คิดก่อนจะช็อป สำหรับสตรีมีครรภ์ที่อยากหาวิธีควบคุมอารมณ์อยากทั้งหลาย
เมื่อตั้งครรภ์ เราจะควบคุมการ คิดก่อนจะช็อป ได้อย่างไร เมื่ออารมณ์ และ แรงกระตุ้นต่างๆอยู่ในระดับสูง สำหรับว่าที่คุณ ( ว่าที่ ) แม่จึงเป็นเรื่องเรื่องที่สำคัญมากนะคะ วันนี้เรามาดูสาเหตุต่างๆกันดีกว่า ทำไมคุณแม่ถึงช็อปกันหนักมาก !!!
ไม่รู้ว่าจะต้องใช้ (จริง ๆ ) หรือเปล่า
- อารมณ์ และ แรงกระตุ้นต่าง ๆจะอยู่ในระดับสูงสำหรับสตรีมีครรภ์หลาย ๆ ราย ไม่ว่าจะเป็น การต้องรับสถานการณ์ที่จะมีอีกหนึ่งชีวิตใหม่ในครอบครัว ลุคของเสื้อผ้าชุดต่าง ๆ หรือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเด็ก
- และยิ่งหากคุณเป็นผู้หญิงที่เชื่อในการ ช็อป บำบัด คุณยิ่งเสี่ยงกับการซื้อของมากมายโดยไม่ยั้งคิด เพราะ ถ้าพูดกันจริง ๆ หน้าร้านของแบรนด์ต่าง ๆ และพนักงานขายมีความสามารถจากประสบการณ์หลายปี ที่บ่มเพาะขึ้นมา เพื่อ อุทิศตนให้แก่เหตุผลเดียว คือ การเชียร์ให้สาว ๆ ที่กำลังจะเป็นคุณแม่มือใหม่ ช็อป ของให้ลูกอย่างไม่บันยะบันยังกระเป๋าสตางค์ของตัวเอง หรือ ของคุณสามี และแน่นอนค่ะว่าว่าที่คุณแม่อย่างเราๆ ก็ต้องคล้อยตามอย่างแน่นอน
- แต่ เราควรระวังตัวไว้ โดยฉพาะคุณแม่ที่กำลังจะมีลูกเป็นครั้งแรก เพราะอะไรจะเกิดขึ้นก็ได้จนกว่าคุณลูกคลอดออกมา และ นอนหลับอย่างปลอดภัยอยู่ในอ้อมอกเรา หลาย ๆอย่างที่คุณแม่ซื้อมาอาจจะถูกใช้ไม่นาน หรือไม่ได้ใช้เลยซักครั้งเดียว
- และอย่าลืมไปว่า ยังมีของขวัญอีกมากมายที่เพื่อนฝูง และ ครอบครัวจะให้ลูกของเรา ในจุดนี้เราสามารถพูดได้ว่าเด็กแรกเกิดมีพลังพิเศษที่จะทำให้คนรอบตัวของเราใจกว้างกว่าปกติ เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ว่าที่คุณพ่อ คุณแม่อย่างเรายิ้มหน้าบานรับของกันอย่างไม่หยุดหย่อน
เราไม่รู้ว่าลูกของเราต้องการของชิ้นนั้นหรือว่าจะได้ใช้จริง ๆ หรือเปล่า
คุณลูกแรกเกิดอาจจะกลายเป็นลูกค้าที่เอาใจยากที่สุดสำหรับพนักงานขาย นอกเหนือจากนั้นก็ยังบอบบางกับอาการแพ้ต่าง ๆ ได้ง่าย อาจจะดีกว่าถ้าคุณแม่ให้ลูกลองของที่อยากซื้อให้ก่อนที่จะซื้อ เพราะ เราไม่รู้ว่าลูกจะชอบของชิ้นนั้น หรือ ก้นบอบบางของลูกอาจจะใส่ผ้าอ้อมใช้แล้วทิ้งได้แค่ยี่ห้อเดียว โดยที่ใช้แล้วไม่อารมณ์เสีย เป็นผื่น นอกจากนั้น อย่าลืมไปว่าโรงพยาบาลส่วนมากมักจะจัดเตรียมอุปกรณ์เริ่มต้นสำหรับการดูแลทารกให้กับคุณแม่ โดยมีสิ่งจำเป็นต่าง ๆ เช่น หนังสือ (ใช่แล้ว ทารกที่โรงพยาบาลทำการคลอด จะมาพร้อมกับคู่มือ) ชุดนอน ผ้ากันเปื้อน นมผง ของเล่น และผ้าอ้อม ทุกอย่างจะถูกแพ็คไว้เรียบร้อย เพื่อให้คุณแม่พร้อมรับมือกับลูกใน 2 – 3 วันแรก คุณแม่ควรจะลองใช้ของที่ได้มาก่อน เพื่อที่จะได้มีแนวทางว่าลูกที่เพิ่งเกิด ชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง
