สงกรานต์ปี 2021 ทำอะไรได้บ้าง ตอนมีโรคระบาด แต่ละจังหวัดให้กักตัวกี่วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สงกรานต์ ปี 2021 ทำอะไรได้บ้าง ตอนมีโรคระบาด แต่ละจังหวัดให้กักตัวกี่วัน สงกรานต์ปีนี้คงต้องงดออกไปอีกตามเคย เนื่องจากสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะแย่ลงอีกครั้ง

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สงกรานต์ปีนี้ถูกงดออกไปก่อน โดยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงการณ์ว่า การติดเชื้อระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 8 เมษายน 2564 มีผู้อยู่ระหว่างรักษา 2,114 ราย ผู้รักษาหายแล้ว 23,924 ราย และเสียชีวิตสะสม 35 ราย

 

สงกรานต์ ปี 2021 ทำอะไรได้บ้าง

คำถามยอดฮิต เพราะว่าปีที่ผ่านมาหลายคนก็ไม่หยุดกัน ปีนี้ได้หยุดแล้ว จะเดินทางไปต่างจังหวัดหรือกลับภูมิลำเนาก็ดูเสี่ยงไปหมด ประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณเห็นทีก็จะต้องงดกันไปก่อน

สงกรานต์ วิถีใหม่

แนวทางมาตรการเทศกาลสงกรานต์ 2564 ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งได้ออกมาตรการออกเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  1. การจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์

    ให้ประชาชนทุกคนยึดปฏิบัติแบบวิถีใหม่ หรือ New Normal โดยสามารถทำกิจกรรมที่สืบสานประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยวได้ตามปกติ แต่งดเว้นกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก และมีการพบปะกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการจัดงานในพื้นที่แคบ หรือพื้นที่ห้องปรับอากาศ
    • จำกัดผู้เข้าร่วม ตามขนาดของสถานที่จัดงาน 1 คนต่อ 1 ตารางเมตร
    • เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร
    • สวมหน้ากากอนามัยทุกคน ตลอดเวลา
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
    • งดจับกลุ่ม หรือกิจกรรมเล่นสาดน้ำ ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม และจัดเลี้ยงสังสรรค์
  1. การขับขี่ยานพาหนะ

อย่างที่ทราบกันดีในทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์มักเกิดอุบัติเหตุมาก ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนขับขี่กันอย่างปลอดภัย และปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เมาไม่ขับ ง่วงให้พักงีบข้างทางก่อนเดินทางต่อ เช็กสภาพยานพาหนะให้พร้อมสำหรับการเดินทาง

  1. การจัดกิจกรรมอื่นๆ

การจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ เช่น งานบรรพชาอุปสมบท งานมงคลสมรส และงานฌาปนกิจศพ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ขอความร่วมมือเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์

เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการผ่อนปรนการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจึงขอความร่วมมือองค์กร/ หน่วยงาน ผู้จัดงานที่มีประสงค์จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ หรือกิจกรรมอื่นๆ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่สาธารณะตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

บทความที่น่าสนใจ : พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือ ยุค New normal พาลูกไปห้างยังไงให้ปลอดภัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากจำเป็นต้องจัดงาน ต้องทำอย่างไร

ทางกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ทราบและตระหนักถึงพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมอื่นๆ ที่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดขึ้นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงได้ออกข้อปฏิบัติออกมาเพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความปลอดภัย ห่างไกลโรคระบาด ดังนี้

