สิ่งที่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรทำเมื่อ เด็กมีอาการโคลิค

การศึกษาล่าสุดได้หักล้างวิธีการดั้งเดิมและความเชื่อแบบเก่า ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการใช้สมุนไพรในการรักษาเพื่อให้อาการร้องไห้ไม่หยุดของเด็ก หรือโคลิคสงบลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการโคลิค สิ่งที่พ่อแม่ ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรทำเมื่อ เด็กมีอาการโคลิค

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อาจมีข้อสงสัยว่าลูกร้องแบบไหน ถึงจะเรียกว่าอาการ โคลิค จริง ๆ แล้วอาการโคลิค คือการที่เด็กร้องติด ๆ กันไม่หยุดเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และเกิดขึ้นได้ในเด็กที่ มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ที่ ทำให้เกิดอาการโคลิค คือ ภูมิแพ้ แพ้นม หรือ ระบบย่อยอาหารไม่ดี ซึ่งอาการอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีเลี้ยงดู และการปลอบลูก เด็กที่มี อาการโคลิค นี้อาจมีอาการปวดท้อง เนื่องจากลำไส้บีบตัวเป็นพัก ๆ เพราะต้องการขับลมออกจากท้อง

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรทำเมื่อ เด็กมีอาการโคลิค

อาการโคลิค 1 ใน 4 ของทารกจะมีอาการโคลิค แต่ว่าอาการจะหายไปเอง เมื่อเด็กมีอายุ 8 – 14 สัปดาห์

ประมาณ 1 ใน 4 ของทารกจะมีอาการโคลิค ถึงแม้ว่าอาการจะหายไปเอง เมื่อเด็กมีอายุ 8 – 14 สัปดาห์ แต่เด็กที่มี อาการโคลิค อาจทำให้เกิดภาวะตึงเครียดในครอบครัวได้

การใช้จุกนมปลอม เพื่อช่วยให้ลูกสงบลงจากการร้องนั้น อาจไม่เป็นผลดี เนื่องจากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้จุกนมปลอมบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกหยุดร้อง อาจทำให้อาการโคลิคแย่ลง และอาจส่งผลเสียต่อเด็ก

อาการโคลิคในมุมมองของแพทย์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การใช้สมุนไพรในการรักษา อาการโคลิค

ดอกเตอร์ Sara Fein เจ้าหน้าที่พิเศษจากองค์การอาหารและยา จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว  Bloomberg ว่า  1 ใน 10 ของเด็กทารกนั้น อาจได้รับความเสี่ยง จากการใช้ยาสมุนไพรในการรักษา

การรักษาด้วยสมุนไพร หรือการใช้วิธีสามัญประจำบ้านนั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายกับทารกได้ได้ เนื่องจากไม่ทราบส่วนผสมของยา หรืออาจมีสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์

ดร. Fein กล่าวว่า พ่อแม่ของเด็กทารกหรือเด็กเล็กควรทำความเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบจากองค์การอาหารและยานั้น ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ ในการป้องกันและรักษาโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการโคลิค การใช้จุกนมปลอม เพื่อช่วยให้ลูกสงบลง จากการร้องนั้น อาจไม่เป็นผลดี

จุกนมปลอม

แต่เดิมนั้น พ่อแม่ให้ลูกใช้จุกนมปลอม เพื่อให้ลูกหยุดร้องไห้ แต่พ่อแม่ส่วนน้อยจะทราบว่า จุกนมปลอมนั้น ทำหน้าที่แค่เพียงดึงความสนใจจากอาการเจ็บปวดของลูก และมันอาจทำให้อาการโคลิคของลูกนั้น ยิ่งแย่ลงไปอีก

จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Pediatrics ชี้ให้เห็นว่า จุกนมปลอมนั้นอาจมีความเสี่ยง ที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการไข้หวัด อาเจียน และโคลิค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการโคลิค จุกนมปลอม อาจมีความเสี่ยง ที่ทำให้ลูกน้อย เกิดอาการไข้หวัด อาเจียน และโคลิค

ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้อาการโคลิคแย่ลง

1. ป้อนอาหารเกินขนาด เนื่องจากพยายามที่จะปลอบเด็ก ที่กำลังร้องไห้

2. อาหารบางประเภท มีส่วนผสมของน้ำตาลในระดับสูง เช่น น้ำผลไม้

3. ให้ลูกดื่มน้ำเร็วเกินไป ควรพยายามป้อนให้ช้าลง

เทคนิคหยุดลูกร้องไห้ 4 วิธี

คุณพ่อคุณแม่โปรดจำไว้ว่า อาการโคลิค นั้นเป็นเพียงแค่อาการชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่ควรอดทนรอ จนกว่าช่วงเวลานั้นจะผ่านไป

คำแนะนำการบรรเทาอาการโคลิค

อาการโคลิค อาหารบางประเภท มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ อาจทำให้ อาการโควิค แย่ลง

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง :

Healthy Children.org – Colic Relief Tips for Parents

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เผยเทคนิค หยุดน้ำตาเจ้าตัวเล็ก จบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่หยุด พาพ่อแม่แฮปปี้

วิธีเลี้ยงลูก แบบคนฟินแลนด์ พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เก่ง ฉลาด แบบไม่บังคับ

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team