เสพติดเซ็กซ์ ความต้องการทางเพศมากแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าติด?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์หรือ เซ็กซ์ (Sex) จะเป็นเรื่องปกติธรรมชาติของมนุษย์เรา แต่การคลั่งไคล้ในการมีเซ็กซ์ที่มากเกินไป ก็อาจจะกลายเป็นการ เสพติดเซ็กซ์ ก็ได้เช่นกัน

วันนี้ theAsianparent จะพาสำรวจว่ารสนิยมเรื่องเซ็กซ์แบบที่เรากำลังเป็นอยู่ จะเข้าข่ายกับโรคนี้หรือไม่ การมีความต้องการทางเพศมากน้อยแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าเป็นการเสพติด มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

 

 

เสพติดเซ็กซ์ (Sex addiction) คืออะไร

โรคเสพติดเซ็กซ์ (Sex addiction) หรือในทางจิตเวชเรียกว่า Hypersexual Disorder เป็นเรื่องที่สามารถพบได้ทุกเพศ และที่ต้องบอกว่ามันคือโรคก็เพราะว่าไม่ใช่แค่เรื่องของความต้องการที่มากอย่างเดียว แต่การที่แพทย์จะลงความเห็นว่าเข้าข่ายเสพติดเซ็กซ์ คือ ต้องมีความต้องการทางเพศสูงระดับที่ว่า ในวันหนึ่งหมกมุ่นเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์, ช่วยตัวเอง หรือดูสื่อต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศแบบทั้งวัน ความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน

โดยปกติแล้วเรื่องของเพศสัมพันธ์คนทั่วไปเมื่อมีการตอบสนองความต้องการทางเพศของตัวเองแล้ว การทำ 1-2 ครั้ง ก็สามารถพึงพอใจและใช้ชีวิตต่อได้ แต่คนที่มีอาการเข้าข่ายเป็นโรคเสพติดเซ็กซ์นี้ ผู้ป่วยจะมีความต้องการตลอดทั้งวัน จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาการเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี

 

สาเหตุของโรคเสพติดเซ็กส์?

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เข้าข่ายกับโรคเสพติดเซ็กซ์นี้ มักเกิดในกลุ่มเสี่ยงที่เคยประสบกับความทุกข์, ความล้มเหลวในชีวิต, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ที่หาความสุขในแง่อื่นไม่ได้ หรือจะบอกว่าการดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา ไม่สามารถช่วยระบายความผ่อนคลายความทุกข์ให้ได้อีกต่อไป

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักใช้เซ็กซ์ หรือการช่วยตัวเองเป็นการคลายความเครียด หรือคลายทุกข์ให้ลืมเรื่องอื่น จนเกิดเป็นชุดความคิดว่า “ถ้าเรามีเซ็กส์ หรือช่วยตัวเองอย่างนี้จะทำให้หายเครียด หายทุกข์” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วง เพราะเมื่อทำจนร่างกายหรือสมองเคยชิน ก็จะรุนแรงมากขึ้นจนควบคุมไม่ได้

ด้วยความที่ยุคปัจจุบันเป็นเรื่องของสื่อดิจิทัล ดังนั้นการเข้าถึงวิดีโอโป๊เปือยในโลกออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นปัจจัยอื่นอย่างเช่น ความผิดปกติของฮอร์โมนก็เป็นสาเหตุที่เป็นโรคเสพติดเซ็กซ์ได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความน่าสนใจ : แค่รสนิยมทางเพศไม่ใช่ เซ็กซ์เข้ากันไม่ได้ ก็ทำชีวิตคู่พัง

 

อาการของโรคเสพติดเซ็กซ์เป็นอย่างไร?

