดีเพื่อไม่ให้ลูกนำของเข้าปากและกลืนกินลงท้องไป

 

ทั้งนี้ เรามีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวหากเด็กมีอาการสำลัก เนื่องจากกลืนกินสิ่งแปลกปลอมลงไปจนขวางทางเดินหายใจ ดังนี้

ผู้ใหญ่และเด็กโต ให้ใช้ "วิธีรัดท้องอัดยอดอก" หรือ "รัดอัดท้อง" 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1.ผู้ช่วยเหลือยืนข้างหลังผู้ป่วย ใช้แขน 2 ข้างโอบรอบเอวผู้ป่วย

2.ผู้ช่วยเหลือกำหมัดข้างหนึ่งวางบริเวณเหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อยใต้ต่อกระดูกอ่อน "ลิ้นปี่"

3.ผู้ช่วยเหลือใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้ ทำการอัดเข้าท้องแรงๆ เร็วๆ ขึ้นไปข้างบน (ทำคล้ายกับจะพยายามยกผู้ป่วยขึ้น)

4.อัดหมัดเข้าท้องซ้ำๆ กัน หลายๆ ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือจนกว่าผู้ป่วยจะหมดสติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หมายเหตุ: สำหรับคนอ้วนลงพุง (ท้องโต) หรือหญิงตั้งครรภ์ ให้ใช้วิธี “อัดอก” โดยกำหมัดวางไว้กลางอกบริเวณราวนม แล้วใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้ แล้วอัดอกแรงๆ เพื่อกระแทกมือที่กำหมัดไว้ให้กดกระดูกกลางอก เข้าไปในทรวงอกตรงๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนสิ่งแปลกปลอมหลุดหรือผู้ป่วยหมดสติ

สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ทำการช่วยเหลือดังนี้

1.จับทารกนอนคว่ำบนแขน ให้ศีรษะต่ำลงเล็กน้อย

2.ใช้ฝ่ามือตบลงตรงกลางหลังของทารก ระหว่างกลางของสะบัก 2 ข้าง เร็วๆ 5 ครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ถ้าไม่ได้ผล จับทารกนอนหงายบนแขนให้ศีรษะต่ำ แล้วใช้นิ้วชี้กับ นิ้วกลางวางบนกระดูกหน้าอกเหนือกระดูกลิ้นปี่ แล้วกดอกลง (สักครึ่งถึง 1 นิ้ว) เร็ว ๆ 5 ครั้ง

4.ถ้าไม่ได้ผล ให้ทำการ "ตบหลัง" 5 ครั้ง สลับกับ "กดหน้าอก" 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดหรือทารกหมดสติ

ขอบคุณข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน

ระหว่างที่ทำการปฐมพยาบาล อย่าลืมเรียกโทร.ตามหน่วยกู้ภัย หน่วยฉุกเฉินโรงพยาบาล หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้าช่วยเหลือด้วยนะคะ

 

ดู เบอร์สายด่วนสำหรับเหตุฉุกเฉินกรณีต่าง ๆ หน้าถัดไปเลยค่ะ

และที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครอง ควรมีเบอร์สายด่วนสำหรับเหตุฉุกเฉินติดตัวและติดบ้านไว้อยู่เสมอ เพราะทันทีที่เราต้องการขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จะได้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างทันท่วงที อย่าลืมเซฟเก็บไว้เลยนะคะ!

สายด่วนสำหรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย

  • แจ้งเหตุด่วน-เหตุร้ายทุกชนิด โทร. 191
  • แจ้งอัคคีภัย สัตว์เข้าบ้าน โทร. 199
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
  • สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
  • ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โทร. 1192
  •  กองปราบปราม โทร. 1195
  • อุบัติเหตุทางน้ำ กองบัญชาการตำรวจ โทร. 1196
  • สายด่วนกรมเจ้าท่า, เหตุด่วนทางน้ำ โทร. 1199
  • กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  โทร. 02-241-2051
  • กรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650
  • ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี โทร. 02-298-2387, 086-130-2386
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร. 1784

สายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉิน/กู้ชีพ/กู้ภัย

  • ศูนย์ประชาบดี แจ้งคนหาย โทร. 1300
  • ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
  • หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554
  • ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555
  • ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
  • ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โทร. 192

สายด่วนสำหรับแจ้งเหตุหรือสอบถามเรื่องอื่น ๆ

  • สอบถามเวลามาตรฐานประเทศไทย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ โทร. 02-577-5100
  • บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โทร. 1545
  • สถานีวิทยุ จส.100 โทร. *1808 (ฟรี) หรือ 1137 (มีค่าบริการ)
  • สถานีวิทยุ สวพ.91 โทร. 1644
  • สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677
  • สมาคมเสริมสร้างครอบครัว โทร. 1761
  • ศูนย์พิทักษ์เด็ก เยาวชนและสตรี โทร. 1192
  • ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร. 1359

ขอบคุณข้อมูลจาก เว๊ปไซต์กระปุก

หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อมูลเพิ่มเติม คำแนะนำ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มาจาก ph.theasianparent.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็กรอดพ้นอันตราย

ทำอย่างไรดีเมื่อมีบางอย่างติดคอลูกน้อย?

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team