อุ้มบุญคืออะไร? อ่านมุมมองจากผู้หญิงที่รับจ้าง “อุ้มบุญ”

คุณคงสงสัยเรื่องอุ้มบุญว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร? การอุ้มบุญกำลังได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก และกำลังเป็นที่น่าสนใจที่ธุรกิจนี้กำลังเฟื่องฟูอย่างมากในประเทศอินเดียจนได้รับความสนใจจากนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แต่เราลองมาเข้าใจมุมมองจากผู้หญิงที่รับจ้างอุ้มบุญกันดีกว่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มดลูดให้เช่า ก็คืออีกความหมายหนึ่งของการอุ้มบุญนั่นเอง รายงานจาก Yahoo พบว่า ธุรกิจนี้กำลังเฟื่องฟูอย่างมากในประเทศอินเดีย

การรับจ้างอุ้มบุญเป็นเรื่องปกติ

อาจจะไม่ใช่หัวข้อที่เราจะคุยกันเหมือนเรื่องทั่วไปบนโต๊ะอาหาร แต่สำหรับบรรดาคู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถมีลูกได้เองนั้น ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่พวกเขาต้องพิจารณากัน การอุ้มบุญกลายเป็นทางเลือกยอดฮิตของวงการบันเทิงอย่างฮอลลีวูดไปแล้ว เหล่าดาราชั้นนำอย่าง เซอร์เอลตัน จอห์น , ซาราห์ เจสสิกา พาร์กเกอร์และสามี แมทธิว โบรเดอริค ต่างตบเท้าเข้าใช้บริการนี้ทั้งนั้น

การอุ้มบุญคืออะไร

คือ การที่ผู้หญิงคนอื่นรับจ้างอุ้มท้องและคลอดลูกแทนคุณ บางครั้งอาจจะต้องใช้ไข่ของผู้หญิงที่รับจ้างอุ้มบุญเพื่อผสมกับอสุจิของฝ่ายชายที่จ้างอุ้มบุญ หรืออาจจะใช้ตัวอ่อนที่ได้รับการผสมเทียมจากภายนอก ที่รู้จักกันว่าเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF ฉีดเข้าไปในมดลูกของผู้หญิงที่รับจ้างอุ้มบุญ ในกรณีนี้ทั้งพ่อและแม่ต้องมีความสัมพันธ์กันกับตัวอ่อนในท้องของหญิงรับจ้างอุ้มบุญ

บทความใกล้เคียง: แฝดสามจากการทำเด็กหลอดแก้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชีวิตของหญิงอุ้มบุญเป็นอย่างไร

โดยปกติแล้วไม่มีการเปิดเผยชีวิตของผู้หญิงอุ้มบุญ แต่ปัจจุบันนี้ คลินิกอุ้มบุญในกรุงนิวเดลียอมให้สื่อมีโอกาสสัมผัสกับโลกของการอุ้มบุญว่ามีความสำคัญอย่างไร ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอุ้มบุญทั้งหมด เริ่มจากหนูน้อยลิลลี่ที่กำลังฉลองขวบปีแรกของเธอกับครอบครัวที่ประเทศออสเตรเลีย  ในขณะที่แม่อุ้มบุญของเธอระลึกถึงวันที่ให้กำเนิดลิลลี่

ไซด้า ทาปา แม่ลูก 2 ลูกของเธออายุ 16 และ 18 ปี แล้ว นอกจากนี้เธอยังเป็นแม่อุ้มบุญให้กับหนูน้อยลิลลี่ ชาวออสเตรเลียอีกด้วย เธอเล่าให้ฟังว่า ตอนเธอให้กำเนิดหนูน้อยลิลลี่ เธอไม่ได้มองหน้าลิลลี่ด้วยซ้ำ เพราะว่าหน้าที่ของเธอสิ้นสุดแล้ว เธอเองก็มีลูกเป็นของตัวเองแล้ว ทำไมเธอถึงอยากเห็นลูกของคนอื่นหละ

ไม่ใช่ลูกของเรา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แน่นอนว่า แม้จะไม่ใช่ลูกจากสายเลือดของตัวเองแท้ ๆ แต่แม่อุ้มบุญก็มีเด็กอยู่ในท้องนานถึง 9 เดือน ก็น่าจะมีความผูกพันกันบ้าง แต่ทาปาบอกว่า ทางคลินิกจัดอบรม “เพื่อเตรียมความพร้อมทางจิตใจให้แก่หญิงรับจ้างอุ้มบุญทั้งหลายว่า เด็กที่เกิดมาไม่ใช่ลูกของเรา”

ธุรกิจราคาแพง

ธุรกิจอุ้มบุญกำลังเป็นอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูอย่างมากในอินเดีย  สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำทางธุรกิจประเมินว่า อุตสาหกรรมอุ้มบุญ ทำรายได้ปีละกว่า 2,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐหรือราว 60,000 ล้านบาท  เนื่องจากคู่รักต่างชาติจำนวนมากที่ไม่สามารถมีลูกเองได้กำลังมองหาหนทางการเป็นพ่อและแม่ด้วยวิธีที่ถูกกฎหมายและราคาไม่แพง โดยค่าใช้จ่ายโดยรวมของการอุ้มบุญในอินเดียอยู่ที่ 28,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐหรือราว 840,000 บาท ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ทางฝั่งตะวันตกมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 1 ล้าน – 1.5 ล้านบาทเลยทีเดียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แค่โรงงานผลิตลูกเท่านั้น?

การที่คู่รักต่างชาติยอมจ่ายเงินให้แก่คนยากจนในอินเดียเพื่อให้ได้ลูกนั้น  กลับสร้างความวิตกด้านจริยธรรมเกี่ยวกับโรงงานผลิตลูกในอินเดีย

คลินิกอุ้มบุญในอินเดียชี้ให้เห็นสถิติของปีที่ผ่านมาว่า คลินิกทำหน้าที่ดูแลการอุ้มบุญให้กำเนิดเด็ก 291 คน เด็กเหล่านี้กำลังใช้ชีวิตปกติเหมือนเด็กทั่วไปกับครอบครัวในประเทศแคนนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นอร์เวย์ และบราซิล

เจ้าของคลินิกต่าง ๆ บอกว่า ทางคลินิกเอาใส่ใจต่อการดูแลหญิงอุ้มบุญเป็นอย่างดี เพื่อที่จะทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรง

เพื่ออนาคตของทั้งสองฝ่าย

ท้ายที่สุดแล้ว การอุ้มบุญก็สร้างความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ ทาปาบอกว่า เธอต้องการเป็นแม่อุ้มบุญ เพราะอยากได้เงินไปเข้าบัญชีเงินฝากเพื่ออนาคตของลูก ขณะเดียวกัน ยังเป็นการช่วยเหลือคู่รักที่ไม่สามารถมีลูกได้ ซึ่งเธอเองก็ภูมิใจที่สามารถเป็นผู้ให้กำเนิดทารก และเธอจะสวดภาวนาให้ทั้งครอบครัวมีความสุขตลอดไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณคิดอย่างไรก็เรื่องอุ้มบุญคะ คิดว่าผิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ที่คนรวยสามารถจ่ายเงินให้คนจนเพื่อให้ได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ เขียนบอกเราข้างล่างนี้เลยค่ะ

บทความแนะนำ: ผอมเกินไป มีลูกยากจริงหรือ

บทความยอดฮิต: ท่วงท่ารักสำหรับคนอยากมีลูก

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team