เอกสารจดทะเบียนสมรส จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง มีวิธีดำเนินการอย่างไร จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ หากเคยสมรสมาแล้วต้องทำอย่างไร จดทะเบียนสมรส ต้องเปลี่ยนเอกสารอะไรบ้าง ข้อควรรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส จดทะเบียนสมรสต้องใช้อะไรบ้าง เอกสารในการจดทะเบียนสมรส เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส มีอะไรบ้าง หลักฐานการจดทะเบียนสมรส เรารวบรวมมาให้คุณแล้วที่นี่
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องจดทะเบียนสมรส
จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง เอกสารใช้จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนสมรส นั้นไม่เพียงแต่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความรักให้ต่อกัน แล้วจะสามารถจดเทียนสมรสได้เท่านั้น เพราะการจดทะเบียนสมรส บุคคลทั้งสองต้องมีคุณสมบัติที่ที่ครบถ้วน หรือไม่กระทำผิดข้อใดข้อหนึ่งจึงจะสามารถจดเทียนสมรสได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิงต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสมควร หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำการสมรสเท่านั้น
- ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
- จะต้องไม่เป็นพี่น้อง บิดา มารดา ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือก และจะต้องไม่มีเป็นพี่น้องที่มีบิดา หรือมารดาร่วมกัน
- ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีคู่สมรสอยู่ก่อน เว้นแต่จะมีการจดทะเบียนหย่าร้างเรียบร้อยแล้ว
- ผู้ที่รับบุตรบุญธรรม ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกับผู้เป็นบุตรบุญธรรมได้
- ผู้เยาว์ (อายุน้อยกว่า 20 ปี) จะสามารถสมรสได้ ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการ การจดทะเบียนสมรสใหม่
- ฝ่ายหญิงที่มีการหย่าร้าง ที่ต้องการจดทะเบียนใหม่ จะสามารถจดใหม่ได้หลังจากหย่าร้างแล้ว 310 วัน แต่สามารถจดทะเบียนใหม่ได้ในทันที ก็ต่อเมื่อ
- มีการคลอดบุตรในระหว่าง 310 วัน
- จดเทียบสมรสอีกครั้งกับสามีคนเดิม (คนล่าสุดที่เพิ่งหย่าร้างไป)
- มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
- ศาลมีคำสั่งอนุญาตสามารถสมรสใหม่ได้
บทความที่น่าสนใจ : วัคซีนที่คู่สมรสต้องมีไว้ป้องกันตนเองก่อนแต่งงาน ก่อนแต่งงานต้องฉีดวัคซีนอะไร
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
- บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ตัวจริงของทั้งฝ่ายชายและหญิง (บัตรที่ยังไม่หมดอายุ)
- ทะเบียนบ้านตัวจริง และสำเนา
- พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชนของพยานด้วย)
- แบบฟอร์ม คร.1 หรือ คำร้องขอจดทะเบียนและบันทึกทะเบียนครอบครัว (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คร.1) (สามารถขอรับที่เขตแล้วเขียนตรงนั้นได้เลย)
-
กรณีที่เคยแต่งงานมาก่อน ให้เตรียมเอกสารเหล่านี้เพิ่มเติม
- หลักฐานการหย่า
- ใบสูจิบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร (หากมีบุตรที่เกิดก่อนจะมาจดทะเบียนสมรส)
- หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ มีการคลอดบุตรไปแล้วในระหว่างที่รอ สมรสกับคู่สมรสเดิม มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
- กรณีผู้สมรสตาย ให้ใช้หลักฐานการตาย เช่น ใบมรณะบัตร
-
กรณีที่คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ยังไม่ครบ 17 ปี) ให้กระทำดังนี้
- ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
- หากผู้ปกครองไม่ได้มาด้วย ให้เตรียมหนังสือให้ความยินยอมมาด้วย
-
กรณีเป็นชาวต่างชาติ ให้เตรียมเอกสารเหล่านี้เพิ่มเติม
- สำเนาหนังสือเดินทางต่างประเทศ (Passport)
- หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย พร้อมแปล และนับรองว่าแปลถูกต้อง
บทความที่น่าสนใจ : ย้ายประเทศกันไหม ! สิทธิแม่และเด็กในต่างแดน มีอะไรบ้าง ประเทศไหนน่าสนใจ
สถานที่และระยะเวลาในบริการจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียน วิธีจดทะเบียนสมรส
- สำนักงานทะเบียนเขตพื้นที่ กทม. : เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
- สำนักทะเบียนอำเภอทุกแห่ง :
- ปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน
- ติดต่อที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ล่วงหน้าก่อนวันงานอย่างน้อย 7 วัน
- เตรียมเอกสารสำหรับจดทะเบียน ตามที่กล่าวข้างต้นให้ครบ
บทความที่น่าสนใจ : 12 ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส ข้อดีของทะเบียนสมรสที่เมียถูกกฎหมายต้องรู้
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส ขั้นตอนและระยะเวลาในบริการ จดทะเบียนสมรส
- การจดทะเบียนสมรส สามารถทำได้ทุกสถานที่ราชการที่รับจดทะเบียนสมรส โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
- ทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงจะต้องไปยัง สถานที่ราชการที่รับจดทะเบียนสมรส อาทิ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย
- ในการจดทะเบียนสมรสจะต้องมีพยายานบุคคลในการจดทะเบียนสมรสอย่างน้อย 2 คน
- คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอมด้วย
- หากคู่สมรส มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นชาวต่างชาติ จะต้องขอหนังสือรับรองสภาพบุคคลจากสถานทูต หรือกงสุลสัญชาติที่สังกัด (ต้องแปลให้ถูกต้อง และมีการรับรองว่าถูกต้องทุกประการ) ต่อที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้
-
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสมรส
- จดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
- จดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียนด้วย
- รจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกลจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
ข้อควรรู้ในการ จดทะเบียนสมรส
- สามารถให้นายทะเบียนลงรายอะเอียดข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่น ๆ ในช่องบันทึกได้
- เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ ก่อนที่จะสั่งพิมพ์ เนื่องจากพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีก
- สำหรับฝ่ายหญิงที่เปลี่ยนคำนำหน้าจาก “นางสาว” เป็น “นาง” หรือเปลี่ยนไปใช้ “นามสกุลสามี” ให้เก็บหนังสือสำคัญการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.๕) ไว้ดีๆ เพราะคุณต้องใช้เป็นหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุลกับเอกสารอื่นๆ ด้วย
-
หลังการจดทะเบียนสมรสแล้ว ต้องแก้เอกสารอะไรบ้าง
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสือเดินทางต่างประเทศ (Passport)
- วีซ่า
- ใบขับขี่
- ทะเบียนรถ
- บัญชีธนาคาร
- บัตรเครดิต
- ประกันสังคม
- ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต
- เอกสารสำคัญอื่น ๆ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
การเปิดบัญชีคู่ จำเป็นไหม? คู่สมรสเปิดบัญชีคู่ ดีอย่างไร?
ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานใช้เงินเท่าไหร่ ?
จัดห้องนอนให้ถูกหลักฮวงจุ้ย เสริมมงคลในชีวิตคู่ ขาเตียงไม่หัก รักกันยาวนาน
ที่มา : dopa