ผ้าอ้อมสาลู มีดีอย่างไร วิธีเลือกผ้าอ้อมสาลู และวิธีใช้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คงสับสนกันพอสมควรกับเรื่องของผ้าอ้อมเจ้าตัวน้อย โดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ของการดูแลลูกคนแรก คงมีเรื่องให้เราจะต้องศึกษากันอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องง่าย ๆ ที่ไม่ง่ายอย่างเรื่องของผ้าอ้อม เพราะเรามักจะเข้าใจว่าผ้าอ้อมสำเร็จรูป คือคำตอบสำหรับทุกอย่าง แต่ด้วยราคา และความสบายตัวของเจ้าตัวน้อย ผ้าอ้อมแบบผ้า จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ อีกทั้งผ้าอ้อมผ้ายังสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และหนึ่งในผ้าอ้อมที่ได้รับความนิยมมากนั่นก็คือ ผ้าอ้อมสาลู นั่นเอง

 

 

ทำไมเราถึงต้องใช้ผ้าอ้อมผ้า?

หากเราจะสังเกตได้ ทุกครอบครัวที่มีลูกเล็กนั้น นอกจากจะใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแล้ว เรามักจะมีผ้าอ้อมชนิดผ้า ใช้ควบคู่กันไปด้วย นั่นเป็นเพราะ ผ้าอ้อมชนิดผ้านั้น เรามักจะใช้ผ้าที่มีคุณสมบัติโปร่งเบา สบาย อากาศสบายถ่ายเทได้ดี ทำให้หมดปัญหาเรื่องความอับชื้น และเรายังสามารถนำมาปรับเปลี่ยนการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นผ้ากันน้ำลาย ผ้าโพกหัว ผ้าปูนอน ตามแต่ลักษณะความต้องการในการใช้งาน

และความสำคัญที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้ นั่นก็คือ ความประหยัด และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้บ่อยครั้งตามความต้องการ จึงทำให้ผ้าอ้อมชนิดผ้า เป็นที่ตอบโจทย์การใช้งานในการดูแลลูกน้อยมาอย่างช้านาน โดยเราจะนำมาใช้สลับกับผ้าอ้อมสำเร็จรูป เพื่อความคล่องตัว และสะดวกสบายในช่วงเวลาที่ต้องเร่งรีบ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคุณพ่อคุณแม่

 

ผ้าอ้อมสาลู มีดีอย่างไร?

ผ้าอ้อมชนิดผ้ามีให้เลือกใช้หลากหลายชนิด แต่หนึ่งในกลุ่มผ้าอ้อมผ้านั้น ผ้าอ้อมสาลู เป็นผ้าอ้อมยอดฮิต ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น เหมาะกับการใช้เป็นผ้าอ้อมสำหรับเด็กอย่างมาก นั่นเป็นเพราะผ้าอ้อมสาลู มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ซักแล้วไม่เป็นขน ทำให้ไม่เกิดความระคายเคืองกับผิวเด็ก
  • แห้งไว
  • ระบายอากาศได้ดี
  • น้ำหนักเบา
  • พกพาง่าย
  • ราคาไม่แพง
  • สามารถใช้ได้สารพัดประโยชน์

บทความที่เกี่ยวข้องอยากรู้ต้องได้รู้ ผ้าอ้อมผ้า VS. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แบบไหนดีต่อสุขภาพลูกน้อยแรกเกิด และตอบโจทย์พ่อแม่ยุคใหม่ได้ดีกว่ากัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีเลือกซื้อผ้าอ้อมสาลู

แม้ว่าเราจะบอกว่าผ้าอ้อมสาลูนั้น มีราคาถูก กว่าผ้าอ้อมสำเร็จรูป แต่ผ้าอ้อมผ้าสาลู ก็ยังมีข้อแตกต่างในเรื่องของคุณภาพทั้งจากตัวผ้า และการตัดเย็บ โดยเราจะแบ่งการเลือกใช้ เลือกซื้อผ้าอ้อมสาลู ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลือกจากคุณภาพของเนื้อผ้าสาลู

  • ผ้าสาลูที่มีปริมาณผ้าฝ้าย 100% จัดว่าเป็นผ้าสาลูที่ดีสุด แต่ราคาจะสูงกว่าผ้าสาลูทั่วไป
  • ผ้าสาลูทีซี ที่มีปริมาณผ้าฝ้าย 35% โดยอีก 65% จะเป็นส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์ ซึ่งจะมีราคาที่ถูกกว่าแบบแรก

 

เลือกจากวิธีการตัดเย็บ

  • แบบโพ้งริม (Over Lock) ลักษณะการเย็บแบบโพ้งริม แม้ว่าราคาจะถูกกว่า แต่อายุการใช้งานต่ำมาก
  • แบบเย็บริม (Lockstitch) การเย็บลักษณะนี้ จะทำให้ผ้าอ้อมทรงตัว และสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า ซึ่งราคาย่อมสูงกว่าแบบแรกเป็นธรรมดา

 

