ระบบสุริยะ คืออะไร? เรียนรู้เรื่องราวของดาวเคราะห์ เสริมพัฒนาการเด็ก

-

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องราวของ ระบบสุริยะ ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่การเรียนรู้จะทำให้เราได้รู้จักโลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่ได้มากยิ่งขึ้น และประกอบด้วยดาวไหน มีลักษณะอย่างไร มาค้นคว้าหาคำตอบไปด้วยกันเลยค่ะ

 

ระบบสุริยะ คืออะไร?

“ระบบสุริยะ” เป็นคำที่เราใช้เรียกเฉพาะระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวโลก (ที่เราอาศัยอยู่) เป็นสมาชิก ซึ่งจะหมายถึง วงโคจรที่เรายึดพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางนั่นเอง ดังนั้นเราจะไม่เรียกระบบนี้ว่าจักรวาล แม้ว่าหลายคนมักจะพูดกันติดปากว่า “ระบบสุริยะจักรวาล” ซึ่งไม่ถูกต้อง

 

คลิปจาก:GrandMaster TV

การเกิดระบบสุริยะ

โดย Pierre Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า “ในระบบสุริยะจะมีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบน ๆ ขนาดมหึมาหมุนรอบตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการหมุนรอบตัวเอง มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum) ในที่สุด เมื่อความเร็ว มีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซแยกตัวออกไปจากศูนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม”

 

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีกี่ดวง?

สุริยะ มีความหมายเดียวกับคำว่า พระอาทิตย์ ดังนั้นคำว่า “ระบบสุริยะ” (Solar System) จึงหมายถึง ระบบ หรือวงจรที่มีพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์หลัก หรือเป็นจุดศูนย์กลาง โดยเราจะเรียกพระอาทิตย์ว่า “ดาวฤกษ์” และมี “ดาวเคราะห์” (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบถึง 8 ดวง ด้วยกัน ซึ่งดาวแต่ละดวงจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาวะ และตำแหน่งของดาวแต่ละดวง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ประกอบไปด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ซึ่งดาวแต่ละดวงจะมีบริวารที่เป็นดวงจันทร์ (Moon of Sattelites) เป็นบริวารในวงโคจรของดาวดวงนั้น ๆ แต่จะมีเพียงดาวสองดวงที่จะไม่มีดวงจันทร์อยู่ด้วย นั่นก็คือ ดาวพุธ และดาวศุกร์

บทความที่น่าสนใจ : 10 การทดลองทำกับลูกที่บ้านเพื่อให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

 

ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีลักษณะอย่างไร?

ทั้งนี้เราจะเรียงลำดับของดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง โดยใช้เกณฑ์ของพระอาทิตย์เป็นหลัก ได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ดาวพุธ (Mercury)

 

 

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด เป็นหนึ่งในดาวที่ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ซึ่งเราจะสามารถสังเกตดาวพุธได้ด้วยตาเปล่าในช่วงใกล้ค่ำ และช่วงรุ่งเช้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดาวพุธจะหมุนรอบตัวเองจากทางทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยจะกินเวลาประมาณ 58-59 วัน และใช้เวลาเพียง 88 วัน ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ

 

2. ดาวศุกร์ (Venus)

 

 

ดาวศุกร์ หรือเรามักจะเรียกว่า “ดาวประจำเมือง” (Evening Star) เนื่องจาก เราจะสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้ด้วยตาเปล่า โดยการมองไปทางขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ และสังเกตเห็นที่ขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันออกในช่วงเช้าซึ่งเราจะเรียกว่า “ดาวรุ่ง” (Morning Star)

ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 รองจากดาวพุธ แต่กลับเป็นดาวที่มีอุณหภูมิที่สูงมากกว่าดาวพุธ แม้ว่าจะอยู่ไกลกว่า เนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่น ทำให้ความร้อนไม่สามารถกระจายออกมาได้ ส่งผลให้เกิดการสะสมอุณหภูมิความร้อนอย่างต่อเนื่อง และดาวศุกร์ ก็เป็นอีกหนึ่งดาวในระบบสุริยะที่ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร

 

3. โลก (Earth)

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื่อกันว่า “โลก” เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากโลก มีชั้นบรรยากาศ และมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสม ทำให้เกิดการเจริญเติบโต และดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มากมาย โดยนักดาราศาสตร์ได้อธิบายเกี่ยวกับการกำเนิดของโลกว่า เป็นการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการเคลื่อนที่ของก๊าซต่าง ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนมาก และมีดวงจันทร์เป็นบริวารหมุนรอบ 1 ดวง

 

4. ดาวอังคาร (Mars)

 

 

ถึงแม้ว่าดาวอังคาร จะอยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ จากดวงอาทิตย์ แต่เป็นเพราะวงโคจรของดวงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นวงรี ทำให้พื้นผิวของดาวอังคารมักจะมีปรากฎการณ์เมฆ และพายุฝุ่นอยู่เสมอ

ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายรายมักจะให้ความสนใจกับดาวอังคารเป็นอย่างมาก นั่นเป็นเพราะ ลักษณะและองค์ประกอบโดยรวมของดาวอังคาร มีความใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด โดยเฉพาะลักษณะของการโคจรหมุนรอบตัวเอง เช่น มีระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง 1 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 24.6 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบในช่วงเวลา 1 ปี ซึ่งมีความใกล้เคียงกับโลกของเราอย่างมาก แต่ดาวอังคารจะมีดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารถึง 2 ดวง ด้วยกัน

