SHA มีความหมายว่าอย่างไร และเกี่ยวอะไรกับการท่องเที่ยว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

SHA ส่อมแววว่าจะดีเยี่ยม มีนักท่องเที่ยว ให้ความเชื่อใจ มั่นใจ และยังบอกต่อ หลังจากเจ้าหน้าที่ ได้มีการสอบถามปากเปล่าส่า รู้จักได้อย่างไร และทำไมถึงเลือกที่จะเข้าพัก คำตอบที่ได้คือ “มีคนบอกว่าที่นี่ดี” นี่เป็นผลมาจาก การปรับตัวจากทุกภาคส่วนได้มี เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็เช่นเดียวกัน ททท. ได้ร่วมมือกับ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ, กระทรวงสาธารณสุข, หอการค้าไทย รวมไปถึงถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ขับเคลื่อนโครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety & Health Administration หรือ SHA

Amazing Thailand Safety and Health Administration(SHA) เป็นโครงการความร่วมมือของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการควบคุมโรค ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รับประสบการณ์ที่ดี มีความสุข และมั่นใจในความปลอดภัยด้านสุขอนามัย จากสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยนำมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขผนวกกับมาตรฐานการให้บริการที่มีคุณภาพของสถานประกอบการ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 และยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของไทย

 

โดยจะแบ่งประเภทสถานประกอบการออกเป็น 10 ประเภทคือ 

  1. ภัตตาคาร / ร้านอาหาร
  2. โรงแรมและที่พัก สถานที่จัดการประชุม 
  3. นันทนาการ / สถานที่ท่องเที่ยว
  4. ยานพาหนะ
  5. บริษัทนำเที่ยว
  6. สุขภาพ และความงาม
  7. ห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า
  8. กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
  9. การจัดกิจกรรม จัดประชุม โรงละคร / โรงมหรสพ 
  10. ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่น ๆ 

*ข้อมูล ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564

in1

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในส่วนของ กระบวนการทางด้านการประเมิน จะทำการตรวจตาม checklist พร้อมรับรองผล การปรับปรุงสถานประกอบการ ตามมาตรฐาน SHA โดย ททท.จะเป็นผู้ควบคุม ในการออกตราสัญลักษณ์ และจะระบุหมายเลขของตราสัญลักษณ์SHA ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อบันทึกเป็นฐานข้อมูล รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์

 

ทางด้าน รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้ข้อมูลว่า ในปัจจุบัน SHA มีพันธมิตร เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก และมีสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับตราสัญลักษณ์SHA ไปแล้วกว่า 8,000 แห่ง จากเป้าหมายที่วางไว้ที่ประมาณ 7,000 แห่ง ในปีแรกนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

in2

 

ตราสัญลักษณ์มาตรฐาน SHAจึงกลายเป็นภาพใหญ่ ที่ผู้ใช้บริการที่ต้องการความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ต่างมองหาในยุค new normal ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวไปแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขณะที่ ททท. ก็เริ่มมีการ ประชาสัมพันธ์ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็จะสอบถามถึงสถานประกอบการที่ได้รับรองมาตรฐานSHA เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม, ร้านอาหาร, แหล่งท่องเที่ยว หรือแม้แต่ รถนำเที่ยว ฯลฯ

 

และไม่เพียงเกณฑ์มาตรฐานที่ได้ดำเนินการไปแล้วเท่านั้น หลังจากที่ประเทศไทย ได้เผชิญกับการระบาดของไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการตรวจประเมิน ไม่ว่าจะเป็นกรมอนามัย, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กรมควบคุมโรค ฯลฯ ยังได้ร่วมมือกัน ออกมาตรการที่เข้มข้นขึ้นด้วย โดยจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่าควรจะทำอะไร และเพิ่มในจุดไหนบ้าง

 