คิดก่อนจะช็อป เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ถึงเราจะต้องเตรียมตัวสำหรับสมาชิกครอบครัวคนใหม่นี้ แต่ ความจริงแล้วไม่มีใครรู้ว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผน และ บ่อยครั้งที่ทุกอย่างไม่เป็นอย่างนั้น โดยเฉพาะ ในสถานการณ์ที่กำลังจะมีเด็กมาเกิดใหม่ พ่อแม่ทุกคนมองโลกในแง่ดีเสมอเมื่อกำลังจะมีลูก โดยที่ไม่มีใครคำนึงถึงความเป็นไปได้ในด้านที่ไม่ดีที่สามารถเกิดขึ้นได้ และ คิดเผื่อไปหมด กลัวลูกขาดของต่างๆ
หลาย ๆ ร้านขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็กอ่อนในอเมริกาแนะนำลูกค้าที่เป็นสตรีมีครรภ์ว่ายังไม่ควรเริ่มซื้อของจนกว่าจะถึงช่วง 2 – 3 วันก่อนเวลานัดคลอด หรือหลังจากเด็กเกิดมา ถึงขนาดมีบางร้านให้ข้อเสนอในการรับคืนของ หากมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ข้อแนะนำค่อนข้างที่จะมีเหตุผล เพราะร้านค้าเหล่านี้มีประสบการณ์มากมายกับครอบครัวที่สูญเสียเด็กทารกไปกับการแท้งโดยไม่ได้ตั้งใจหรือการตายคลอด หากเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น แค่การที่เราเห็นสิ่งที่เราซื้อมาไว้ที่บ้าน (ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเด็กหรือของใหญ่ ๆ อย่างเปลเด็ก ) ก็จะทำให้เกิดความเศร้ามอง และ เป็นต้นกำเนิดอาการหดหู่ทางประสาทได้
ของทั่วไปสิ่งที่คุณแม่ต้องใช้จริง ๆ ตอนนี้คือ ขวดนม ไม้พันสำลี ผ้าอ้อมแพ็คเล็กสำหรับหนึ่งอาทิตย์ (เด็กแรกเกิดส่วนมากจะต้องเปลี่ยนชุดสามครั้งต่อวัน) และที่นั่งสำหรับเด็กในรถ (หากยืมมาได้จะดีมาก เพราะ นี่เป็นอุปกรณ์ที่คุณแม่คงไม่ได้ใช้นาน)
โดยรวมแล้วสิ่งที่โรงพยาบาลจัดมาให้ค่อนข้างจะเพียงพออยู่แล้ว หลังจากนั้น คุณแม่ควรจะใช้คุณสามีให้ออกไปซื้อของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กในขณะที่คุณแม่พักฟื้นตัวอยู่ที่บ้าน
การซื้ออย่างมีสติ จึงสำคัญมากๆนะคะคุณแม่ เพราะฉะนั้นจึง ควรวางแผนการเงินกับคุณสามีให้เป็นอย่างดี และ ปรับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของลูกในแต่ละช่วงวัย เพราะ แต่ละช่วงวัยของลูกย่อมมีสัดส่วนการใช้เงินที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะซื้อของต่างๆ ยั้งใจ และ ยั้งมือ กันสักนิดนะคะคุณแม่
Source : businesstoday.co www.thaipost.net
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
คัมภีร์ซื้อของลูก อะไรไม่จำเป็น ซื้อของให้ลูกยังไง อะไรไม่จำเป็นต้องซื้อ
5 งานทำเองได้ที่บ้าน เป็นแม่เลี้ยงลูกอยู่บ้านก็หาเงินได้
หมุนเงินไม่ทัน ค่าใช้จ่ายเพียบ ปัญหาหนักอกของพ่อแม่ช่วงลูกเปิดเทอม
ค่าเทอมลูก ส่งลูกเรียนหนังสือ เก็บเงินเท่าไหร่ วางแผนยังไง