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า การมีเพศสัมพันธ์หรือเซ็กซ์ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ และลักษณะความสัมพันธ์หรือรสนิยมของแต่ละคน ก็มีความแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ผู้ที่มีความต้องการทางเพศสูงและโรคเสพติดเซ็กซ์ไม่เหมือนกัน” โดยลักษณะของผู้ที่เป็นโรคเสพติดเซ็กซ์ มีดังนี้

1. คนที่หมกมุ่นอยู่กับกิจกรรมทางเพศ จนรบกวนกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน

2. ไม่สามารถตัดสินใจ หรือยับยั้งชั่งใจในการมีเพศสัมพันธ์ได้เท่าที่ควร คือรู้สึกอยากจะมีเซ็กซ์ตลอดเวลา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. เมื่ออารมณ์และความต้องการทางเพศสูงขึ้น ไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือหักห้ามใจได้

4. เมื่อเจอสิ่งกระตุ้น, สิ่งเร้าทางเพศ การคุมสติหรือการยับยั้งชั่งใจจะลดลง

5. มักใช้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศในการระบายความเครียด เพื่อให้หลุดพ้นจากความรู้สึกเหล่านั้น

6. เททุกอย่างได้แม้กระทั่งนัดสำคัญ, การทำงาน และหน้าที่ เพื่อเซ็กซ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. เคยมีความสัมพันธ์ทางกายที่ทำให้รู้สึกละอายใจ แต่ไม่สามารถเล่าหรือปรึกษาให้ใครฟังได้

8. มักใช้เวลาว่างไปกับการดูสื่อลามกอนาจาร มากกว่ารายการหรือละครทั่วไป

9. ขาดการควบคุมตัวเอง ขาดการป้องกัน และลืมตัว เมื่ออารมณ์ทางเพศพุ่งสูง

10. หมดค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ไปกับเรื่องเซ็กซ์ หรือตัวช่วยอื่น

11. ไม่ติดในการที่จะมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้ โดยขาดการตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนและเหมาะสม

12. ความสนุกและความพอใจเพิ่มขึ้น เมื่อได้โชว์ของลับหรือล่วงละเมิดคนอื่น

13. ความต้องการทางเพศสูงจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

14. มีปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์กับแฟน, คนรัก และครอบครัว

15. ความต้องการทางเพศสูง จนเกิดปัญหาเรื่องการเรียนหรือการเข้าสังคม

บทความที่น่าสนใจ : 5 อาการแบบนี้แหละ คนติดเซ็กซ์ หันไปสังเกตพฤติกรรมสามีหน่อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไรที่การเสพติดเซ็กซ์ จะรุนแรงถึงขั้นต้องพบแพทย์?

การตัดสินใจไปหาหมอ เหตุเพราะไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมทางเพศของตัวเองได้แล้วเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเซ็กซ์ของคุณส่งผลกระทบต่อคนอื่น ก่อนการไปหาหมอเพื่อรับการรักษา อาจต้องถามตัวเองก่อนว่า

  • สามารถจัดการกับแรงกระตุ้นทางเพศของตัวเองได้หรือไม่
  • เป็นทุกข์จากพฤติกรรมทางเพศของตัวเองหรือยัง
  • เซ็กซ์กลายเป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์หรืองานไหม
  • เรากำลังพยายามปกปิดเรื่องนี้ ไม่อยากบอกใครหรือเปล่า

 

เสพติดเซ็กซ์ต้องรักษาอย่างไร?

สำหรับผู้ที่ต้องสงสัยว่าตัวเองเข้าข่ายเสพติดเซ็กซ์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติและอาการผิดปกติ ก่อนจะให้ทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงของภาวะนี้หรืออาการผิดปกติทางจิตอื่น ที่อาจส่งผลให้มีพฤติกรรมผิดปกติคล้ายคลึงกัน

