5 สัญญาณบ่งบอก โรคกลัวการเข้าสังคม โรคกลัวคนเยอะ ของลูก

เคยสังเกตไหมว่าลูกเรามีอาการขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าขึ้นเวที หรือเคอะเขินเวลาเจอคนหมู่มาก จนต้องคอยมาเกาะพ่อแม่ ยิ่งหากพยายามผลักดันให้ลูกได้แสดงออกมาเท่าไหร่ ก็อาจจะส่งผลให้เด็กรู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้นที่รู้สึกทำให้พ่อแม่ไม่พอใจ แบบนี้เรียกว่า “โรคกลัวการเข้าสังคม” หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคกลัวการเข้าสังคม โรคกลัวคนเยอะ จะเกิด กับเด็กได้ตั้งแต่ยังอายุน้อย และ จะมีอาการเด่นชัดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กต้องมีการเรียนรู้ทางสังคม หาประสบการณ์ในการพัฒนาตนเอง และ บุคลิกภาพ แต่เด็กที่มีอาการกลัวการเข้าสังคม  คือ ความกลัวต่อการถูกมอง หรือถูกประเมินจากคนอื่น เด็กจะวิตกกังวลว่าถ้าตัวเองทำอะไรไม่เข้าท่า หรือผิดพลาดออกไป จะทำให้ตัวเองต้องรู้สึกอาย และ กลัวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งจะแตกต่างจากความ “ขี้อาย” เพราะหากเด็กที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม จะแทบทำอะไรต่อหน้าคนอื่น ไม่ได้เลย เกิดความประหม่า และ อาจมีอาการทางร่างกายต่าง ๆ ตามมา เช่น เวียนหัว มึนงง ท้องไส้ปั่นป่วน อยากอาเจียน มือสั่น ใจสั่น เหงื่อแตก หน้าแดง หรือเกร็งกล้ามเนื้อต่าง ๆ

สถานการณ์ที่ทำให้เด็กต้องแสดงอาการของโรคกลัวการเข้าสังคม คือ การที่ต้องออกไปแสดงบนเวที การพูดหน้าชั้น หรือ การตอบคำถามในห้องเรียน ซึ่งเด็กที่มีอาการดังกล่าวจะหาวิธีช่วย ตัวเองโดยการหลีกหนี และ จะทำให้พวกเขาพลาดโอกาสที่จะรู้จักสิ่งใหม่ ๆ รู้จักกับผู้คน หรือ การคบเพื่อนในสังคมได้เลย โดยอาการเหล่านี้จะติดตัวไปจนโต และ ไม่สามารถบังคับตัวเองให้ มีความกล้าในการเข้าสังคมได้ จนอาจทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ หรือมีภาวะโรคซึมเศร้าตามมา ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าวิตก และ น่ากลัว

โรคกลัวการเข้าสังคม

5 สัญญาณบ่งบอกโรคกลัวการเข้าสังคมของลูก โรคกลัวคนเยอะ

1.มีความลังเล รู้สึกไม่สบายใจ หรือ ยอมเป็นผู้ตามเมื่อต้องเป็นจุดสนใจของคนอื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.หลีกหนีการพูดคุย ไม่กล้าแสดงออก ไม่ชอบออกไปพบปะผู้คน หรือ แม้แต่การเดินเข้าไปขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่

3.ไม่ชอบสบตา และ มักจะพูดพึมพำเสียงเบา ๆ

4.คุยเล่นกับเพื่อนน้อย ชอบแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนอยู่คนเดียว และ ชอบหาที่เก็บตัว เช่น เข้าห้องสมุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.อ่อนไหวกลับคำพูดหรือคำวิจารณ์ต่าง ๆ อย่างมาก และ กลัวตัวเองขายหน้า กลัวถูกล้อ

ซึ่งผลกระทบที่ตามมาสำหรับเด็ก ๆ ที่เข้าข่ายเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม อาจทำให้ลูกปฏิเสธการไปโรงเรียน หรือกลายเป็นเด็กที่ไม่ชอบพูดกับใครเลยยกเว้นคนที่คุ้นเคย เท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แก้ปัญหาลูกเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมให้ถูกจุด

  • หาโอกาสให้ลูกได้เจอกับสังคมที่หลากหลาย เช่น การพาลูกไปงานวันเกิดลูกพี่ลูกน้อง พาไปเล่นกับเพื่อน ๆ กลุ่มต่าง ๆ ตามงานกิจกรรม การสนับสนุนให้ลูกได้ทำกิจกรรมในโรงเรียนแบบง่าย ๆ แต่ไม่ควรผลักดันให้ลูกเข้าไป ทำในกิจกรรมที่ใหญ่หรือยาก เพราะหากลูกผิดพลาดอาจ ได้รับประสบการณ์ที่แย่ และ ไม่กล้าขึ้นอีก
  •   ไม่ควรพูดแทนลูก ในขณะที่ลูกทำท่าอึดอัด หรือตอบช้า เปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้ความกล้า และ จังหวะในการพูด
  • หาวิธีจูงใจเช่นการให้รางวัล หรือให้คำพูดเสริมกำลังใจกับลูก เมื่อลูกกล้าที่จะแสดงออก
  • พ่อแม่คือตัวอย่างที่ดี ทำให้ลูกเห็นว่าควรวางตัวอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ
  • ไม่ควรทำท่าเหนื่อยหน่ายหรือต่อว่าลูก เมื่อลูกไม่สามารถแสดงออกตามที่พ่อแม่ต้องการ แต่ควรแสดงความเข้าใจลูก ให้กำลังใจ และ คอยส่งเสริมให้ลูกได้ลองทำในโอกาสหน้า

แม้ดูเหมือนว่าโรคกลัวการเข้าสังคม จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็มีผลกระทบในหลาย ๆ ด้านต่อตัวเด็กทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน และสังคมที่จะตามมาเมื่อเขาเติบโตขึ้น ซึ่งหากพบว่าลูกมีลักษณะสุ่มเสี่ยงอาการดังกล่าว คุณพ่อ คุณแม่ สามารถขอคำแนะนำจากจิตแพทย์ เพื่อหาทางบำบัด หรือเยียวยารักษาอาการได้

ขอบคุณที่มา : www.manarom.com , https://www.manarom.com/

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้าง รากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อม ในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และ เป็นไปตามที่ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูก คือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดี กับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และ ทำให้เด็กค้นพบตัวตน และ มีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
“โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง” ระบาดหนัก ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น
6 วิธีรับมือเมื่อเจอ “โรคดื้อและต่อต้าน” ของลูก

บทความโดย

Napatsakorn .R