สำหรับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่กำลังสงสัยว่า สิทธิสำหรับคลอดลูกของประกันสังคม กับสิทธิคลอดลูกกับบัตรทอง บัตรไหนดีกว่ากัน บัตรไหนที่คลอดลูกฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม หรือว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มน้อยที่สุด เรามาดูกันดีกว่าค่ะหากคุณแม่ต้องการที่จะคลอดลูกในเร็ว ๆ นี้ ควรเลือก คลอดลูกใช้สิทธิไหนดี เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวคุณแม่ค่ะ
คลอดลูกใช้สิทธิไหนดี ประกันสังคม VS บัตรทอง
1.สิทธิประกันสังคม มาตรา 33 / 39
กรณีคลอดบุตรสิทธิ
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดบุตร (หากคุณแม่ลาออกจากงานหรือประกันสังคมในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์เบื้องต้น ก็สามารถใช้สิทธิกรณีคลอดบุตรได้)
สำหรับผู้หญิง
- ได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง (ใช้สิทธิได้คนละไม่เกิน 2 ครั้ง)
- ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน
- สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร
สำหรับผู้ชาย
- ได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง
หมายเหตุ :
- กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
- หญิงตั้งครรภ์สามารถฝากครรภ์และคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลใดก็ได้ที่สะดวก โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อน แล้วนำเอกสารหลักฐาน มายื่นเรื่องเบิกได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา
กรณีสงเคราะห์บุตร
จ่ายเงินสมทบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่เกิดสิทธิ
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คน
- มีสิทธิได้รับเงินตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตร
สนใจประกันสุขภาพเหมาจ่าย คลิกที่นี่
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ค่าคลอดประกันสังคม เบิกอย่างไร เบิกได้เท่าไหร่ เบิกที่ไหน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม หลังคลอดลูกต้องทำยังไงถึงจะได้เงินทดแทน
2. สิทธิบัตรทอง
ผู้ใช้สิทธินี้ จะต้องไม่มีสิทธิประกันสุขภาพอื่นที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของรัฐ ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่น ๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการ การเมือง เป็นต้น
กรณีคุณแม่ตั้งครรภ์
คุณแม่สามารถเข้ารับบริการ ได้ดังนี้
- ทดสอบการตั้งครรภ์ ตรวจครรภ์ และประเมินความเสี่ยง
- ตรวจเลือดคัดกรองภาวะซีด ซิฟิลิส เอชไอวี ตับอักเสบบี ธาลัสซีเมียและดาวน์ ตรวจปัสสาวะ
- ฉีดวัคซีนบาดทะยัก และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ให้ยาบำรุงธาตุเหล็ก โฟลิกและไอโอดีน การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ตรวจช่องปากและฟัน
- ประเมินสุขภาพจิต ตรวจหลังคลอดและคุมกำเนิด ให้คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สมุดบันทึกสุขภาพ
- โครงการฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ ด้วยบัตรสุขภาพแม่และเด็ก ไม่ต้องสำรองจ่าย
หมายเหตุ : คุณแม่สามารถเข้ารับบริการฝากครรภ์ฟรี ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มก็ต่อเมื่อคุณต้องการบริการที่มากกว่าบริการพื้นฐาน เช่น อัลตราซาวนด์ 4 มิติ หรือ บริการที่นอกเหนือความจำเป็น
กรณีคลอดบุตร
- บัตรทองจะครอบคลุมการคลอดโดยปกติเท่านั้น ถ้าจะผ่าคลอดต้องตามดุลยพินิจของแพทย์ แต่ถ้าแพทย์เห็นว่าการคลอดแบบธรรมชาติอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อแม่หรือเด็กและพิจารณาแล้วว่าต้องผ่าคลอด คุณก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการคลอดเพิ่ม หากคุณแม่อยากผ่าคลอดต้องเสียเงินเพิ่ม
- คุณแม่สามารถใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- สำหรับค่าห้องพิเศษ คุณแม่อาจต้องจ่ายเพิ่ม ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลที่ใช้บริการค่ะ แนะนำให้สอบถามโดยตรงกับทางโรงพยาบาลนะคะ เพราะราคาในแต่ละช่วงอาจไม่เท่ากัน (อาจได้ห้องในราคาที่ถูกกว่าค่าห้องปกติ)
ข้อมูลเพิ่มเติม
- สิทธิบัตรทอง คนท้อง และลูกน้อย สิทธิประโยชน์ดี ๆ ที่แม่ควรรู้
- สิทธิบัตรทอง มีประโยชน์อย่างไร สิทธิบัตรทองคลอดบุตร
- 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 100 สิทธิแม่ท้อง บัตรทอง
หากคุณแม่เลือกใช้สิทธิบัตรทองในการคลอดลูก ถ้าคุณแม่คลอดลูกธรรมชาติ คุณแม่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มค่ะ ยกเว้น คุณแม่เลือกใช้บริการเสริมอื่น ๆ และเลือกวิธีผ่าคลอด แต่ถ้าประกันสังคม คุณแม่สามารถเบิกค่าคลอดได้ไม่เกิน 13,000 บาท ทั้งคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ซึ่งต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อนค่ะ เพราะฉะนั้นคุณแม่อาจต้องวางแผนการใช้สิทธิให้ดีนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง
เงินอุดหนุนบุตร งวดเดือนตุลาคม 2565 เริ่มโอนวันไหน?
ขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้ ขั้นตอนคลอดลูกแต่ละสเตป