ซูโดกุ (Sudoku) สุดยอดเกมไขปริศนาตัวเลข ที่สามารถเล่นได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ซูโดกุ เป็นเกมที่ไม่ต้องใช้ทักษะในการคำนวณ หรือความสามารถทางภาษาใด ๆ เพียงแค่ใช้ทักษะในด้านตรรกะ และเหตุผล ในการเล่น เพื่อไขปริศนาตัวเลขที่กำหนด โดยผู้เล่นจะใช้เพียงแค่กระดาษ ดินสอ และยางลบ ในการเล่นเท่านั้น ทำให้ซูโดกุ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ทำความรู้จักเกม ซูโดกุ
ซูโดกุ เป็นเกมไขปริศนาตัวเลข โดยผู้เล่นต้องใช้ทักษะเหตุและผล หรือตรรกะ ในการไขปริศนาตัวเลข 1-9 ตามที่แต่ละตารางกำหนดมา โดยที่มาของเกมซูโดกุ แบบดั้งเดิมนั้น มาจากประเทศสวิตเซอแลนด์ คิดค้นขึ้นโดยลีออนฮาร์ด ออยเลอร์ ในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับซูโดกุในปัจจุบัน จากนั้นจึงถูกนำมาพัฒนาโดยโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่ได้คิดค้นการเล่นซูโดกุขึ้น ในปี ค.ศ. 1979 ตีพิมพ์ในนิตยสาร Dell ซึ่งใช้ชื่อเกมว่า Number Place ทำให้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก เพราะรูปแบบการเล่นเกมที่แปลกใหม่ และผู้เล่นไม่ต้องใช้ทักษะด้านการคำนวณ
หลังจากเกมซูโดกุ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มากิ คาจิ ชายชาวญี่ปุ่น ผู้ชื่นชอบการเล่นเกมไขปริศนา ได้นำมาพัฒนาต่อในปี ค.ศ. 1986 โดยใช้ชื่อเกมว่า “ซูโดกุ” ซึ่งได้รับความนิยมและโด่งดังอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น ต่อมาประเทศไทยได้นำเกมนี้มาตีพิมพ์ลงบนนิตยสาร ปริศนา ของบริษัท สำนักพิมพ์อาทร จำกัด โดยใช้ชื่อเกมว่า “ปริศนา 1 ถึง 9” เนื่องจากผู้เล่นต้องเติมตัวเลข 1-9 ลงในช่องตารางที่กำหนด ทำให้เกมซูโด ได้รับความนิยมมาเรื่อย ๆ จนกลับมาโด่งดังและได้รับความนิยมอีกครั้งในปี ค.ศ. 2004 หลังจากนิตยสารไทม์ ของประเทศอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ให้ผู้อ่านเล่นเกมนี้ ส่งผลให้สำนักพิมพ์ทั่วโลก ต่างพากันทยอยตีพิมพ์เกมซูโดกุ ลงบนนิตยสารของตัวเอง ปัจจุบันเกมซูโดกุถูกนำไปพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การนำมาตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ วารสาร E-Book รวมถึง แอปพลิเคชันที่เด็ก ๆ สามารถเล่นได้อย่างสะดวก และง่ายดายในปัจจุบัน
ทำไมเกม ซูโดกุ จึงเหมาะกับเด็ก
เกมซูโดกุ ช่วยพัฒนาทักษะในหลาย ๆ ด้านของเด็ก เช่น ทักษะตรรกะ เหตุผล การสังเกต การฝึกสมาธิ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กในวัยเรียน การเล่นเกมซูโดกุ ยังช่วยฝึกความจำให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้กล่าวว่า เด็กในช่วงอายุ 7-11 ปี เป็นวัยที่ควรหากิจกรรมเพื่อฝึกทักษะของตัวเอง การเล่นเกมซูโดกุ จะช่วยพัฒนาพลังของสมองให้ดีขึ้น นอกจากนี้ การเล่นเกมซูโดกุ ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เด็กสามารถโหลดแอปพลิเคชัน หรือซื้อหนังสือ เพื่อฝึกเล่นเกมนี้ได้อย่างสะดวกสบาย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกคิด สุดยอดเครื่องมือพัฒนาความคิด และสมาธิสำหรับเด็ก
ประโยชน์ของการเล่นเกม ซูโดกุ