บทความที่น่าสนใจ : ท้องฟ้าจำลอง พาเด็ก ๆ เที่ยวพิพิธภัณฑ์ศึกษาเรื่องดาว ดูดวงกลางกรุงฯ

 

5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

 

 

ในกลุ่มดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ดาวพฤหัสบดี นับว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด และอยู่ห่างจากพระอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 โดยดาวพฤหัสจะหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลาเพียง 9.8 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย ซึ่งถือว่าเป็นการหมุนรอบตัวเองที่เร็วที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด และใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 12 ปี

กลุ่มนักดาราศาสตร์ได้อธิบายเกี่ยวกับดาวพฤหัสว่า เป็นกลุ่มก้อนก๊าซ หรือของเหลวขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นดาวที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนพื้นดินเช่นเดียวกับโลก ซึ่งดาวพฤหัสนี้ เป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นบริวารมากถึง 16 ดวง

 

6. ดาวเสาร์ (Saturn)

 

 

ดาวเสาร์เป็นดาวที่มีลักษณะเฉพาะ ชัดเจน โดดเด่น และจดจำได้ง่าย นั่นเป็นเพราะเป็นดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นลักษณะของอนุภาคเล็ก ๆ หลากหลายชนิดรวมตัวกัน และหมุนรอบดาวเสาร์ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวมีด้วยกันถึง 3 ชั้น

เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซ และของเหลว ซึ่งสีของดาวดวงนี้ค่อนข้างเหลือง และใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองเพียง 10.2 ชั่วโมง และใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 29 ปีต่อรอบ

ความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของดาวเสาร์นั่นก็คือ ดาวดวงนี้แม้จะมีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวเท่ากับโลกของของเรา แต่ดวงจันทร์ของดาวเสาร์นั้น จัดว่าเป็นดวงจันทร์ที่มีความใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งมีชื่อว่า “Titan”

 

7. ดาวยูเรนัส (Uranus)

 

 

เป็นดาวเคราะห์อีกหนึ่งดวงที่ประกอบไปด้วยก๊าซ และของเหลว เช่นเดียวกับดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวเนปจูน โดยดาวยูเรนัส จะใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 16.8 ชั่วโมง และใช้เวลาถึง 84 ปี ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ซึ่งมีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารด้วยกัน 2 ดวง

 

8. ดาวเนปจูน (Neptune)

 

 

ดาวเนปจูน ซึ่งคนไทยมักจะเรียกดาวดวงนี้ว่า “ดาวเกตุ” เป็นดาวเคราะห์ลำดับสุดท้ายในระบบสุริยะ ซึ่งชื่อว่า “เนปจูน” นั้น ถูกตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ เนื่องจากดาวเคราะห์ดวงนี้มีพื้นผิวเป็นสีน้ำเงิน สาเหตุเกิดจากชั้นบรรยากาศผิวด้านนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน และเนื่องจากตำแหน่งดาวดวงนี้อยู่ห่างจากพระอาทิตย์มาก จึงทำให้อุณหภูมิพื้นผิวจะอยู่ประมาณ -220 องศาเซลเซียส อีกทั้งมีกระแสลมที่รุนแรงถึง 2500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่ามีความหนาวเย็นอย่างมาก

แต่ในทางกลับกัน กลับมีหิน และก๊าซร้อน อยู่บริเวณแกนกลางภายในของดาวเนปจูน ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 7.000 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ และดาวเนปจูนจัดว่ามีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ๋เป็นอันดับ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัส และมีมวลหนาแน่นเป็นลำดับ 3 รองจากดาวพฤหัส และดาวเสาร์

 

ดาวพลูโตหายไปไหน?

 

 

หลายคนคงสงสัยว่า เราเคยได้ยินชื่อของดาวพลูโตอยู่ในระบบสุริยะมาตลอด แล้วทำไมอยู่ ๆ ถึงไม่มีการพูดถึงดาวดวงนี้ นั่นเป็นเพราะ เดิมที ดาวพลูโต เคยเป็นดาวบริวารในระบบสุริยะลำดับที่ 9 แต่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ทางสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union’s : IAU) ได้มีการโหวตให้นำดาวพลูโตออกจากระบบสุริยะ เพราะมีความคิดเห็นว่า ดาวพลูโตนั้น มีคุณสมบัติโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ของ “ดาวเคราะห์แคระ” เท่านั้น ชื่อของดาวพลูโต จึงถูกถอดออกจากกลุ่มดาวเคราะห์ในระบบสุริยะนั่นเอง

 

เพลงระบบสุริยะ ดาวเคราะห์

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดาบ 2 คม ที่มีทั้งโทษ และประโยชน์ต่อเรา

“อวกาศ” สถานที่แห่งปริศนา ทำไมเด็ก ๆ จึงชอบเป็นชีวิตจิตใจ

รวม 6 ศูนย์วิทยาศาสตร์ ในกรุงเทพ และใกล้กรุงเทพ สำหรับเด็ก ไปได้ทั้งบ้าน !

ที่มา : scienceforfunnn, thairath

บทความโดย

Arunsri Karnmana