ผงชูรสอันตรายต่อเด็ก จริงไหม? ทำให้เด็กสมาธิสั้นจริงเหรอ?
-
ผงชูรสอันตรายต่อเด็ก ผงเพิ่มความกลมกล่อมในอาหารที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มรสชาติ และความมั่นใจว่าอาหารนี้อร่อยแน่ แต่ในความจริงแล้วผงชูรสนั้นเหมาะสำหรับเด็กหรือไม่ เด็กสามารถทานอาหารที่มีผงชูรสได้หรือเปล่า และจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพวกเขาไหม มาดูกัน
ผงชูรสคือ?
โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium glutamate : MSG) หรือที่เรามักเรียกกันว่า ผงชูรสนั่นเอง เป็นวัตถุเจือปนอาหารทั่วไป เพื่อเพิ่มรสชาติ โดยผงชูรสนั้นได้มาจากกรดอะมิโนกูลเมต (amino acid glutamate) หรือกรดกลูตามิก (glutamic acid) ซึ่งเป็นอะมิโนที่มีอยู่มากที่สุดชนิดหนึ่งในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามกรดกลูตามิกเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งหมายความว่าร่างกายของคนเราสามารถผลิตได้เอง และนอกจากนี้ยังพบอยู่ในแทบจะทุกชนิดของอาหารอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทโปรตีน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผงชูรสนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรานั่นเอง ในทางเคมี ผงชูรสเป็นผงผลึกสีขาวที่มีลักษณะคล้ายกับเกลือ หรือน้ำตาล
บทความที่น่าสนใจ : กรดอะมิโนจำเป็น คืออะไร? อาหารชนิดไหนมีอะมิโนอยู่บ้าง?
ทำไมจึงมีการเพิ่มผงชูรสในอาหาร
ผงชูรสไม่มีรสชาติในตัวเอง แต่มีความสามารถในการช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาการได้ เมื่อใส่ผงชูรสลงในอาหารต่าง ๆ ก็จะทำให้อาหารนั้น ๆ มีรสชาติขึ้นเองโดยธรรมชาติ ซึ่งจะถูกเรียกรสชาตินี้ว่า “อูมามิ” ซึ่งเป็นรสชาติพื้นฐานที่ 5 รองจากหวาน เปรี้ยว ขม และเค็ม อีกทั้งเหตุผลหลักที่นิยมใส่ผงชูรสในอาหารคือการช่วยลดปริมาณโซเดียมในอาหารขณะที่อาหารนั้นยังคงความน่ารับประทานอยู่ เพราะว่าในผงชูรสนั้นมีเกลือโซเดียมอยู่ หรือสามารถแทนเกลือแกงได้ ดังนั้นจึงสามารถลดปริมาณโซเดียมของอาหารแปรรูปได้โดยใช้ผงชูรสแทนเกลือในบางส่วนนั่นเอง
ใช้ผงชูรสเท่าไหร่จึงจะปลอดภัย
ในเรื่องของการใช้งานนั้นเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก เพราะว่าไม่มีการจำกัดจำนวนใช้สำหรับการใส่ผงชูรสในอาหาร แต่ปกติแล้วปริมาณที่ถูกใช้ในอาหารจะอยู่ที่ประมาณ 0.1 และ 0.8 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ซึ่งอยู่ในปริมาณที่ถือว่าพบได้ในวัตถุดิบธรรมชาติทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามผงชูรสก็มีข้อจำกัดในตัวเอง ซึ่งหมายความรวมถึงปริมาณที่เหมาะสมของการใช้งาน ซึ่งการใส่เพียงเล็กน้อยจะช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้ก็จริง แต่การใช้ผงชูรสในอาหารจำนวนมากเกินไปก็อาจส่งผลทำให้รสชาติแย่ลงได้
ผงชูรสปลอดภัยจริงหรือไม่?
ผงชูรส เป็นสารที่มักเติมลงในอาหาร หรืออาหารกระป๋องต่าง ๆ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดให้ผงชูรสเป็นส่วนประกอบอาหารที่ “ได้รับความยินยอมว่าปลอดภัย” แต่ถึงอย่างนั้นทาง อย. ก็ยังคงมีข้อกำหนดบางประการสำหรับผงชูรส โดยให้ผู้ผลิตระบุบนฉลากอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้บริโภคที่อาจมีอาการแพ้ผงชูรส ดังต่อไปนี้
- ปวดหัว
- หน้าแดง
- ลมพิษ
- น้ำมูกไหล หรือเลือดคั่ง
- เหงื่อออก
- รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว
- มีอาการชา หรือรู้สึกแสบซ่า แสบร้อยบริเวณลำคอ หรือบริเวณอื่น ๆ
- หัวใจเต้นเร็ว หรือใจสั่น
- เจ็บหน้าอก
- คลื่นไส้
- อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
แต่อย่างไรก็ตาม ในการทดลองและวิจัยยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนของอาการดังกล่าวกับการรับประทานผงชูรส เพราะว่ามีบุคคลส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองในระยะสั้น ๆ ซึ่งอาการมักไม่ได้รุนแรงมากนัก และไม่ต้องการรับการรักษา โดยมีวิธีป้องกันเดียวหากเป็นผู้ที่มีประวัติเคยมีอาการมาก่อนคือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรสสูง
ผงชูรสอันตรายต่อเด็ก อย่างไร?
ถึงแม้ว่าผงชูรสจะถูกการันตีโดยคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วว่าปลอดภัย แต่สำหรับเด็ก ๆ ที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต และพัฒนาการทางด้านสมองนั้นก็ยังถือว่า ผงชูรสอันตรายต่อเด็ก โดยคุณอาจพบผงชูรสมากมายในอาหารสำเร็จรูปปรุงสุกที่ซื้อตามร้านค้า อาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารกระป๋อง หรือแม้แต่ขนมกรุบกรอบที่เด็ก ๆ ชอบทาน แต่ถึงอย่างไรก็ตามผงชูรสก็ยังเป็นวัตถุเจือปนที่มีผลค้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อเด็กเป็นอย่างมาก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ไมเกรน มีผลการวิจัยหนึ่งแจ้งว่าเด็กที่รับประทานอาหารที่มีผงชูรสเป็นเวลานาน หรือเป็นจำนวนมาก และเกิดการสะสม มักจะประสบปัญหาการเป็นไมเกรน
- โรคอ้วน การศึกษาหลายชิ้น หรือการบอกของเพศนั้นพบว่าเด็กที่ทานผงชูรสจะทำให้เกิดโรคอ้วน โดยส่วนใหญ่มีปัจจัยร่วมมากากพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาหารที่มาในรูปแบบแปรรูป หรือกึ่งสำเร็จรูปมากกว่าอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ
บทความที่น่าสนใจ : อาหาร 9 อย่างนี้ห้ามให้ลูกกินเป็นมื้อเช้าเด็ดขาด! ไร้ประโยชน์แถมเสี่ยงโรคอ้วน
- สมาธิสั้น ผงชูรสนั้นถือว่าเป็นสารเคมีพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้เกิดโรคเมตาบอลิก และสามารถทำลายสมองจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบประสาทอื่น ๆ จนอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว เวียนศีรษะ มึนงง เสียสมดุล สับสนทางจิต วิตกกังวล และอาจก่อให้เกิดการสมาธิสั้นได้
- โรคหอบหืด ผงชูรสทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก น้ำมูกไหลในเด็กได้
- เลือดคั่ง หรืออาการชัก เนื่องจากผงชูรสเป็นเกลือโซเดียมเช่นเดียวกับเกลือแกง การที่เด็ก ๆ ได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลทำให้เกิดเลือดคั่งในสมองของเด็ก และอาจทำให้เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้นจะมีปัญหาเรื่องของระบบสมองได้ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการชักโคม่า เพราะว่ามีระดับโซเดียมในร่างกายเป็นจำนวนมากอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรให้เด็กเล็ก หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบทานเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามผงชูรสที่เป็นอันตรายต่อเด็กนั้นไม่ได้เป็นเพียงการทานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่เป็นการรับประทานที่มีจำนวนมาก หรือสะสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเด็ก ๆ เพราะว่าพวกเขานั้นอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย และสมอง ทั้งนี้หากเด็ก ๆ ได้รับปริมาณผงชูรสในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน ไม่มากจนเกินไปก็ถือว่าไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของพวกเขามากนัก
การรักษา กรณีเด็กแพ้ผงชูรส
เนื่องจากอาการของการแพ้ผงชูรสนั้นจะไม่ได้รุนแรงมากนัก และมักจะหายไปเองหลังจากทิ้งระยะไว้สักพัก แต่หากมีอาการแพ้รุนแรงจะต้องได้รับการเข้ารักษาในทันที โดยการสั่งจ่ายการฉีดยาอะดรีนาลีน (Adrenaline) โดยแพทย์ผู้ประเมินอาการ ซึ่งอาการของผู้ที่แพ้และต้องนำส่งแพทย์นั้นมีดังต่อไปนี้
- หายใจถี่
- ริมฝีปาก หรือลำคอบวม
- ใจสั่น
- เจ็บหน้าอก
อันตรายจากผงชูรสที่ส่งผลต่อเด็กนั้นเป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าลูก ๆ ของเราได้มีการรับประทานผงชูรสมาเป็นเวลานาน หรือจำนวนมาก ๆ ทำให้เกิดการสะสม คุณควรใส่ใจเรื่องของอาหารการกินสำหรับเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตด้วยอาหารปรุงสุกใหม่เสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของพวกเขานะคะ
บทความที่น่าสนใจ :
เด็กกินเผ็ดได้ไหม? ควรทำอย่างไรเมื่อลูกกินเผ็ด? สิ่งที่คุณแม่ควรรู้
ผักผลไม้ 5 สี กินแล้วดีอย่างไร? เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ประโยชน์เพียบ!!
ขนมปังแบบไหนกินแล้วดีต่อสุขภาพ เด็กกินขนมปัง ได้ไหม? อันตรายหรือเปล่า
ที่มา : glutamate, cloudninecare, mayoclinic, mayoclinic