  1. ภายในบัตรเชิญ หรือการบอกกล่าวเชิญแบบปากเปล่า ให้เจ้าภาพแจ้งผู้เข้าร่วมงานให้สวมหน้ากากอนามัยมาร่วมงานทุกคน หากมีอาการป่วย มีไข้ ไอ ขอความร่วมมือให้งดเข้าร่วมงาน
  2. จัดให้มีจุดคัดกรองและตรวจไข้ผู้เข้าร่วมงาน (สามารถแจ้งไปยังผู้ดูแลเขต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เข้ามาช่วยในเรื่องการคัดกรองได้) หากพบว่ามีอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้พบแพทย์ทันที
  3. จัดให้มีการลงทะเบียน หรือบันทึก ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์
  4. เตรียมหน้ากากอนามัยสำรอง สำหรับผู้เข้าร่วมงานที่ลืมนำมา และมีจุดบริการแอลกอฮอล์ให้ทั่วพื้นที่บริเวณจัดงาน
  5. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร
  6. หากมีการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมชามช้อนเดียวกัน
  7. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  8. ทำความสะอาด หรือจุดบริเวณที่มีผู้สัมผัส บ่อยครั้ง
  9. งดการแสดงดนตรี มหรสพ หรือเต้นรำทุกชนิด
  10. ระยะเวลาในการจัดงานควรให้สิ้นสุดไวที่สุด
  11. ภายหลังจบงาน ถ้าพบผู้เข้าร่วมงานป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้รีบแจ้งและจัดส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดให้กระทรวงสาธารณสุขทันที

สั่งปิดสถานบันเทิง 41 จังหวัด

เป็นไปตามคาด วันที่ 9 เมษายน 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศคบ.) ชุดใหญ่ได้เคาะมติออกมาแล้วว่า สั่งปิดสถานบันเทิง (ผับ บาร์ คาราโอเกะ และอาบอบนวด) ทั้งหมด 41 จังหวัด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป เป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม

  1. กรุงเทพฯ
  2. ปทุมธานี
  3. นนทบุรี
  4. นครปฐม
  5. สมุทรปราการ
  6. สมุทรสงคราม
  7. สมุทรสาคร
  8. พระนครศรีอยุธยา
  9. สระบุรี
  10. ลพบุรี
  11. นครนายก
  12. ชลบุรี
  13. ระยอง
  14. จันทบุรี
  15. ปราจีนบุรี
  16. ฉะเชิงเทรา
  17. สระแก้ว
  18. สุพรรณบุรี
  19. กาญจนบุรี
  20. ราชบุรี
  21. ประจวบคีรีขันธ์
  22. เพชรบุรี
  23. ระนอง
  24. ชุมพร
  25. นครศรีธรรมราช
  26. ภูเก็ต
  27. สุราษฎร์ธานี
  28. สงขลา
  29. ยะลา
  30. นราธิวาส
  31. นครราชสีมา
  32. ขอนแก่น
  33. ชัยภูมิ
  34. อุดรธานี
  35. บุรีรัมย์
  36. เลย
  37. เชียงใหม่
  38. ลำปาง
  39. เชียงราย
  40. ตาก
  41. เพชรบูรณ์

สงกรานต์ ปี 2021 เดินทางไปจังหวัดอื่น กักตัวกี่วัน

สำหรับประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือพื้นที่สีแดง ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดนครปฐม จะต้องกักตนเองอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน เมื่อเดินทางถึงต้องแจ้งผู้นำชุมชนหรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภายใน 12 ชั่วโมง โดยจังหวัดที่ได้มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • พัทลุง
  • พะเยา
  • เชียงใหม่
  • ขอนแก่น
  • ลำปาง
  • สกลนคร
  • อุดรธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • เพชรบูรณ์
  • นครราชสีมา

สำหรับผู้ที่มีประสงค์กลับภูมิลำเนา และเป็นผู้ที่ไม่ได้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูงสุด สามารถเดินทางได้ปกติ แต่ต้องหมั่นสำรวจอาการของตนเองอย่างละเอียด ถ้ามีไข้สูง หรืออาการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส ให้เข้าพบแพทย์ทันที ใครที่วางแพลนเที่ยว หรือกำลังจะเดินทางกลับภูมิลำเนา รักษาสุขภาพ  หมั่นล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาด้วยนะคะ

ที่มา : 1, 2, 3

 

บทความโดย

Siriluck Chanakit