- เกมซูโดกุ สอนเด็กให้คิดนอกกรอบด้วยการตรรกะ : การเล่นเกมซูโดกุ ไม่ได้จำกัดว่าผู้เล่น จะเลือกไขปริศนาในตารางใดตารางหนึ่ง หรือช่องใดช่องหนึ่ง แต่ให้เด็กใช้ตรรกะในการแก้ปริศนา และเลือกช่องที่ตัวเองอยากเล่น ซึ่งในท้ายที่สุด ผู้เล่นก็สามารถ เขียนคำตอบได้ครบในทุก ๆช่อง ทั้งหมดนั่นเอง
- เกมซูโดกุ ช่วยฝึกทักษะเหตุ และผล : การเล่นเกมซูโดกุ ช่วยให้เด็ก ได้ใช้ความคิดด้วยเหตุ และผลของตัวเอง ซึ่งในทุก ๆ คำตอบ ที่่เด็กได้คิดนั้น ถือเป็นการฝึกสมอง และทักษะการตัดสินใจของตัวเอง ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะเหตุ และผล
- เกมซูโดกุ ฝึกการคิด และการตัดสินใจในการแก้ปัญหา : เมื่อเด็กเล่นซูโดกุ จะช่วยให้เขา ได้ฝึกการคิด และการตัดสินใจ ในการแก้ปริศนา และเลือกคำตอบของแต่ละช่อง เด็กสามารถใช้การตัดสินใจ เพื่อวิเคราะห์ด้วยเหตุ และผล ว่าคำตอบนั้น ถูกหรือไม่
- เกมซูโดกุ ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต : อีกหนึ่งประโยชน์ที่ได้จากการเล่นเกมซูโดกุ คือ เด็กจะรู้จักสังเกตตัวเลขในแต่ละช่อง เพื่อนำมาไขคำตอบที่เหลือ ทำให้เขาเป็นคนช่างสังเกต และสามารถอธิบายคำตอบนั้น ๆ ได้ดีอีกด้วย
- เกมซูโดกุ ช่วยให้เด็กรอบคอบ และจดจำรายละเอียด : แน่นอนว่าการเล่นเกมประเภทนี้ ช่วยให้เด็กมีความใส่ใจในรายละเอียด รู้จักรอบคอบมากขึ้น เพราะหากผู้เล่น เขียนคำตอบใดคำตอบหนึ่งผิด ก็ไม่สามารถที่จะไขปริศนาในช่องที่เหลือได้ ดังนั้นการเล่นเกมนี้ จะช่วยฝึกให้เขารู้จักการจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- เกมซูโดกุ ช่วยให้เด็กรู้จักคำในหมวดคณิตศาสตร์มากขึ้น : แม้ว่าเกมซูโดกุ จะไม่ใช่เกมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ก็ตาม แต่ก็มีคำศัพท์หลายคำ ที่เกี่ยวข้องกัน การเล่นซูโดกุ จะทำให้เด็กได้รู้จักคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์มากขึ้น เพื่อช่วยให้เขารู้สึกคุ้นชิน และคุ้นเคยในการเรียนในอนาคตต่อไป
- เกมซูโดกุ เป็นการออกกำลังกายสมอง : เกมซูโดกุ ต้องใช้สมองจดจำตัวเลขปริศนา ในตารางอยู่ตลอดเวลา ทำให้เด็กได้จดจ่ออยู่กับเกม และโฟกัสกับตัวเองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการช่วยให้เด็กได้พัฒนาสมองของตัวเอง
- เกมซูโดกุ สร้างโฟกัส ฝึกสมาธิ และความอดทน : การเล่นเกมซูโดกุ ทำให้เด็กมีสมาธิ ได้จดจ่ออยู่กับตัวเอง รวมถึงได้ฝึกการใช้ตรรกะ เหตุผล และความอดทนในการเล่น นอกจากนี้ เด็กต้องใช้สมองทั้งสองส่วนโฟกัสกับเกม ทำให้พวกเขาได้ฝึกสมาธิ และความอดทนอีกด้วย
วิธีการเล่นเกม ซูโดกุ เบื้องต้น
สำหรับวิธีการเล่นเกมซูโดกุ เบื้องต้น ผู้เล่นจะต้องเติมตัวเลข 1-9 ลงในช่องว่างของตาราง 9×9 ซึ่งจะต้องใช้ตัวเลขทั้งหมดไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง ทั้งในแนวนอน แนวตั้ง และตารางย่อย 3×3 ต้องมีเลข 1-9 ไม่ซ้ำกัน โดยผู้เล่นต้องใช้ทักษะในเหตุและผล หรือตรรกะ เพื่อไขปริศนาจากตัวเลขที่กำหนดมาให้ ผู้เล่นจะต้องเลือกช่องที่ตนจะเริ่มเล่นก่อน แล้วพิจารณาตัวเลขในตารางที่กำหนดมาให้ จากนั้นจึงใส่ตัวเลขที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องลงในช่องว่าง ค่อย ๆ เติมตัวเลขทั้งหมด โดยไม่ซ้ำกันในแต่แถวแนวนอน แนวตั้ง และตารางย่อย 3×3 จนครบ เพื่อทำให้การเล่นเกมนี้สมบูรณ์ ผู้เล่นสามารถใช้ทักษะการสังเกตในการช่วยแก้ปริศนานี้ได้ เช่น หากในตารางเหลือเพียงตัวเลขสุดท้ายของแต่ละแถว ก็สามารถเติมลงไปได้เลย หรือหากเรามองเห็นเลขในแนวนอน และแนวตั้งแล้ว จะต้องมีเลขที่ไม่ซ้ำกัน แล้วจึงเติมตัวเลขที่เหลือได้เลย
ความเข้าใจที่ผิด เกี่ยวกับการเล่นเกม ซูโดกุ
- ต้องเก่งการคำนวณ เพื่อเล่นเกมซูโดกุ : หลายคนคิดว่าการเล่นซูโดกุ จะต้องเก่งการคำนวณ หรือเก่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐาน ถือเป็นความคิดที่ผิด เพราะการเล่น ซูโดกุ จริง ๆ แล้ว เป็นการเล่นเกมที่ไม่ต้องใช้ทักษะในการคำนวณใด ๆ เพียงแค่นำเลข 1-9 ไปเติมลงในช่องว่าง โดยต้องไม่ซ้ำกันในแต่ละแถว และตาราง ผู้เล่นจะต้องใช้ทักษะเหตุ และผล หรือตรรกะ ไม่ใช่การคำนวณ หรือคณิตศาสตร์อย่างใด
- เกมซูโดกุ เป็นเกมใช้โชค : เรียกได้ว่าเป็นความเข้าใจผิด ที่คนส่วนใหญ่คิดว่า การเล่นเกมซูโดกุต้องใช้โชค แท้จริงแล้ว เกมซูโดกุ เป็นเกมที่ต้องใช้เหตุ และผล รวมถึงตรรกะ ในการแก้ปริศนา โดยผู้เล่นจะต้องใช้ความคิดเพื่อไขปริศนาตัวเลข ในแต่ละตารางที่กำหนด จนครบ ดังนั้น การเล่นเกมชูโดกุ จึงไม่ใช่การใช้โชคช่วย ในการทายตัวเลขที่เหลือ แต่เป็นการใช้ความคิดของผู้เล่น ไขคำตอบนั่นเอง
- เกมซูโดกุ ต้องใช้การคาดเดา : อีกหนึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเกมซูโดกุ คือ ต้องใช้การคาดเดา และคาดคะเน คำตอบที่เหลือ ความจริงแล้วการคาดเดา เป็นวิธีการที่ผิดในการเล่นเกมนี้ เพราะหากเราไม่สามารถไขตัวเลขในหนึ่งแถว หรือหนึ่งตารางได้ แล้วผู้เล่นเกิดใช้วิธี การคาดเดา ก็จะทำให้ตัวเลขที่เหลือผิดไปด้วย ทั้งยังทำให้เกมนี้ ขาดความสนุก และเอกลักษณ์ในการเล่นไปพอสมควร
- เกมซูโดกุ ยากเกินไป : การเล่นเกมซูโดกุ อาจจะมองได้สองแบบ แบบแรกคือ ผู้เล่นที่ไม่คุ้นชินกับเกมประเภทไขปริศนา อาจจะมองว่าเกมนี้ยากเกินไป แบบที่สองคือ ผู้เล่นที่คุ้นเคยกับเกมประเภทนี้ หรือเกมที่ต้องใช้เหตุ และผล ในการคิด จะรู้สึกว่าเกมนี้ง่าย อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมซูโดกุนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะของคณิตศาสตร์ หรือทักษะการคำนวณ เหมือนเกมอื่นที่ผู้เล่นต้องหาคำตอบด้วยการคำนวณ เพียงแค่ต้องใช้เหตุ และผล เพื่อไขคำตอบของช่องตารางนั้น ๆ
หากกำลังมองหาเกมที่ช่วยฝึกสมาธิ ตรรกะ และสติปัญญาของลูกน้อย ซูโดกุ เป็นอีกหนึ่งเกมที่จะช่วยพัฒนาเด็ก ให้มีระบบความคิดที่ดีขึ้น นอกจากนี้การเล่นซูโดกุ ยังสามารถหาเล่นได้ง่าย ๆ บนแอปพลิเคชันมือถือ หรือในหนังสือสำหรับการเล่นซูโดกุโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ และพัฒนาทักษะด้านการใช้สมองได้ดียิ่งขึ้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทำความรู้จัก “การ์ดยูกิ” ความคลาสสิคที่ครองใจเด็ก ๆ มาหลายยุคหลายสมัย
เกมเศรษฐี (Monopoly) ความเก่าแก่ที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย
มายากล (Magic) เวทมนตร์สำหรับเด็ก ๆ หากลูกสนใจควรทำอย่างไร
ที่มาข้อมูล : SUBSCRIBE FOR UPDATES AND FREEBIES, sudoku.com