นอกจากนี้เรายังใช้การดูความหนาของเนื้อผ้าเป็นองค์ประกอบอีกด้วย เช่นความถี่ของตาผ้า หากมีความแน่นของเนื้อผ้ามาก ก็จะทำให้เราสามารถใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น หรือหากคุณคิดว่าจะแยกออกได้อย่างไรว่าเนื้อผ้ามีการทอที่หนาพอหรือไม่ อาจใช้การสังเกตจากลายสกรีนบนผ้า หากมีความชัดเจน ก็หมายความว่ามีการทอที่เนื้อแน่นพอสมควร ในขณะที่ผ้าทอตาห่าง ลายผ้าจะไม่ชัดเจน แม้มีราคาที่ถูก แต่จะยุ่ยง่าย ไม่เก็บน้ำ และไม่ทนทานกับการใช้งาน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทุกสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิด รวมเรื่องที่คุณแม่ควรรู้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ผ้าอ้อมแบบผ้า

ของใช้แต่ละชนิด เมื่อมีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาชั่งน้ำหนักดูว่า จะเหมาะกับไลฟ์สไตล์การเลี้ยงดูลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่หรือไม่

 

ข้อดีของผ้าอ้อมผ้าสาลู

  • ผ้าอ้อมผ้าสาลูมีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี ทำให้ลูกน้อยไม่เกิดอาการอับชื้น ส่งผลให้โอกาสที่จะเกิดผื่นแพ้ ผื่นผ้าอ้อม บริเวณขอบผ้าอ้อม หรือภายในร่มผ้า จึงมีน้อยมาก ๆ รวมทั้งยังไม่จำเป็นจะต้องทาครีมกันผดผื่นที่ก้นของลูกหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งอีกด้วย
  • ผ้าอ้อมชนิดผ้า สามารถซักทำความสะอาดได้ง่าย แห้งเร็ว และนำกลับมาใช้ได้บ่อยครั้ง จึงสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้เป็นอย่างดี
  • หมดความกังวลเรื่องอาการขาโก่งที่เกิดจากการสวมใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เนื่องจากผ้ามีความอ่อนนุ่ม ปรับเปลี่ยนไปตามสรีระร่างกาย ทำให้ขาของเด็กไม่เกิดอาการโค้ง โก่งออก เหมือนช่วงที่ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
  • ทำให้ลูกน้อยพยายามที่จะฝึกการเข้าห้องน้ำ หรือการนั่งถ่าย ได้เร็วขึ้น เนื่องจากเด็ก จะสัมผัส และรับรู้ว่าเปียกได้ง่ายกว่าผ้าอ้อมสำเร็จรูป จึงเป็นการกระตุ้นในการเรียนรู้ให้รู้จักเข้าห้องน้ำเมื่อรู้สึกเปียก
  • สามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้งานได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะนำมาเป็น ผ้าโพกศีรษะ เช็ดหน้า เป็นผ้ารองกันเปื้อน ผ้าห่อตัว ผ้าคลุมให้นม ทำเป็นผ้าห่ม ผ้าปูรองตัวเด็ก เป็นต้น

 

 

ข้อเสียของผ้าอ้อมผ้าสาลู

  • ต้องเปลี่ยนบ่อยครั้ง เป็นหนึ่งในความไม่สะดวกที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนต้องทำใจ แม้ว่าจะประหยัดกว่าการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปมาก แต่ถ้าเทียบกับความเหนื่อยที่จะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งที่ลูกน้อยขับถ่าย ก็สร้างความลำบากให้กับคุณพ่อคุณแม่พอสมควร
  • ต้องซักทุกวัน เนื่องจากลูกน้อยจะต้องขับถ่ายทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายหนัก หรือถ่ายเบา และทุกครั้งเราจำเป็นจะต้องเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความสบายตัว และไม่หมักหมมของเด็ก จากนั้นจะต้องทำการซักล้างทุกวัน ทำให้รู้สึกถึงความยุ่งยากในการใช้ผ้าอ้อมผ้าสำหรับคนที่ไม่มีเวลา
  • การออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือการเดินทาง การใช้ผ้าอ้อมผ้า อาจจะไม่ตอบโจทย์สำหรับคุณพ่อคุณแม่เท่าที่ควร เพราะนอกจากจะไม่สะดวกในการเปลี่ยนผ้าอ้อมแล้ว ยังไม่สะดวกกับการซักล้างอีกด้วย

 

จากคุณสมบัติต่าง ๆ รวมถึงข้อดีข้อเสียของผ้าอ้อมผ้าสาลูแล้ว จะเห็นได้ว่า ลักษณะการใช้งานนั้น มีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน อย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับผ้าอ้อมสำเร็จรูป จึงเป็นเรื่องปกติที่เรามักจะใช้ผ้าอ้อมทั้งสองชนิดนี้ สลับกันตามแต่ช่วงเวลา และกิจกรรมนั้น ๆ

 

ช่วงกลางคืนที่ต้องการให้ลูกน้อยหลับยาว การใช้ผ้าอ้อมผ้าสาลูที่ทำให้เด็กรู้สึกเปียกชื้นได้ทันเมื่อปัสสาวะออกมา ทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัวจนตื่นขึ้น ช่วงเวลานั้น อาจจะเปลี่ยนไปใช้เป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปแทน เพื่อให้การนอนหลับของลูกน้อย จะเป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถหลับลึก รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ สามารถนอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่เช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกงอแง ร้องไห้โยเย อาจเป็นเพราะผื่นผ้าอ้อมทำให้ลูกรักไม่สบายตัว

วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 15 ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิด

ที่มา : wandeehouse, allonline

บทความโดย

Arunsri Karnmana