กลอนแปด คืออะไร ? เทคนิคแต่งกลอนแปดที่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลอนแปด เรียกได้ว่าไม่ว่าจะเรียนชั้นประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย ก็จะต้องเจอการแต่งกลอนแปด หรือการอ่านกลอนแปดพวกนี้ไม่ใช่น้อย แล้วกลอนแปดคืออะไร ลักษณะของแผนผังของกลอนแปดที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ 

 

กลอนแปด คืออะไร ? 

กลอนแปดคือคำประพันธ์ที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นร้อยกรองที่เรียบเรียงได้ง่าย และสื่อความหมายได้ดี โดยกลอนแปดจะมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส รูปแบบเดียวกับกลอนของสุนทรภู่ ที่มีความไพเราะและสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน กลอนแปดพบครั้งแรกในสมัยอยุธยาตอนปลาย และผู้ที่ทำให้กลอนแปด รุ่งเรืองที่สุดคือ ท่านสุนทรภู่ 

ลักษณะแผนผังกลอนแปด 

กลอนแปด บทหนึ่งจะประกอบไปด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 8 คำ และมีการสัมผัสนอกและสัมผัสใน ดังนี้ 

  • การสัมผัสนอก คือ ให้มีการสัมผัสระหว่างคำสุดท้าย วรรคหน้ากับคำที่สามของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองจะต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม ในส่วนของสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป 
  • การสัมผัสใน คือ ไม่บังคับ แต่ถ้าอยากให้กลอนดูไพเราะ สละสลวย ควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สามกับคำที่สี่ หรือระหว่างคำที่ห้ากับคำที่หก หรือคำที่เจ็ด ของแต่ละวรรค 

 

คณะ กลอนแปด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 8 คำ ตามผัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
O O O O O O O O   O O O O O O O O
O O O O O O O O   O O O O O O O O

 

ลักษณะคำประพันธ์ 

กลอน 1 บท มี 4 วรรค แต่ละวันมีทั้งหมด 8 คำ จึงเรียกว่า กลอนแปด  มีชื่อเรียกดังนี้ 

  • วรรคหนึ่งเรียกว่าวรรคสดับ : กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง 
  • วรรคที่สองเรียกว่าวรรครับ : กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี 
  • วรรคที่สามเรียกว่าวรรครอง : กำหนดให้ใช้เสียงสามัญกับตรี 
  • วรรคที่สี่เรียกว่าวรรคส่ง : กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี 

หลักการใช้เสียงวรรณยุกต์ 

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ส่วนใหญ่ไม่นิยมเสียงสามัญ 
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ห้ามใช้เสียงสามัญ และตรี จะนิยมใช้เสียง จัตวาเป็นส่วนมากแทน 
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา จะนิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี 
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี 

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกฟรี! คัดลายมือน่ารัก ๆ พร้อมรูปภาพสวย ๆ เด็ก ๆ จะต้องชอบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอ่านทำนองเสนาะประเภทกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ 

การแบ่งจังหวะในการอ่าน และจะต้องอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะคำควบกล้ำ ร , ล , ว โดยกลอนแปดจะมีการแบ่งการอ่าน ตามจังหวะ 3 ช่วง ดังนี้ 

  • ถ้าวรรคละ 6 คำ จะแบ่งอ่าน 2 – 2 – 2 
  • ถ้าวรรคละ 7 คำ จะแบ่งอ่าน 2 – 2 – 3 
  • ถ้าวรรคละ 8 คำ จะแบ่งอ่าน 3 – 2 – 3 
  • ถ้าวรรคละ 9 คำ จะแบ่งอ่าน 3 – 3 – 3 

 

ตัวอย่างกลอน 8 

อตีเตแต่นานนิทานหลัง มีนัครังหนึ่งกว้างสำอางศรี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชื่อจัมบากหลากเลิศประเสริฐดี เจ้าธานียศกิต์มหิศรา

ดำรงภพลบเลิศประเสริฐโลกย์ เปนจอมโจกจุลจักรอรรคมหา

อานุภาพปราบเปรื่องกระเดื่องปรา- กฎเดชาเป็นเกษนิเวศน์เวียง

กลบทมธุรสวาที , ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปรีชา (เซ่ง)

 

วิธีสังเกตกลอนแปด 

  • กลอนทุกประเภทจะมีเสียงบังคับ เสียงท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรคเฉพาะวรรคที่ 2 และ วรรคที่ 4 จะรับสัมผัสที่คำที่ 3 หรือคำที่ 5 
  • สัมผัสใน จะสัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้น สัมผัสกับสระเสียงยาว 

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ : 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 แอปเรียนออนไลน์ สำหรับการเรียนการสอนในยุคโควิด เด็กวัยเรียนต้องรู้!

แนะนำกิจกรรม บทบาทสมมุติ เป็นอะไรก็ได้ที่ลูกต้องการ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

10 แอปเรียนภาษาเกาหลี ใช้งานง่าย เรียนเกาหลีด้วยตัวเองได้ทุกที่

ที่มา :

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong