ลูกสะอึกบ่อย เกิดจากอะไร? วิธีหยุดทารกไม่ให้สะอึก ทำอย่างไร?

อาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร แม้ว่าลูกน้อยของเราจะยังเด็ก แต่ว่าเด็กก็เจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนกับเราได้ แม้แต่ตอนที่กินข้าวหรือกินนม เด็ก ๆ ก็สามารถสะอึกได้เหมือนกับผู้ใหญ่ ลูกสะอึกทำไงดี เด็กสะอึก ทารกแรกเกิดสะอึก ทารกสะอึก ลูกสะอึกบ่อย หลังกินนม หรือ ลูกสะอึกในท้อง แก้ปัญหาการสะอึกยังไงให้ได้ผล ลูกสะอึกบ่อย จะมีวิธีแก้ไขหรือไม่ อาการเด็กสะอึก คล้ายกับผู้ใหญ่หรือเปล่า ลูกสะอึกบ่อย สะอึกเกิดจากอะไรได้บ้าง มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันดีกว่า

 

อาการสะอึก คืออะไร

ลูกสะอึกบ่อย ปัญหาสุดฮิตของทารก หลังกินนม ลูกมักจะมีอาการสะอึก ซึ่งการที่เด็กสะอึกนั้น สร้างความกังวลให้พ่อแม่มือใหม่อย่างมาก เพราะพ่อแม่หลาย ๆ คน ไม่รู้จะทำยังไงให้ลูกเลิกสะอึก แถมยังไม่แน่ใจด้วยว่า จะสามารถใช้วิธีเดียวกันกับที่ผู้ใหญ่ใช้ได้หรือไม่ แต่ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ

 

อย่างแรกเลย เราต้องทำความเข้าใจกันก่อน ว่าการที่เด็กทารกแรกเกิดมีอาการสะอึกหลังจากให้นมนั้น เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่อันตรายร้ายแรงแบบที่กลัวค่ะ ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการรับมือกับอาการสะอึกของเด็ก ๆ เรามาดูกันก่อน ว่าอาการสะอึกนั้น มีลักษณะเป็นยังไง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

อาการสะอึกในเด็ก ทารก เด็กทารก เด็กแรกเกิด สะอึก แก้อาการสะอึก ลูกน้อยสะอึกทำไงดี ลูก สะอึก บ่อย เด็ก ทารก สะอึก บ่อย (ภาพโดย KamranAydinov จาก freepik )

 

สะอึก คือ อาการที่เกิดจากการที่กระเพาะอาหารของคนเรานั้น เกิดความระคายเคือง จนเส้นประสาททำงานผิดปกติ จนทำให้กะบังลมหดเกร็งนั่นเองค่ะ ซึ่งคนทุกคนมีอาการสะอึกกันได้ แม้แต่เด็กทารกแรกเกิดเองก็สะอึกได้ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติใด ๆ ค่ะ

 

ลูกสะอึกบ่อย สะอึก เกิดจากอะไรได้บ้าง ? สะอึกทำไงดี

การที่ลูกน้อยของเราสะอึก อาจเกิดจากการที่ระเพาะอาหารของเด็กเกิดการขยายตัวหลังจากที่กินนมเข้าไป จนทำให้เกิดแรงดันขึ้นที่กะบังลม ในช่วงแรก เด็ก ๆ อาจจะสะอึกบ่อย แต่เมื่อเด็ก ๆ มีอายุได้ 4-5 เดือน เด็ก ๆ จะเริ่มสะอึกน้อยลงค่ะ นอกจากนี้ อาการสะอึกของเด็กทารก ยังอาจเกิดจากก้อนเนื้องอก ความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง หรือเกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้อีกด้วย รวมทั้งหากเด็ก ๆ รู้สึกตกใจกะทันหัน หรือรู้สึกเครียด เด็กก็อาจสะอึกได้เช่นเดียวกันค่ะ

 

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสะอึก ลูกสะอึกบ่อย อันตรายไหม

มีหลาย ๆ ครั้ง ที่อาการสะอึก ไม่ได้เกิดจากการขยายตัวของกระเพาะอาหาร หรือเป็นเพราะกลไกร่างกายโดยทั่วไปเท่านั้น แต่เกิดจากโรคและความผิดปกติบางอย่างของเด็ก ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากปล่อยไว้นาน เช่น

  • ความผิดปกติที่กะบังลม หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้กะบังลม ได้แก่ หลอดอาหาร ปอด เส้นประสาทกะบังลม ซึ่งอาจเกิดจากการที่หลอดอาหารทำงานผิดปกติ ปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ หรือมีเลือดออกในปอดและช่องอก
  • ความผิดปกติในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบเฉียบพลัน กระเพาะหรือลำไส้อุดตันหรือไม่ทำงาน ตับอ่อนอักเสบ
  • ความผิดปกติที่สมอง เช่น กะโหลกศีรษะแตก สมองถูกกระทบกระเทือน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

 

อาการสะอึกในเด็ก สะอึกเกิดจาก อะไร ลูกสะอึกบ่อย ทารกสะอึกหลังกินนม ถ้าลูกของเราเติบโตเกินวัยทารกและมีอาการสะอึกล่ะ ? ทารก เด็กทารก เด็กแรกเกิด สะอึก ลูก สะอึก บ่อย เด็ก ทารก สะอึก บ่อย (ภาพโดย yanalya จาก freepik)

 

วิธีแก้อาการสะอึก หลังทารกกินนมเสร็จ ลูกสะอึกบ่อย แก้ปัญหายังไงดี

หากว่าลูก ๆ ของเรามีอาการสะอึก และคุณแม่เองก็รู้สาเหตุที่ทำให้ลูกสะอึก อย่างแรกเลย เราต้องพยายามแก้ที่ต้นเหตุก่อนค่ะ หากสงสัยว่าลูกสะอึกเพราะมีอาหารติดในลำคอ ก็ควรให้ลูกดื่มน้ำแก้สะอึก แต่หากไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ลูกสะอึก อาจลองใช้วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ค่ะ

  • ให้ลูกดื่มน้ำหลาย ๆ ครั้ง ดื่มไปเรื่อย ๆ หรือจะลองให้ลูกกลั้นหายใจจนอาการสะอึกหายก็ได้ นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถทำให้ลูกจาม โกรธ กลัว ตื่นเต้น หรือเกิดอารมณ์รุนแรงอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ลูกหยุดสะอึกได้ด้วย
  • การให้ลูกดูดนมแม่ ก็ถือเป็นวิธีที่ช่วยแก้อาการสะอึกได้ดี โดยที่ไม่ต้องให้ลูกกินน้ำ แต่ถ้าลูก ๆ หย่านมแล้ว อาจจะแก้สะอึกโดยให้ลูกกินนมจากขวดนมแทนได้
  • ให้ลูกนั่งบนตัก นั่งตัวตรง แล้วใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับประคองคางลูกไว้ พยายามให้ตัวเด็กเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือลูบหลังเด็กเบา ๆ ช้า ๆ ลูบจากเอวด้านหลังขึ้นมาจนถึงต้นคอ เพื่อเป็นการไล่ลม
  • ทุกครั้งหลังจากที่ลูกกินนมแล้ว คุณแม่ต้องทำให้ลูกเรอเพื่อไล่ลมออกทุกครั้งค่ะ ซึ่งทำได้โดยการตบหลังลูกเบา ๆ หรือวนมือเป็นวงกลมบริเวณท้องก็ช่วยได้เหมือนกันค่ะ

 

สิ่งที่ไม่ควรทำกับลูก เมื่อลูกน้อยสะอึก

หากว่าลูกสะอึกบ่อย เราก็คงจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยให้ลูกสะอึกน้อยลง แต่ก็มีบางอย่าง ที่เราไม่ควรทำกับลูก เช่น ให้ลูกกินนมเปรี้ยวหรืออาหารเปรี้ยวจัด กดตาลูกแรง ๆ ตบหลังลูกแรง ๆ หรือดึงลิ้นเด็กจนเด็กเจ็บ เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เด็กยิ่งตกใจมากขึ้นกว่าเดิมได้ค่ะ

 

ลูกสะอึกแบบไหน เด็กแรกเกิดสะอึกยังไง ต้องพาไปหาหมอ

แม้ว่าเด็กทารกจะสะอึกได้เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่บางครั้ง คุณแม่ก็ต้องสังเกตอาการของเด็ก ๆ ให้ดี หากว่าเด็ก ๆ ไม่หยุดสะอึกสักที สะอึกมานานหลายชั่วโมง แม้ว่าจะลองใช้หลาย ๆ วิธีแล้วก็แก้ไม่หาย พร้อมทั้งมีอาการอื่น ๆ เกิดร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ปวดท้อง อาเจียน ไอ หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก เป็นต้น ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การดูแลอาการป่วยที่พบบ่อยในทารก อาการป่วยทารก อันตราย ที่พ่อแม่ต้องรู้!
ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง
ทารกป่วยโรคไอกรน สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 1 ปี ติดเชื้อจากคนในครอบครัว

ที่มา : phyathai , Sanook

บทความโดย

Tulya