ตัวอย่างเช่น กลุ่มร้านอาหาร ที่ปัจจุบันมีการผ่อนคลายในการให้บริการมากขึ้น ทางกรมอนามัย ก็จะมีแนวทาง ในการการตรวจที่เข้มข้นขึ้น และจะร่วมมือ กับกองสุขาภิบาลอาหาร เพื่อช่วยตรวจในเชิงรุกด้วย ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บิการ ของผู้บริโภคอีกด้วย ว่าร้านอาหารที่เปิดให้บริการอยู่นั้นเขามีมาตรการดูแลอย่างดีขชน

in3

นอกจากนี้ ยังมีอีกโครงการ ซึ่งโครงการนี้ถูกเรียกกว่า “Thailand Traveller Voice : เที่ยวมั่นใจ บอกได้ทุกเรื่อง” โครงการนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวแจ้งข้อมูล ปัญหา ที่พบจากจุด/แหล่งบริการ
ท่องเที่ยวต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ อาทิ เรื่องมาตรฐานสุขอนามัยที่ได้รับจากผู้ให้บริการ, มาตรฐานความปลอดภัย, การให้บริการต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ เป็นต้น

 

อีกทั้ง ยังเป็นศูนย์กลางในการรับข้อมูลความคิดเห็น ปัญหาต่าง ๆ จากนักท่องเที่ยวและส่งต่อข้อมูลแบบเรียลไทม์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริหารจัดการต่อไป รวมทั้งร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์ความต้องการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ ทาง ททท.จะยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนSHA ต่อไป โดยตั้งเป้าให้มีผู้ประกอบการที่ผ่านการตรวจและได้รับตราสัญลักษณ์เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 15-20% ซึ่งก็สอดรับกับมุมของผู้ประกอบการเองที่ต้องรีบปรับตัวให้ก้าวสู่มาตรฐานของโลกยุคใหม่ ที่เรียกว่า hygiene tourism เช่นกัน

 

ยังไม่หมดแค่นั้นทาง ททท.ยังมีแผนต่อยอดโครงการ SHAภายใต้ชื่อSHA Next โดยโฟกัสลงลึกในแต่ละหมวดของสถานประกอบการมากยิ่งขึ้น เช่น ในหมวดภัตตาคาร ร้านอาหาร ก็จะเพิ่มกลุ่มของสตรีตฟู้ด หรือในหมวดแหล่งท่องเที่ยวก็มีแผนเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น

 

พร้อมทั้งมีโครงการ Best of SHA Award ประกาศรางวัลสุดยอดสถานประกอบการ SHAซึ่งในอนาคตอาจ co-branding กับมิชลิน เพื่อให้ร้านอาหารที่ได้รางวัลมิชลินและได้มาตรฐาน SHAซึ่งเป็นมาตรฐานด้านสาธารณสุขควบคู่ไปด้วย จากเดิมที่เน้นเรื่องความสะอาด อร่อย เป็นหลัก

 

โดยมีเป้าหมายทำให้ตราสัญลักษณ์SHA เป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มผู้บริโภคคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ และทำให้ทั่วโลกเห็นว่าประเทศไทยจริงใจกับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และป้องกันไม่ให้ “การท่องเที่ยว” กลายเป็นส่วนหนึ่งของการแพร่เชื้อโควิด

 

ที่สำคัญเป็นการส่งสัญญาณด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยพร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวในทุก ๆ กลุ่ม และทุก ๆ ประเภทจากทั่วโลกแล้ว…

 

 

ที่มา : thailandsha.tourismthailand.org

บทความอื่นไ ที่น่าสนใจ  :

เงื่อนไขสำหรับนักท่องเที่ยวใน การเดินทางเข้าไทยในช่วง COVID-19

แนวโน้มการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมนักท่องเที่ยว 9 สิ่ง หลังจากยุคโควิด-19 หมดลง

เงื่อนไขสำหรับนักท่องเที่ยวใน การเดินทางเข้าไทยในช่วง COVID-19

บทความโดย

@GIM