อันตราย เมื่อลูก สะพายกระเป๋าหนักเกินไป ปัญหาที่เกิดจากกระเป๋าของลูกรัก
เป็นเรื่อง น่าตกใจ เมื่อเห็นข้อมูลว่า เด็กไทยวัยประถม แบกกระเป๋าหนัก 6 กิโลกรัม ไปโรงเรียนทุกวัน ทั้ง ๆ ที่มาตรฐาน ของ น้ำหนักกระเป๋า จากศูนย์วิจัย เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และ ป้องกัน การบาดเจ็บ ในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กำหนดไว้ว่า ไม่ควรหนักเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวเด็ก ซึ่ง หมายความว่า หากลูกน้ำหนัก 30 กิโลกรัม น้ำหนักกระเป๋า ที่ เด็กสามารถ ถือได้ ต้องไม่เกิน 3 กิโลกรัม เท่านั้นทั้งนี้ เราได้ รวบรวม ความคิดเห็น คุณหมอ และ คุณครู เกี่ยวกับ การ ที่เด็กต้อง แบกกระเป๋าหนัก ๆ ไปโรงเรียนทุกวัน ว่า ส่งผลเสีย ต่อลูก อย่างไรบ้าง เมื่อลูกสะพายกระเป๋าหนักเกินไป
อันตราย เมื่อลูกสะพายกระเป๋าหนักเกินไป ปัญหาที่เกิดจากกระเป๋าของลูกรัก
กล้ามเนื้อ
นพ.วีระศักดิ์ ธรรมคุณานนท์ แพทย์ศัลยกรรมกระดูก และ ข้อ ในเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า เด็กนักเรียน ที่แบกกระเป๋าเป้ หรือ สะพายบ่า โดยเฉพาะ ช่วง ป.3-4 กล้ามเนื้อข้อต่อ ยังเติบโตไม่เต็มที่ จะมี โอกาส เกิดการ บาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ได้มากกว่าปกติ แต่ ก็ฟื้นตัวได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หาก ลดการใช้งานบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ก็จะหายเป็นปกติ
กระดูก
นพ.สาริจฉ์ ศรีสุภาพ ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง และ ข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึง ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น จากการ สะพายกระเป๋านักเรียนหนัก ๆ ว่า มี การศึกษาชัดเจน พบว่า หากมีอาการปวดหลัง ตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ โตขึ้นไป อาการปวดหลัง จะเกิดเรื้อรังได้ ยิ่ง หากแบก กระเป๋าที่หนักมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว มีโอกาสที่ลักษณะของ กระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ความโค้งงอของกระดูกสันหลัง จะผิดปกติไป
นายระพินทร์ พิมลศานติ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์ผ่าตัดกระดูกและข้อและอาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์ กายภาพบำบัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า การแบกกระเป๋าหนักๆ จนเป็นความเคยชิน จะส่งผลต่ออนาคตและมีโอกาสเป็นโรคกระดูกเร็วขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
การเรียนรู้
นพ.สาริจฉ์ ศรีสุภาพ ยังบอกอีกว่า การแบกกระเป๋าหนักไม่เพียงแต่จะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายเท่านั้น ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กด้วย ถึงแม้จะไม่มาก การที่เด็กสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก ๆ เป็นประจำ กล้ามเนื้อทั้งไหล่ ทั้งเอวจะเมื่อยล้า เป็นไปได้ที่สมาธิในการเรียนรู้ของเด็กจะลดลง
บุคลิกภาพ
นายระพินทร์ พิมลศานติ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์ผ่าตัดกระดูกและข้อและอาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์ กายภาพบำบัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตท่าทางเวลาลูกหิ้วกระเป๋า ถ้าเด็กตัวเอียงไม่ว่าซ้ายขวาหน้าหลังถือเป็นเรื่องไม่ดี เพราะไม่เกิดความสมดุลทางร่างกายไม่ว่าจะหิ้วกระเป๋าในรูปแบบไหน ท่าทางที่ถูกต้องควรตั้งตรง ท่าที่ถูกต้องมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กจะปวดเมื่อยหรือมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อในอนาคต
อุบัติเหตุ
นางณิตานัสธ์ พุ่มแพรพันธ์ ผู้ช่วยเลขานุการสมาคมผู้ปกครองและครูและผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์กล่าวว่า เด็กที่ผู้ปกครองไม่ได้มารับมาส่งนั้นเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก โดยเฉพาะเวลาขึ้นรถโดยสารประจำทาง กระเป๋านักเรียนที่มีน้ำหนักมากกับรถโดยสารประจำทางที่ชอบออกตัวเร็ว มีโอกาสทำให้เด็กตกลงมาได้ และไม่เฉพาะการโดยสารรถประจำทางเท่านั้น ทั้งขึ้นรถ ลงเรือแม้แต่เดินก็เกิดอันตรายได้ ซึ่งส่วนตัวเคยเห็นเด็กที่สะดุดบันไดสะพานลอยอยู่บ่อยๆ เพราะเด็กชอบโน้มตัวไปด้านหน้าเพื่อต้านน้ำหนักกระเป๋า
การป้องกัน
ได้ทราบถึงผลเสียของ การสะพายกระเป๋าหนักกันไปแล้ว หากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าจะสามารถป้องกันผลกระทบดังกล่าวกับลูกของเราได้อย่างไร ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มีข้อเสนอแนะไว้ดังนี้
– เลือกใช้กระเป๋ามีล้อเข็น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนักกดทับกระดูกสันหลัง อย่างไรก็ตามเด็กนักเรียนก็ยังคงต้องแบกหิ้วกระเป๋าล้อเข็นขึ้นลงรถโดยสาร หรือบันไดอยู่ดี ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มได้ง่าย
-เลือกขนาดให้เหมาะสมกับเด็ก มีช่องว่างใส่ของเพียงพอ และจัดวางอย่างเหมาะสมโดยให้น้ำหนักกระจายไปทั่วกระเป๋า สายสะพายไหล่ควรมีความกว้างกว่า 6 ซ.ม. สายที่เล็กจะทำให้กดทับบริเวณไหล่ ซึ่งอาจกดลึกจนมีผลต่อกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทได้
– การใช้กระเป๋าสะพายหลัง ต้องปรับสายสะพายเพื่อให้กระเป๋าแนบหลัง ไม่ห้อยต่ำ ก้นกระเป๋าต้องไม่อยู่ต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าบั้นเอว และต้องเดินตัวตรง ไม่เอนตัวไปข้างหน้า
– ใช้สายสะพายไหล่ทั้งสองข้างเพื่อให้น้ำหนักกระจายตัวอย่างสมดุล การสะพายไหล่ข้างเดียวจะมีความเสี่ยงสูงต่อการปวดต้นคอ ไหล่ และหลังได้ เพราะน้ำหนักถ่วงไม่สมดุลนั่นเอง
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลกรุงเทพแนะอีกว่าในกรณีกระเป๋าถือแนะนำว่าให้ถือในลักษณะสลับมือกันถือ เพื่อไม่เป็นการใช้งานข้างใดข้างหนึ่งหนักเกินไป รวมไปถึงทำกายบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
อ้างอิงข้อมูลจาก
news.voicetv.co.th, manager.co.th, pantip.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
5 ภัยช่วงปิดเทอม พ่อแม่ควรระวัง!!
7 วิธีง่าย ๆ ออกกำลังกายสมองให้ลูกน้อย