วิธีสังเกตเด็กขาโก่ง แบบไหนปกติ ? แบบไหนผิดปกติ ?

ภาวะขาโก่งในเด็ก เป็นความกังวลของพ่อแม่ เด็กทารกส่วนใหญ่จะมีขาที่โค้ง และไม่เหยียดตรง แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราจะไม่โตไปเป็น เด็กขาโก่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะขาโก่งในเด็ก ขาโก่ง เป็นหนึ่งในความกังวล และปัญหาคาใจของพ่อแม่ หากสังเกตดูแล้ว ไม่ว่าทารกคนไหน ก็เหมือนจะมีขาที่โค้ง และไม่เหยียดตรงทั้งนั้น แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราจะโตไปเป็น เด็กขาโก่ง หรือมีภาวะขาโก่งผิดปกติ หรือไม่ ?

เด็กแรกเกิดทุกคนจะเกิดมาพร้อมกับขาที่โก่ง ซึ่งเรียกว่า โก่งแบบธรรมชาติ ซึ่งจะค่อย ๆ ตรงขึ้นตามช่วงอายุ แต่ลักษณะโก่งที่ผิดธรรมชาติ ก็อาจเกิดขึ้นได้ ภาวะ เด็กขาโก่ง ที่ผิดธรรมชาติ จะไม่หายไปเองเมื่อโตขึ้น และมักจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต

 

ลักษณะของอาการ ขาโก่ง

ภาวะขาโก่ง (Bowlegs) จะมีลักษณะข้อเท้าชิด ปลายเท้าชี้ไปทางด้านหน้า  แต่ช่วงขากลับโค้งออกด้านนอก ไม่ชิดติดกัน

ลักษณะของขาที่โก่งโค้งออกนี้ เป็นธรรมชาติของการเจริญเติบโตที่เป็นปกติ ตั้งแต่คลอด จนถึงวัยหัดเดิน ไม่เจ็บปวด หรือส่งผลกระทบกับทักษะการเดิน และการเคลื่อนไหว ภาวะขาโก่งตามธรรมชาติ จะกลับมาเหยียดตรงได้ เมื่อโตขึ้น แต่หากเป็นภาวะขาโก่งผิดธรรมชาติ จะไม่หายไปเอง อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพ และการเดินในอนาคต

ลักษณะของเด็กขาโก่งที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และจะเหยียดตรงขึ้นเองตามอายุ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตามรูปด้านบนนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงเด็กที่มีขาโก่งโดยธรรมชาติ

โดยภาพ A ของลูกจะโก่งออกด้านนอก เข่าทั้งสองข้างห่าง แต่ข้อเท้าชิด ลักษณะนี้เป็นลักษณะทั่วไปของเด็กหลังคลอด  สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการขดตัวอยู่ในมดลูกของแม่ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีลักษณะกลม ๆ

เมื่อลูกอายุได้ประมาณ 18 เดือน (ภาพ B) ขาก็จะตรงขึ้น เมื่ออายุ 3 ขวบครึ่ง (ภาพ C) ก็จะกลับมามีลักษณะเป็นขาเป็ด เมื่ออายุราว ๆ 7 ปี (ภาพ D) ขาจะกลับมาตรงเป็นปกติเหมือนผู้ใหญ่ จากภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของขาโก่งตามธรรมชาติ ซึ่งจะดีขึ้น เมื่อเด็กเติบโต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะขาโก่งผิดธรรมชาติ เกิดจากอะไร