ในด้านการรักษา การบำบัดการเสพติดทางเพศต่างกับการบำบัดอาการติดสุราหรือติดบุหรี่ ผู้ป่วยจำเป็นต้องแยกแยะระหว่างความต้องการทางเพศที่มากผิดปกติกับความต้องการทางเพศทั่วไป ซึ่งแนวทางการรักษาจึงมุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยเรียนรู้การตอบสนองความต้องการทางเพศอย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • การบำบัดทางพฤติกรรมและการรู้คิด เป็นการปรับวิธีคิดและพฤติกรรมเพื่อให้รับมือกับอาการได้อย่างเหมาะสม โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะแนะให้ผู้ป่วยเข้าใจความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกติ เพื่อเรียนรู้การควบคุมอาการได้ด้วยตนเองในที่สุด
  • โปรแกรมบำบัดอาการเสพติดเพศสัมพันธ์ เป็นหลักการปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้ป่วยลดการแสดงพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมทีละน้อย คล้ายกับหลักการเลิกเหล้าที่แพทย์นิยมใช้กับผู้ป่วยที่ติดสุรา
  • การรับประทานยา อาการเสพติดทางเพศที่อาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตบางชนิดอาจรักษาได้ด้วยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว เช่น ยาต้านโรคซึมเศร้า เป็นต้น

 

ปัญหาที่ตามมาจากพฤติกรรมเสพติดเซ็กซ์

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเสพติดเซ็กซ์และไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง และยังส่งผลเสียให้กับคนรักอีกด้วย เนื่องจากคนเหล่านี้มีพฤติกรรมแนวโน้มที่จะไม่ป้องกันสูง จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธืที่มาจากคู่นอนได้

ส่วนในเรื่องของความต้องการทางเพศที่สูงเกิน และพัฒนามาเป็นความรุนแรงต่อเนื่อง ก็อาจจะกระตุ้นให้ตัวผู้ป่วยตอบสนองกับความต้องการอย่างไม่เหมาะสม รวมไปถึงเสี่ยงการกระทำผิดทางกฎหมาย อาทิ ข่มขืน หรือล่วงละเมิดทางเพศ ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ที่มีอาการหรือสงสัยว่าตนเสพติดเพศสัมพันธ์ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

 

เมื่อพูดถึงอาการเสพติด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็คล้ายกัน รวมไปถึงอาการโดยครอบงำทางความคิด, ความลุ่มหลง และความต้องการ อย่างที่บอกว่าอาจมีการพยายามทำเรื่องเดิมอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนใหม่ๆ เพื่อที่จะเริ่มความรู้สึกทั้งหมดอีกครั้งทั้ง “ความเร่าร้อน” และ “ความตื่นเต้นเร้าอารมณ์” ของการได้ “ทำ” กับคู่นอนคนใหม่

คนที่เสพติดการมีเพศสัมพันธ์หลายคน ยังมีความปรารถนาที่ไม่พอ ต้องการความใส่ใจ ดังนั้นจึงต้องการ คนที่จะมามีอะไรด้วย และรู้สึกชนะในที่สุด ซึ่งเป็นการบรรเทาความอยากที่ครอบงำ และไม่ต้องกังวลกับความก้าวหน้าของความสัมพันธ์ในอนาคตด้วย

อย่างไรก็ตาม การชอบมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้หมายความว่าเป็นอาการของภาวะเสพติดเซ็กซ์เสมอไป เนื่องจากเพศสัมพันธ์ถือเป็นกิจกรรมที่ส่งผลดี ต่อสุขภาพของมนุษย์ และการชอบมีเซ็กซ์ถือเป็นเรื่องปกติ มากไปกว่านั้น หากคู่รักมีระดับความชอบในเรื่องเซ็กซ์ต่างกัน ก็ไม่ได้หมายความว่า ฝ่ายที่ชอบเรื่องเซ็กซ์มากกว่าจะเสพติดเซ็กซ์

 

บทความที่น่าสนใจ :

Sexual Harassment เพราะการคุกคามทางเพศ ไม่ใช่เรื่องตลก อย่าเพิกเฉย

สอนลูกเรื่องเซ็กซ์ได้หรือยัง? เมื่อไหร่เราควรจะคุยเรื่องเพศกับลูก?

หยุดแรงงาน จัดไป! เซ็กซ์มาราธอน ในวันพิเศษ 5 ท่าโยกกันมันจนเตียงพัง

ที่มา : (phyathai) (hellokhunmor)

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn