คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ทั้งทางด้านร่างกาย และทางอารมณ์ อาการที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 คนท้องต้องรับมืออย่างไรดี? มาดูวิธีกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แม่ๆ รู้ไหม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือทางด้านอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากอะไร อาการที่คนท้องต้องเจอในไตรมาสนี้มีอะไรบ้าง คนท้องต้องเตรียมรับมืออย่างไร วิธีดูแลตัวเองของคนท้องในไตรมาสที่สอง ช่วงนี้คุณแม่ต้องเจออะไรบ้างนะ

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

แม่ท้องไตรมาสที่สอง

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายคนท้อง

  • ท้องขยายและหน้าอกใหญ่ขึ้น: ในช่วงนี้มดลูกของคุณแม่จะขยายตัวออกรองรับการขนาดตัวของทารกในครรภ์  ทำให้หน้าท้องของคุณแม่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงขนาดของหน้าอกที่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน หากเป็นไปได้แนะนำให้คุณแม่หาเสื้อชั้นในขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือจะซื้อชุดชั้นในแบบให้นมเตรียมไว้เลยก็ได้ค่ะ
  • เจ็บท้องหลอก (Braxton Hicks): ในช่วงท้ายๆ ของไตรมาสที่สอง คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงการหดตัวเล็กน้อยที่ช่องท้อง ซึ่งเราเรียกว่าเจ็บท้องหลอก แต่จะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่ทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกาย หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ค่ะ แต่ถ้าคุณแม่รู้สึกเจ็บมากๆ ให้รับไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนดได้
  • สีผิวเปลี่ยนไป: การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของคนท้องทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์เม็ดสีเพิ่มขึ้น จึงไม่แปลกเลยถ้าผิวของคนท้องจะเป็นจุดสีน้ำตาล หรือมีฝ้าขึ้นตามใบหน้า แต่ที่เห็นชัดมากๆ ก็คือ เส้นรอยดำกลางหน้าท้องที่เรียกว่า linea nigra แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะว่าหลังจากคุณแม่คลอดน้แงปล้วเส้นสีดำ และรอยผิวสัน้ำตาลจะค่อยๆ จางหายไปค่ะ อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเจอคือท้องลาย ขาลาย ซึ่งคุณแม่สามารถใช้มอยเจอร์ไรเซอร์บรรเทาอาการคันได้ค่ะ
  • คัดจมูก เลือดกำเดาไหล: การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนยังทำให้คุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับจมูก เพราะเมื่อร่างกายผลิตเลือดมากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมของเส้นเลือดและเกิดเลือดออกได้ง่ายๆ หากคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองคัดจมูกบ่อยๆ แนะนำให้ใช้น้ำเกลือล้างจมูกค่ะ พร้อมๆ กับดื่มน้ำให้มากๆ หรืออาจใช้เจลปิโตรเลียมทาให้ความชุ่มชื้นกับผิวรอบๆ จมูกด้วย
  • มีปัญหาในช่องปาก: คนท้องจะรู้สึกว่ามีเลือดออกตามไรฟันได้ง่ายเวลาที่แปรงฟัน หรือรู้สึกเสียวฟันได้ง่าย วิธีแก้คือให้เลือกใช้แปรงที่นิ่มแล้วบ้วนปากด้วยน้ำเกลือจะช่วยลดอาการระคายเคืองได้ค่ะ สำหรับคุณแม่ที่มีการอาเจียนบ่อยๆ จะเสี่ยงต่อโรคฟันผุได้ง่าย หากเป็นไปได้ให้ไปพบหมอฟันเพื่อเช็คสุขภาพช่องปากค่ะ
  • เวียนหัว: การเปลี่ยนแปลงระดับการไหลเวียนเลือดทำให้คุณแม่เวียนหัวได้ง่าย หากคุณแม่กำลังมีอาการนี้อยู่ แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้ช้าลงไม่ว่าจะลุกหรือจะนั่งค่ะ
  • ปวดขา เป็นตะคริวที่ขา: อาการเป็นตะคริวที่ขาเป็นเรื่องปกติของคนท้องเลยก็ว่าได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดช่วงเวลากลางคืน วิธีแก้อาการนี้ ให้คุณแม่ดื่มน้ำมากๆ เลือกสวมรองเท้าที่สบายๆ รองรับน้ำหนักตัวได้ดี อาบน้ำอุ่นก่อนนอนค่ะ แต่ถ้าเป็นตะคริวอยู่ ให้คุณแม่เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออก แล้วนวดบริเวณขาข้างนั้น อาจจะใช้น้ำแข็งมาประคบก็ช่วยได้ค่ะ
  • ตกขาว: ถ้าคุรแม่สังเกตเห็นว่าตัวเองมีตกขาวเหนียวๆ ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีอื่น หรือมีกลิ่นแรง พร้อมกับอาการปวดหรือคันบริเวณช่องคลอดมากๆ ต้องรีบพบแพทย์โดยทันที เพราะอาจหมายถึงการติดเชื้อในช่องคลอดได้
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ: เป็นอาการพบได้บ่อยของคุณแม่ตั้งครรภ์ ลักษณะอาการคือจะเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ เป็นไข้ หรือปวดหลังร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ควรเพิกเฉย หากปล่อยไว้อาจเกิดการติดเชื้อในไตได้

 

ท้องไตรมาสที่สอง

การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของคนท้อง

ในช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยน้อยลง ทำให้มีเวลาเตรียมตัวสำหรับลูกน้อยมากขึ้นแล้วค่ะ เมื่อคุณแม่สังเกตว่าหน้าท้องเริ่มใหญ่ขึ้น คุณแม่ก็จะเริ่มมีอาการกังวลเกี่ยวกับการคลอดลูกว่าจะคลอดแบบไหน จะเลี้ยงลูกอย่างไร คุณแม่อาจหาคลาสเรียนเตรียมตัวเป็นคุณแม่ หรือคลาสออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดจากการตั้งครรภ์ ไหนจะเรื่องลาคลอดที่ทำงาน ซึ่งคุณแม่อาจจะต้องวางแผนและคุยกับหัวหน้างานล่วงหน้าหน่อย ความวิตกกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เหล่าคุณแม่ต้องเผชิญ เพื่อให้ลูกน้อยในท้องเติบโตแข็งแรงอย่างที่สุดค่ะ

คนท้องไตรมาสที่สอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การดูแลตัวเองของคนท้องไตรมาสที่สอง

ช่วงไตรมาสที่สอง คุณหมอมักจะนัดคุณแม่ตรวจเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และสุขภาพอื่นๆ ของคุณแม่ อาจมีการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดขนาดของมดลูก เพื่อดูว่าลูกในท้องมีการเติบโตอย่างไร รวมถึงคุณแม่อาจได้ดูหรือฟังเสียงหัวใจเต้นของลูกน้อยด้วยน่ะ สำหรับคุณแม่ที่อยากรู้ว่าลูกเพศไหน ไตรมาสนี้คุณแม่ได้รู้แน่นอนค่ะ

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดาสะท้อนถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน เพราะน้ำหนักแรกเกิดของทารกเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของทารก

มีรายงานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า ทารกที่น้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาก ๆ มักพบปัญหาการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด มีโรคต่อมไร้ท่อและระบบเผาผลาญพลังงานไม่ปกติ เมื่อทารกเหล่านี้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีรายงานยืนยันพบความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะเบาหวานแฝงในคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าปกติ

นอกจากนี้น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ของมารดาก็มีผลต่อการตั้งครรภ์ จึงควรเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะสมดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวปกติ ควรเพิ่มน้ำหนักไม่น้อยกว่า 8 กิโลกรัม แต่ไม่มากกว่า 12 กิโลกรัม
  • คุณแม่ที่ผอมเกินไป มี BMI น้อยกว่า 19.8 ต้องเพิ่มน้ำหนักให้มากกว่าปกติระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกได้สารอาหารเพียงพอ
  • คุณแม่ที่มีภาวะอ้วน ควรควบคุมไม่ให้น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป แต่ก็ยังจำเป็นต้องเพิ่มให้ได้ไม่ต่ำกว่า 6 – 7 กิโลกรัม

ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง โดยเฉพาะในเรื่องของโภชนาการคือสิ่งสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยและควรพบสูติ – นรีแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

 

สารอาหารที่สำคัญของคนท้องไตรมาสที่สอง

คนท้องไตรมาสที่2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลักการง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สอง คือ การรับประทานอาหารที่หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่หากทำไม่ได้หรือไม่แน่ใจควรให้ความสำคัญกับสารอาหาร จำพวกเหล่านี้ ได้แก่

โปรตีน 

โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญมาก สำหรับการนำไปใช้เสริมสร้างอวัยวะและกล้ามเนื้อของคุณแม่และทารกในครรภ์จึงควรรับประทานโปรตีนจากสัตว์จำพวกที่มีโปรตีนสูง  ไข่ และพืชให้หลากหลายชนิด โดยคุณแม่อาจจะต้องรับประทานโปรตีนเพิ่มในปริมาณมากกว่าคนปกติ  ในปริมาณที่คนตั้งครรภ์ต้องการเท่ากับ 75 – 110 กรัมต่อวัน ในทางปฏิบัติเพื่อให้ง่าย ควรเพิ่มสัดส่วนโปรตีนแต่ละมื้อให้ไม่ต่ำกว่า 30 – 40% ก็น่าจะเพียงพอ การรับประทานอาหารควรควบปริมาณ และ สัดส่วนให้พอดี เพื่อลดผลข้างเคียงของการแปรปรวนของน้ำหนัก และมวลร่างกาย

สารโฟลิก

กรดโฟลิกหรือโฟเลตเป็นสารอาหารสำคัญอันดับแรกที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ขาดไม่ได้ เพราะสารอาหารชนิดนี้เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการสังเคราะห์ดีเอนเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ หากร่างกายคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ขากสารโฟเลต หรือ ได้รับสารโฟเลต ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยตรง เสี่ยงทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด โรคปากแหว่งเพดานโหว่หรือเสียชีวิต

 

มีรายงานพบว่าทารกสมองไม่ปกติและท่อหุ้มไขสันหลังไม่ปิดในมารดาที่ขาดสารโฟเลต เนื่องจากสมองและไขสันหลังจะพัฒนาอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ภายใน 28 วันหลังการปฏิสนธิ มีรายงานพบว่า การบริโภคสารโฟเลต 400 – 800 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์และในช่วง 28 วันหลังการปฏิสนธินี้ มีผลทำให้อุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของทารกลดลงอย่างมาก

 

โดยทางกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์รับประทานสารโฟเลต 400 มิลลิกรัมต่อวัน โดยโฟเลตพบมากใ นอาหารจำพวกพืช สัตว์ปีก และจุลินทรีย์ พบมากในพืชใบเขียว ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว ตับ ไต และยีสต์ แต่อย่างไรก็ตามอาหารพวกนี้อาจไม่เพียงพอ ควรทานอาหารเสริมที่มีสารโฟเลตร่วมด้วยจะดีที่สุด

ธาตุเหล็ก 

ในแต่ละวันคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และวิตามินต่างๆที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก ธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดต่อทารกที่ค่อยๆเจริญเติบโตในไตรมาสที่สอง ในปริมาณเลือดในร่างกายคุณแม่จะเพิ่มขึ้นถึง 70% เพื่อให้เพียงพอต่อการนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกที่อาศัยอยู่ในครรภ์มารดา หากคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอในขณะตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ โดยสตรีตั้งครรภ์มากกว่าครึ่งมีภาวะโลหิตจางจากการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ หรือาจจะมีอาการข้างเคียงอย่างอื่นด้วย

 

ภาวะโลหิตจางของคุณแม่ถือเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ของการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้หญิงมีครรภ์ควรได้ธาตุเหล็กไม่ต่ำกว่า 27 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่า 15% ของหญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและมีผลต่อสภาวะมีบุตรยาก ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์จึงสำคัญมากสำหรับคุณแม่มือใหม่ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการขาดธาตุเหล็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไอโอดีน

โดยไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อคนทั่วไป และยิ่งมีความสำคัญและจำเป็นมากต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่ส่งผลต่อระบบประสาทและารทำงานของต่อมไทรอยด์ ทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ทารกในครรภ์ ซึ่งอาหารที่มีไอโอดีนสูงจะอยู่ในจำพวก อาหารทะเล อาทิเช่น กุ้ง หมึก หอย ปู และ ปลา เป็นต้น โดยหากคุณแม่รับประทานหรือได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

 

แคลเซียม 

ในช่วงคุณแม่ที่มีครรภ์อ่อน จะเป็นช่วงที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการต้องการแคลเซียมมากที่สุด โดยคนตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม หากคุณแม่คนไหนไม่มีเวลา อาจจะใช้ตัวช่วยเป็นการรับประทานวิตามินแคลเซียม ที่มีประมาณ 600 มิลลิกรัม ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้การรับประทานวิตามินแคลเซียมควรปรึกษาแพทย์สูติก่อนจะดีที่สุด

วิตามินรวม 

อาจะเป็นตัวช่วยเสริมให้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ได้บำรุงร่างกายเพิ่มเติม คุณแม่ที่ไม่มีเวลาในการดูแลตัวเอง ทั้งนี้ในการรับประท่นวิตามินรวมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะ วิตามินบางชนิด อาจไม่เหมาะสมต่อการับประทานปริมาณมาก อาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้

ที่มา: self 2

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

แปลกจริงมั้ย? มาดู 5 จานโปรดตอนป่อง ที่เหล่าคุณแม่ท้องต้องกินให้ได้

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย ควรทานอะไรระหว่างมื้อ

คำที่แม่ท้องอยากฟัง คำพูดที่คนท้องอยากได้ยิน คำพูดที่สามีควรพูดกับภรรยาท้อง คำที่แม่ท้องอยากฟังพ่อพูด

บทความโดย

Khunsiri