นายแพทย์ปวริศร สุขวนิช แผนกศัลยแพทย์กระดูก และข้อในเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายถึงสภาวะอาการขาโก่ง เก ไว้ว่า อาการขาโก่งมักพบในเด็กวัยหัดเดิน โดยขา และเข่าจะโค้งงอเท่า ๆ กัน ทั้งขาซ้าย และขาขวา บางรายอาจจะพบว่า ขาโก่งข้างใด ข้างหนึ่ง ทางการแพทย์จะเรียกอาการขาโก่งแบบนี้ว่า ขาโก่งตามสรีระ (physiologic bow legs) ทั้งนี้ หากไม่ใช่ขาโก่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ หรือโก่งปกติ ซึ่งการขดตัว ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ทำให้เกิดการตึงของเส้นเอ็น และการรั้งของกล้ามเนื้อด้านในของข้อเข่าแล้ว เด็กก็อาจมีภาวะขาโก่งที่ผิดปกติ อันเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • กระดูกขาเจริญเติบโตผิดปกติ
  • เกิดจากความผิดปกติของข้อตะโพก
  • อาจเป็นอาการหนึ่งของกลุ่มโรคกระดูกอ่อน ข้อเข่าเสื่อม
  • โรคทางพันธุกรรม

 

การสังเกตว่าเด็กขาโก่งผิดปกติ

โดยทั่วไปแล้ว เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี จะดูเหมือนมีภาวะขาโก่งตอนเดินเตาะแตะได้เล็กน้อย ถ้าเดินได้ปกติดี ไม่ล้มบ่อย ๆ และหายเอง ก็อาจเป็นภาวะขาโก่งที่เป็นปกติ ตามช่วงวัยของเด็ก

แม้ว่าภาวะขาโก่งในเด็กเล็ก จะไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ แต่หากลูกอายุ 2 ขวบแล้ว ขาก็ยังไม่กลับมาเหยียดตรง และโก่งมากขึ้น อาการขาโก่งของลูก อาจผิดปกติ และจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคต ขาจะโก่งมากขึ้น จนรู้สึกเจ็บ ปวดหัวเข่า หรือมีอาการข้อเข่าเสื่อม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการสังเกตว่าลูกมีภาวะขาโก่งหรือไม่ ให้ลูกนั่งเหยียดขาตรง หันหน้าเข้าหาคุณแม่ ข้อเท้าชนกัน ปลายเท้าเหยียดพุ่งไปทางด้านหน้า ขาตรงปกติ จะไม่มีช่องว่างระหว่างหัวเข่าทั้งสองข้าง ในขณะที่รูปขาโก่งงอ จะมีระยะห่างระหว่างหัวเข่าตั้งแต่ 2 นิ้ว - 4 นิ้ว ซึ่งเป็นลักษณะของขาที่ผิดรูปมาก

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตจากวิธีการเดินของลูก เด็กขาโก่งผิดรูป จะมีลักษณะการเดินที่ดูไม่ค่อยถนัด อาจจะหกล้ม หรือข้อเท้าพลิกบ่อย ๆ แต่ในส่วนเท้าที่บิดหมุนเข้าด้านใน เกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติ และไม่ปกติ แต่ในภาวะขาโก่งผิดรูป ข้อเท้าอาจจะบิดหมุนเข้าไปเยอะกว่า

เท้าที่บิดหมุนเข้าด้านใน เกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติ และไม่ปกติ แต่ในภาวะขาโก่งผิดรูป ข้อเท้าอาจจะบิดหมุนเข้าไปเยอะกว่า

วิธีการรักษาเด็กขาโก่งที่ผิดปกติ

เด็กที่มีภาวะขาโก่งผิดปกติ ไม่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ การรักษาด้วยวิธีการผ่า เพื่อตัดแต่งกระดูก และใส่เฝือก เพื่อให้กระดูกขากลับมาตรง เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลมากที่สุด

การรักษาเมื่อเด็กยังอายุน้อย ๆ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า และเร็วกว่า เพราะกระดูกจะติดกันเร็ว หลังผ่าตัดคุณหมอจะให้ใส่เฝือกประมาณ 1 - 2 เดือน จากนั้นจะฝึกกายภาพ ยืน เดิน ออกกำลังกายเบา ๆ ฟื้นฟูความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ จนกลับมาเป็นปกติ

อีกหนึ่งวิธีคือ การดามขา เด็กจะต้องใส่อุปกรณ์ดามตั้งแต่ต้นขา ลงมาจนถึงเท้า วันละหลายชั่วโมง เพื่อให้ขากลับสู่รูปปกติ ในระหว่างการดัดดามนี้ เด็กจะใช้ชีวิตค่อนข้างลำบาก อีกทั้งยังไม่อาจรับรองผลว่า จะสามารถดัดให้กระดูกขากลับมาตรงปกติได้หรือไม่ วิธีจึงไม่ใช่วิธีที่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก

 

ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทำให้ขาโก่ง จริงหรือ ?

คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยิน เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ลูกขาโก่ง อย่างเช่น การใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรือการอุ้มลูกเข้าเอว ว่าจะทำให้โตไปเป็น เด็กขาโก่ง หรือไม่ คำตอบจาก กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี ได้อธิบายถึงความกังวลนี้ว่า ความเชื่อที่ว่าการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรือการอุ้มลูกเข้าเอว จะทำให้เด็กขาโก่ง ไม่ใช่ความเชื่อที่ถูก เพราะลักษณะขาที่โก่งเล็กน้อยที่พบในเด็กเล็ก เป็นไปตามธรรมชาติ แต่หากคุณพ่อคุณแม่มีความสงสัย และต้องการแน่ใจว่า ลูกมีภาวะขาโก่งปกติหรือไม่ ก็สามารถปรึกษารายละเอียดกับแพทย์ได้

 

อย่าแก้ปัญหาลูกขาโก่งด้วยการดัดขา

เด็กที่มีภาวะขาโก่งผิดปกติ ต้องได้รับการรักษา จึงจะกลับมาตรง และเป็นปกติได้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ขาของลูกโก่งผิดปกติ ให้รีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากการรักษาตั้งแต่ตอนเด็กอายุน้อย ๆ จะทำให้ได้ผลดีมากกว่าปล่อยไปรักษาตอนที่ลูกอายุมากแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการขาโก่งมักพบในเด็กวัยหัดเดิน โดยขา และเข่าจะโค้งงอเท่า ๆ กัน ทั้งขาซ้าย และขาขวา บางรายอาจจะพบว่า ขาโก่งข้างใด ข้างหนึ่ง ทางการแพทย์จะเรียกอาการขาโก่งแบบนี้ว่า ขาโก่งตามสรีระ (physiologic bow legs)

การป้องกันภาวะขาโก่งผิดปกติ

แน่นอนว่า ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากจะให้ภาวะนี้เกิดขึ้นกับลูก และหาวิธีป้องกันทุกทาง ยิ่งรู้เร็ว ก็ยิ่งรักษาได้เร็ว อีกทั้งยังเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากกว่า หากได้รับการรักษาในเด็กที่กระดูกยังเติบโตไม่เต็มที่

แม้ว่าภาวะขาโก่ง จะสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ แต่การจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นนั้น อาจจะยากสักหน่อย ทำได้เพียงแค่ลดความเสี่ยงไม่ให้ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้น เช่น หากลูกอายุเกิน 2 ขวบ แต่ขายังมีลักษณะโค้งงออยู่ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ การรับประทานแคลเซียม และวิตามินดี เพื่อลดความเสี่ยงโรคกระดูกอ่อน เปราะบางในเด็ก ซึ่งขัดขวางการเจริญเติบโตของกระดูก

ภาวะขาโก่งผิดปกตินี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้เสียบุคลิกภาพเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงอาการของกลุ่มโรคเกี่ยวกับกระดูก และการเจริญเติบโตอีกด้วย อีกทั้งการรักษาในวัยเด็ก จะยิ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า หากปล่อยไว้จนโต อาจจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตลักษณะท่าทางของลูก และปรึกษาแพทย์ทันที หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น

 

ที่มา : vejthani.com , prachachat.net

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

14 พัฒนาการลูกวัยเตาะแตะที่หาไม่ได้ในหนังสือ

ท่านอนน่ารักของหนูน้อยวัยเตาะแตะ

ทารกแรกเกิดก็เจ็บปวดเป็น 5 เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ ว่าหนูเจ็บปวดมากนะ

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team