ซวยแล้วไง รกค้าง รกออกไม่หมด เน่า ติดเชื้อในมดลูก
ซวยแล้วไง รกค้าง รกออกไม่หมด เน่า ติดเชื้อในมดลูก หากหลังคลอดทารกแล้วรกไม่คลอด ออกมาจากร่างกายคุณแม่ อาจจะเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งเป็นอันตรายต่อคุณแม่ได้ค่ะ
รกค้าง
รกค้างคืออะไรกันแน่ รกค้างหรือภาวะรกค้าง (Retained placenta) หมายถึงการที่รกไม่หลุดหรือไม่คลอดออก มาหลังตัวทารกคลอดแล้วภายในประมาณ 30 นาที แบ่งเป็น ภาวะที่รกไม่คลอดทั้งอัน/ทั้งรก และภาวะที่รกคลอดเพียงบางส่วนมีเศษรกค้างในโพรงมดลูก
การคลอดลูก 3 ระยะ
1. First stage of labor คือการเริ่มจากการเจ็บครรภ์จริงไปจนกระทั่งปากมดลูกเปิดขยายหมดคือ 10 เซนติเมตร โดยปกติในครรภ์แรกจะกินเวลานานหลายชั่วโมง แต่ในครรภ์หลังๆ จะใช้เวลาน้อยลงมาก
2. Second stage of labor คือเริ่มจากปากมดลูกเปิดหมดไปจนกระทั่งคลอดทารกออกมา
3. Third stage of labor คือเริ่มจากภายหลังจากทารกคลอดไปจนกระทั่งรกคลอดออกมา ซึ่งไม่ควรยาวนานเกินกว่าหนึ่งชั่วโมง
4. Fourth stage of labor คือระยะ 1 ชั่วโมงภายหลังจากรกคลอดออกมาแล้วโดยธรรมชาตินั้นเมื่อทารกคลอดออกมา และเส้นเลือดที่เชื่อมออกผนังมดลูกของแม่กับรกที่ขาดออกจากกันนั้นจะถูกบีบรัดเพื่อหยุดเลือดโดยการหดตัวของมดลูกนั่นเอง
แต่ถ้าหากไม่ได้ผล และในระยะ Third stage of labor กินเวลาเกินกว่า 1 ชั่วโมง แพทย์จะทำการล้วงรกออกให้และเมื่อรกออกมาครบแล้วมดลูกก็จะหดรัดตัวได้ดีขึ้น ซึ่งในระยะหลังรกคลอดแล้วนั้นผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกต่อไป เนื่องจากมีบางกรณีที่เมื่อล้วงรกออกมาแล้วมดลูกยังไม่สามารถหดรัดตัวได้ เนื่องจากมีการแทรกของเนื้อรกเข้าไปอยู่ตามกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งถ้าหากทำให้มารดามีการเสียเลือดมากก็จำเป็นต้องตัดมดลูกทิ้ง
อาการรกค้าง
- หากรกไม่คลอดตั้งแต่หลังคลอดทารกเลยจะทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ทำให้เลือดออกจากโพรงมดลูกมากที่เรียกว่า ตกเลือดหลังคลอด
- ในกรณีที่รกส่วนใหญ่คลอดออกมาแล้วมีส่วนน้อยที่เหลือค้างในโพรงมดลูก จะทำให้เกิด อาการปวดท้องน้อยเนื่องจากมดลูกพยายามบีบตัวขับไล่สิ่งแปลกปลอม นอกจากนั้นเศษรกที่ค้างจะทำให้เกิดการอักเสบในโพรงมดลูก/โพรงมดลูกอักเสบ
- มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด
- สิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอด/น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
อะไรที่ทำให้รกค้าง
1. การผ่าตัดคลอด/การผ่าท้องคลอด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้รกค้างในครรภ์ถัดไปได้เนื่อง จากรอยแผลผ่าตัดที่ในโพรงมดลูกอาจเป็นบริเวณที่เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ทำให้รกที่มาเกาะบริเวณนี้เกาะลึกเกินไปอาจลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก (ปกติรกจะเกาะในผนังมดลูกชั้นเยื่อบุโพรงมดลูก) ทำให้รกลอกยากหรือรกลอกไม่สมบูรณ์มีเศษรกค้างได้
2. การแท้งที่ได้รับการขูดมดลูก โดยยิ่งได้รับการขูดหลายครั้งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ รกติดแน่นและค้างในครรภ์ต่อไป เพราะการขูดมดลูกทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางมาก รกจึงเกาะเข้าไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก รกเกาะแน่นผิดปกติ (Placenta adherence) ทำให้รกบางส่วนเกาะ ลึกและติดแน่นผิดปกติ
3. รกเกาะต่ำ (Placent previa) เพราะบริเวณส่วนล่างของโพรงมดลูกมีชั้นกล้ามเนื้อบางกว่าส่วนบนของมดลูก
4. มีรกน้อย หมายถึงมีรก 2 อัน/2 รก อันหนึ่งใหญ่ปกติส่วนอีกอันเล็ก (Placenta succentu riata) รกใหญ่คลอดออกมาแล้วแต่รกอันเล็กยังค้างอยู่ จากบางครั้งไม่ทราบว่ามีรกน้อยค้างในโพรงมดลูก
5. การแท้งติดเชื้อ ทำให้มีการอักเสบในโพรงมดลูก/เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (Endometri tis) ทำให้เนื้อเยื่อรกเปื่อยยุ่ยฉีกขาดง่าย รกไม่คลอดออกมาทั้งอัน
6. การออกแรงดึงรกมากเกินไป ในขณะที่รกยังไม่ลอกตัวอาจทำให้รกบางส่วนขาดค้างอยู่ในโพรงมดลูก
7. มีประวัติเกิดภาวะรกค้างในครรภ์มาก่อน
รักษารกค้างยังไง
แพทย์ต้องเอารกที่ค้างออก ในกรณีที่หลังคลอดแล้วรกไม่คลอดทั้งอันภายในประมาณ 30 นาที แพทย์จะทำการรักษาด้วยการสวมถุงมือยางทางการแพทย์ แล้วยื่นมือเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อล้วงเอารกออกมาเพื่อลดโอกาสตกเลือดหลังคลอด
ในกรณีที่มีเศษรกบางส่วนค้างอยู่ในโพรงมดลูกบางส่วน คุณแม่หลังคลอดมักจะมีการอักเสบในโพรงมดลูกร่วมด้วย การรักษาจะเป็นการให้ยาปฎิชีวนะร่วมกับการขูดมดลูกเพื่อเอารกที่ค้างออก
ที่มา หาหมอ
บทความที่น่าสนใจ
ดูชัดๆ ตกเลือดหลังคลอด เป็นอย่างไร
อยากคลอดเร็วๆ อยากคลอดลูกง่าย ทำไมแม่บางคนคลอดลูกยาก แต่ก็มีที่คลอดไม่รู้ตัว